หลังจากเดือนนี้เป็นต้นไปเมืองไทยของเราก็น่าจะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า สภาพท้องฟ้าในช่วงฤดูหนาวมีความใสเคลียร์เหมาะแก่การถ่ายภาพในยามค่ำคืน ไม่ว่าจะเป็นภาพกลุ่มดาว เส้นแสงดาว วัตถุท้องฟ้าในห้วงอวกาศลึก หรือแม้แต่ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ และในช่วง 2-3 เดือนก่อน หลังจากที่ห่างหายจากการถ่ายภาพดวงดาวไปสักพักหนึ่ง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน
สำหรับคอลัมน์นี้ ก็ถือเป็นการเริ่มต้นฤดูกาลถ่ายดาวกันอีกครั้ง โดยจะขอแนะนำ เกี่ยวกับการถ่ายภาพในช่วงต้นฤดูหนาวนี้ ว่าเราจะสามารถถ่ายอะไรกันได้บ้าง แล้วควรถ่ายในช่วงเวลาไหน ทางทิศไหนกันบ้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
สนธยา (Twilight)
แสงสนธยา หรือที่มักเรียกกันว่า “แสงทไวไลท์” ก็เป็นการถ่ายภาพที่น่าสนใจสำหรับการเริ่มต้นถ่ายภาพ เพราะในช่วงต้นฤดูหนาวสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์ ขอบฟ้าที่ไร้เมฆรบกวน เราก็มักจะได้ภาพถ่ายแสงสนธยาที่สวยงาม โดยเฉพาะในตอนเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้วประมาณ 10 – 15 นาที ทางทิศตะวันตก ทำให้ขณะนั้นจะเห็นท้องฟ้าบริเวณใกล้กับขอบฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม หรือแดง ซึ่งเป็นช่วงที่ท้องฟ้าเปลี่ยนสี ซึ่งท้องฟ้าเปลี่ยนสีจากสีโทนอุ่นเป็นสีโทนเย็น คือสีม่วงอมน้ำเงิน ช่วงนี้จะมีเวลาให้ถ่ายภาพประมาณ 5 นาที และหลังจากนั้นท้องฟ้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดสนิท หรือที่เรามักคุ้นหูกันว่า เป็นช่วงนาทีทอง (Golden minute)
โดยท้องฟ้าในช่วงตอนเย็นจะมีสีแดงมากกว่าตอนรุ่งเช้า เนื่องจากอุณหภูมิสูงในตอนบ่าย ทำให้มีฝุ่นละอองในอากาศมากกว่าตอนเช้า ประกอบกับฝุ่นละอองในอากาศถูกชะล้างด้วยน้ำค้างในตอนเช้ามืด ดังนั้นตอนเย็นจึงมีการกระเจิงของแสงสีแดงมากกว่าตอนเช้า
เทคนิคในการถ่ายภาพแสงสนธยา
1. ตั้งค่ารูรับแสงไว้ประมาณ F/8 เพื่อให้ภาพชัดทั่วทั้งภาพ
2. ปรับโหมดสีเป็นแบบ Adobe RGB เพื่อให้ได้ภาพที่มีการไล่โทนสีและเก็บรายละเอียดของเฉดสีต่าง ๆ ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงของสีน้ำเงิน – เขียว จะสามารถสังเห็นได้อย่างชัดเจน ว่ามีการไล่ระดับโทนสีได้เนียนเป็นธรรมชาติ
3. ใช้ค่าความไวแสง ISO 100-200 เพื่อให้ได้ไฟล์ภาพที่ใสเคลียร์มากที่สุด
4. ถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง พร้อมกับปิดระบบกันสั่นของเลนส์ (หากมี)
5. อาจใช้เทคนิคการถ่ายภาพคร่อมค่าแสง หรือที่เรียกว่าการถ่ายภาพแบบ HDR ร่วมด้วยเพื่อนำไปโปรเซสในภายหลัง จะทำให้ได้รายละเอียดของทั้งส่วนมือและส่วนสว่างได้ดีขึ้น
6. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย
แสงจักราศี (Zodiacal Light)
แสงจักราศี เป็นแสงสว่างเรืองจางๆ รูปสามเหลี่ยมที่ปรากฏบนท้องฟ้ามืดสนิทในทิศตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าและทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 30 นาที ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากอนุภาคของฝุ่นละอองในอวกาศกระทบกับแสงดวงอาทิตย์แล้วสะท้อนออกมารอบทิศทาง โดยช่วงปลายฝนต้นหนาวก็มักจะมีสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์เหมาะการแก่ถ่ายภาพแสงจักรราศี
สำหรับการเลือกสถานที่ต้องเป็นสถานที่ ที่ไม่มีแสงไฟรบกวน สามารถเห็นขอบฟ้าทางทิศตะวันตก หรือตะวันออกได้ชัดเจน และมีสภาพท้องฟ้าที่เคลียร์ไร้เมฆ ก็สามารถสังเกตเห็นและถ่ายภาพแสงจักรราศีได้
เทคนิคการถ่ายภาพแสงจักราศี
1. เลือกใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อให้สามารถเก็บภาพแสงจักรราศีได้ทั้งหมด โดยมีทิศทางตามแนวเส้นสุริยะวิถี
2. ใช้รูรับแสง (Aperture) ที่กว้างที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรับแสงมากยิ่งขึ้น เช่น F/1.4
3. คำนวณเวลาถ่ายภาพ โดยใช้สูตรการคำนวณ Rule of 400/600 (รายละเอียดตามลิงค์ http://goo.gl/5fUlJF) เพื่อให้เราสามารถถ่ายภาพให้ดาวยังเป็นจุดในเวลาที่นานที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกใช้ค่า ISO ที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ และทำให้ได้ Signal to Noise ที่ดี
