xs
xsm
sm
md
lg

สดร.ปรับโฉมองค์กรเดินหน้าใช้ดาราศาสตร์เป็นโจทย์สร้างเทคโนโลยี

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา
ก้าวสู่ปีที่ 9 สดร.ปรับโฉมองค์กร เปลี่ยนภาพจำองค์กรดูดาวสู่องค์การผู้สร้างเทคโนโลยีโดยใช้ดาราศาสตร์เป็นโจทย์ ตั้งเป้าพัฒนาคน หวังคนไทยพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้าเทคโนโลยี

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) เผยถึงกลยุทธ์ก้าวใหม่ของสถาบันฯ ภายในงาน “NARIT : The Next Step ก้าวต่อไปของสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ซึ่งชนได้พบผู้เปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้พบผู้บริหาร เมื่อวันที่ 19 ก.ค.60 ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกลยุทธ์ใหม่จะมุ่งใช้ดาราศาสตร์เป็นโจทย์พัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคน หวังพึ่งพาตนเองได้ในอนาคต

"ใน 8 ปีที่ผ่านมา สดร. มุ่งมั่นพัฒนาดาราศาสตร์ไทยในทุกด้าน โดยขยายโครงสร้างทางกายภาพทั้วภายในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นการต่อยอดงานวิจัยและเพื่อให้นักวิจัยดาราศาสตร์ไทยสามารถผลิตงายวิจัยได้เทียบเคียงกับนานาชาติและเผยแพร่สู่สาธารณะชน มีการสร้างเครื่อข่ายหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน ในขณะเดียวกันได้มีการดำเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารแก่ครู นักเรียนและนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เพื่อกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ให้เข้าถึงทุกพื้นที่ของประเทศ"

สำหรับปีที่ 9 ของ สดร. ดร.ศรัณย์กล่าวว่า สถาบันฯ กำลังจะก้าวเข้าสู่เวทีใหม่ในการนำดาราศาสตร์มาเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคนเพื่อตอบสนองเป้าหมายหลักที่ต้องการผลิตผลงานวิจัยทางด้านดาราศาสตร์ให้เป็นที่ยอมรับในระดับโลก ดังนั้น สดร.จึงหันมาให้ความสำคัญในการออกแบบและสร้างอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับวิจัยทางดาราศาสตร์ เพื่อยกระดับงานวิจัยและวิศวกรรม อีกทั้งยังสามารถเป็นผู้ออกแบบและสร้างอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ระดับสูงด้วยตัวเองเพื่อเป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ การใช้ดาราศาสตร์เป็นโจทย์ในการพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนาคนนั้น ดร.ศรัณย์กล่าวว่า โจทย์ดาราศาสตร์นับเป็นโจทย์ยากที่เป็นความท้าทายความสามารถมนุษย์ เพราะจำเป็นต้องใช้ความรู้จากวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขามาเพื่อเเก้ปัญหาต่างๆ ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อที่จะให้ได้ผลลัพธ์เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ และเกิดการผลักดันให้เกิดการพัฒนากำลังคนและผู้เชียวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เนื่องจากอนาคตวงการดาราศาสตร์ต้องใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ดร.ศรัณย์กล่าวว่า สดร. จึงพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์โดยใช้เทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง เพื่อรองรับและต่อยอดไปสู่การผลิตในอุตสาหกรรมขั้นสูงของประเทศดังนี้

1. ห้องปฏิบัติการทัศนศาสตร์ : มีการพัฒนาเทคโนโลยีทางทัศนศาสตร์ เครื่องมืและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง อาทิ การออกแบยกล้องโทรทรศ์ ระบบกล้องโทรทรรศน์ถ่ายภาพที่มีกำลังการแยกภาพสูง รวมถึงพัฒนาเครื่องสเปกโตรกราฟที่ใช้ศึกษาสเปกตรัมของวัตถุบนท้องฟ้า

2. ศูนย์ปฏิบัติการหอดูดาวแห่งชาติและวิศวกรรม : สดร. ได้จัดตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่พัฒนาและบำรุงกล้องโทรทรรศน์และเครื่องมือวิทยาศาสตร์การให้บริการกล้องโทรทรรศน์แก่นักวิจัยหน่อยงานต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ การพัฒนาทางวิศวกรรมของเครื่อจ่ายกบ้องโทรทรรศน์ การสร้างและการพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์ ห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง การพัฒนาระบบวัดค่าทัศนวิสัยท้องฟ้า

3. ศูนย์ปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ : กล้องโทรทรรศน์วิทยุแห่งชาตินั้น ใข้ต้นแบบและพัฒนามาจากกล้องโทรทรรศน์วิทยุเยเบส เป็นกล้องวิทยุขนาดใหญ่ที่ที่สามารถจับเคลิ่อนในแนวราบและแนวตั้ง ซึ่งกล้องโทรทรรศน์นี้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์หลัก เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับสังเกตการณ์คบื่นวิทยุ ซึ่งมีแหล่งกำเนิดตากเหทวัตถุนอกโลก สัญญาณต่างๆบนชั้นบรรยากาศหรือดาวเทียม เพื่อหาตำแหน่งบนพื้นผิวโลก

4. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ : มีส่วนสำคัญในการเก็บข้อมูลทางดาราศาสตร์ซึ่งมีขนาดใหญ่ (big data) เนื่องจากข้มูลที่ได้มามีจำนวนมากและจำเป็นต้องมีฐานข้อมูลที่สามารถรองรับความซับซ้อนของจ้อมูลจากหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งโคางสร้างพื้นฐานด้านระบบคอมพิวเตอร์สมถรรนะสูงและระบบศูนย์ข้อมูลจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนำมาจัดเก็บ สำรองและช่วยในการสืบค้นอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

"การค้นพบองค์ความรู้ใหม่ทางดาราศาสตร์และอวกาศ จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม่มีการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงมารองรับ เมื่อนักดาราศาสตร์ตั้งเป้าหมายในการศึกษาวิจัย ทีมวิศวกรและนักเทคโนโลยีจะร่วมกันพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ ให้สามารถแก้โจทย์ยากๆ เหล่านั้น เป้าหมายในก้าวต่อไปของ สดร. เราจึงจะใช้ดาราศาสตร์เป็นโจทย์ยากเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีและพัฒนากำลังคน นับแต่นี้จะเป็นมิติใหม่ของ สดร. ที่จะก้าวสู่เวทีเทคโนโลยีขั้นสูงที่ชัดเจนขึ้น” ดร.ศรัณย์กล่าว

เครื่องเคลือบกระจก
เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง
กล้องโทรทรรศน์ขนาด 2.4 เมตร
กำลังโหลดความคิดเห็น