xs
xsm
sm
md
lg

ไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ไม่ใหญ่อย่างที่คิด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

รูปหล่อของไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ “<I>ปาตาโกไททัน มาโยรัม</I>” จากเครื่องปรินท์สามมิติ ซึ่งจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ในนิวยอร์ก (Don EMMERT / AFP)
ในที่สุดไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ที่ทำให้ทีเรกซ์ดูแคระไปถนัดตาก็ได้ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการ หลังจากที่ถูกค้นมา 3 ปี ไดโนเสาร์ตัวนี้ใหญ่มากและอาจเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมี แต่การศึกษาล่าสุดพบว่าไดโนเสาร์ตัวนี้เล็กกว่าที่คาดนิดหน่อย ถึงอย่างนั้นก็ยังครองตำแหน่งยักษ์ใหญ่

ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่พบในปาตาโกเนีย (Patagonia) เมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ไททาโนซอร์ (titanosaur) สปีชีส์ใหม่นั้น เพิ่งได้ชื่อวิทยาศาสตร์อย่างเป็นทางการว่า ปาตาโกไททัน มาโยรัม (Patagotitan mayorum) และคาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีอยู่บนโลก โดยความหมายของชื่อไดโนเสาร์ชนิดนี้คือ “ยักษ์ใหญ่จากปาตาโกเนีย”

ร่างหล่อจำลองของฟอสซิลไดโนเสาร์ชนิดนี้ได้จัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอเมริกัน (American Museum of Natural History) ในนิวยอร์กมาตั้งแต่ปี 2016 และสถานที่เดียวกันนี้ยังเป็นสถานที่จัดงานเปิดตัวไดโนเสาร์ยักษ์ใหญ่ด้วย ซึ่ง ดิเอโก ปอล (Diego Pol) นักบรรพชีวินวิทยาผู้ร่วมนำทีมขุดสำรวจ เผยว่าร่างจำลองนี้ใหญ่มากจนทั้งหัวและคอของไดโนเสาร์ยื่นออกไปนอกส่วนจัดแสดง

ฟอสซิลของปาตาโกไททัน มาโยรัม ถูกขุดพบในอาร์เจนตินาเมื่อปี 2014 ซึ่งในเวลานั้นขนาดฟอสซิลที่พบบ่งบอกว่าไดโนเสาร์ตัวนี้อาจหนักได้ถึง 77 ตัน หรือหนักประมาณช้างแอฟริกัน 10 ตัวรวมกัน แต่จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำหนักมากที่สุดของไดโนเสาร์ชนิดนี้ น่าจะเหลือแค่ 69 ตัน แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังนับว่า เป็นไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดที่ขุดพบ

สำหรับชื่อมาโยรัมนั้นเป็นชื่อที่ตั้งตามครอบครัวเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ในอาร์เจนตินา และเป็นเจ้าของที่ดินที่ฟอสซิลของไดโนเสาร์กินพืชตัวนี้ ถูกขุดขึ้นมา โดยคาดว่าไดโนเสาร์ชนิดใหม่นี้ เคยอาศัยอยู่บนโลกเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน และการค้นพบครั้งนี้ ได้เผยแพร่ลงวารโพรซีดิงส์บี (Proceedings B) ของราชบัณฑิตอังกฤษ

ปอลซึ่งบรรพชีวินวิทยาจากพิพิธภัณฑ์บรรพชีวินวิทยาเอจิดิโอ เฟรูกลิโอ (Museum of Paleontology Egidio Feruglio) อาร์เจนตินาในโซนปาตาโกเนีย กล่าวว่าด้วยอายุของฟอสซิลบ่งบอกว่า แม้แต่สัตว์ขนาดใหญ่ก็ยังอาศัยอยู่ในปาตาโกเนีย

หลังจากขุดพบแล้วร่างหล่อจำลองของไดโนเสาร์ตัวนี้ ที่ผลิตขึ้นจากเครื่องพิมพ์ไฟเบอร์กลาสสามมิติ ได้ถูกจัดแสดงในนิวยอร์กตั้งแต่เดือน ม.ค.2016 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ไดโนเสาร์ตัวนี้ เป็นชนิดใหม่มากจึงยังไม่มีเชื่อ และหลังจากการค้นคว้าอย่างหนักร่วม 20 เดือน โดยเปรียบเทียบกับกระดูกอื่นๆ ที่ถูกขุดพบทั่วโลก จนได้ข้อสรุปว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นสปีชีส์ใหม่ และมีคุณค่าพอที่จะตั้งชื่อให้ใหม่

“เราเชื่อว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ค่อนข้างใหญ่กว่าไดโนเสาร์อื่นๆ ที่เรารู้จักมาก่อนหน้านี้” ปอลกล่าว แม้ว่าเขาจะยอมรับว่า ยากที่จะประเมินขนาดของไดโนเสาร์สปีชีส์อื่นๆ ได้อย่างแม่นยำจากเศษซากฟอสซิลที่แตกกระจาย

สำหรับการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์นั้น ปอลกล่าวว่าเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของการดำเนินการและเสร็จสิ้นการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเราได้เรียนรู็อะไรบางอย่างจากสปีชีส์ใหม่ที่ค้นพบ ซึ่งสปีชีส์ใหม่นั้นมีความสำคัญมากเพราะแสดงให้เราเห็นว่า สิ่งมีชีวิตอยู่อย่างไรในอดีต อีกทั้งยังให้ข้อมูล เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับโลกของเราในอดีตด้วย และคำถามที่มีมูลค่าถึงล้านดอลลาร์นี้ ได้ให้คำตอบว่า เกิดอะไรขึ้นเมื่อ 100 ปีก่อนในปาตาโกเนีย ถึงทำให้มีสัตว์ยักษ์เข้าท้าชิง ตำแหน่งไดโนเสาร์ที่หนักที่สุดนี้

ทั้งนี้มีฟอสซิลกระดูกของไดโนเสาร์ชนิดนี้ 223 ชิ้น ที่ถูกขุดพบบนแหล่งสำรวจทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของปาตาโกเนีย โดยทั้งหมดเป็นไดโนเสาร์ที่ยังไม่โตเต็มที่ โดยไดโนเสาร์สปีชีส์นี้เคยอาศัยอยู่ในป่าที่เขียวชอุ่มเมื่อยุคปลายครีเตเชียส ซึ่งบริเวณดังกล่าวกลายเป็นปาตาโกเนียในปัจจุบัน

ไดโนเสาร์ชนิดนี้ยาวมากกว่า 37 เมตร และถูกจัดให้เป็นซอโรพอด (sauropod) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์คอยาว หางยาวและกินพืชเป็นอาหาร เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ไดพลอโดคัส (Diplodocus) ที่เป็นที่รู้จักดี แต่ยังมีไดโนเสาร์ที่อาจจะใหญ่กว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้ อย่างไดโนเสาร์อาร์เจนตินาซอรัส (Argentinasaurus) ทว่านักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก เพราะจำนวนกระดูกฟอสซิลของอาร์เจนตินาซอรัสนั้นมีจำนวนน้อยกว่ามาก จึงทำให้การประเมินขนาดที่แท้จริงไดโนเสาร์คู่แข่งนี้ยังไม่แม่นยำ
รูปหล่อของไดโนเสาร์สปีชีส์ใหม่ “<I>ปาตาโกไททัน มาโยรัม</I>” จากเครื่องปรินท์สามมิติ ซึ่งจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ในนิวยอร์ก (Don EMMERT / AFP)
กำลังโหลดความคิดเห็น