4. ใช้ค่าความไวแสงอาจเริ่มจาก ISO 2000 หรือสูงกว่าเพื่อให้ได้รายละเอียดของแสงจักรราศีที่ดีที่สุดที่เรายอมรับได้
5. โฟกัสดาวให้คมชัดที่สุด ซึ่งปัจจุบันเราสามารถใช้ Live view ช่วยในการโฟกัสดาวให้คมชัด
6. เปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction และ High ISO Speed Noise Reduction เพื่อให้กล้องช่วยลดสัญญาณรบกวนของภาพได้ดีขึ้น
7. ปรับเร่ง Contrast อันนี้สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยถ่ายภาพ Zodiacal light นะครับ เพราะบางคนอาจมองไม่ออกว่าอันไหนคือแสง Zodiacal light การปรับเร่ง Contrast ในเมนูหลังกล้องช่วยให้เห็นรายละเอียดได้ง่ายขึ้นครับ
8. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย
ทางช้างเผือกแบบพาโนรามา (Milky Way Panorama)
สำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือกในช่วงต้นฤดูหนาว หรือช่วงปลายปีแบบนี้ เราจะสามารถสังเกตเห็นแนวใจกลางทางช้างเผือกได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงหัวค่ำ บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง ซึ่งจะมีเวลาในการถ่ายภาพไม่นานมากนัก ประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งจากการตรวจสอบเวลาดวงจันทร์ขึ้นแล้ว ก็สามารถเริ่มถ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 นี้ โดยแนวใจกลางของทางช้างเผือกในช่วงนี้จะตั้งขึ้นและจะเอียงไปทางขวาเรื่อยๆ จนเห็นเป็นแนวยาวพาดผ่านจะทิศใต้ไปทิศเหนือ จึงเหมาะแก่การถ่ายภาพแบบพาโนรามา
สิ่งสำคัญของการถ่ายภาพทางช้างเผือก นอกจากเราจะทราบตำแหน่งใจกลางของทางช้างเผือกแล้ว ยังต้องตรวจสอบดูสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์ ไม่มีแสงไฟ หรือแสงดวงจันทร์รบกวนเสมอ เพราะแนวทางช้างเผือกนั้นเป็นเพียงแนวฝ้าจางๆ บนท้องฟ้านั้นต้องอาศัยการสังเกตร่วมกับสถานที่ที่เหมาะสมด้วยเสมอ
เทคนิคการถ่ายภาพทางช้างเผือกแบบพาโนรามา
1. วางแผนหาจุดถ่ายภาพทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีสภาพท้องฟ้าใสเคลียร์ มืดสนิท ไม่มีแสงไฟหรือแสงดวงจันทร์รบกวน ซึ่งในช่วงเดือนนี้สามารถเริ่มถ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป
2. ใช้รูรับแสง (Aperture) ที่กว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรับแสงมากยิ่งขึ้น เช่น F/1.8 หรือ F/2.8
3. คำนวณเวลาถ่ายภาพ โดยใช้สูตรการคำนวณ Rule of 400/600 เพื่อให้เราสามารถถ่ายภาพให้ดาวยังเป็นจุดในเวลาที่นานที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกใช้ค่า ISO ที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ และทำให้ได้ Signal to Noise ที่ดี
4. ใช้ค่าความไวแสงสูง อาจเริ่มจาก ISO 2500 หรือสูงกว่าเพื่อให้ได้รายละเอียดของแสงจักรราศีที่ดีที่สุดที่เรายอมรับได้
5. โฟกัสดาวให้คมชัดที่สุด ซึ่งปัจจุบันเราสามารถใช้ Live view ช่วยในการโฟกัสดาวให้คมชัด
6. เปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction และ High ISO Speed Noise Reduction เพื่อให้กล้องช่วยลดสัญญาณรบกวนของภาพได้ดีขึ้น
7. ถ่ายภาพจากทิศทางใจกลางทางช้างเผือกก่อนเสมอ เพราะบริเวณใจกลางทางช้างเผือกจะตกลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ตก ซึ่งจะเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น หรืออาจพูดง่ายๆคือ ถ่ายจากใจกลางทางช้างเผือกแล้วถ่ายไล่ไปทางขวาต่อๆไป ซึ่งสามารถถ่ายได้หลายๆแถว หลายชั้น หากมีเวลาพอ
8. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย
เส้นแสงดาว (Star Trails)
หลังจากแนวใจกลางทางช้างเผือกลับขอบฟ้าไปแล้วนั้น ก็ยังคงมีเวลาเหลือเกือบทั้งคืน เรายังสามารถถ่ายภาพเส้นแสงดาวต่อเนื่องไปได้อีกหลายชั่วโมง ทั้งหลังจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงแห่งการถ่ายภาพเส้นแสงดาวกันเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในช่วงดังกล่าวบริเวณใจกลางทางช้างเผือกจะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ ทำให้ตกลับไปพร้อมกับดวงอาทิตย์นั่นเอง
การถ่ายภาพเส้นแสงดาว (Star trail) ให้ปรากฏเคลื่อนที่เป็นเส้นทางยาวในภาพ เพื่อแสดงการหมุนรอบตัวเองของโลกนั้น ตำแหน่งและทิศทางที่สวยและเป็นที่นิยมมากที่สุด คือการถ่ายภาพเส้นแสงดาวในทางทิศเหนือ เนื่องจากดาวดวงอื่นๆ จะเคลื่อนที่หมุนรอนรอบดาวเหนือเป็นวงกลม ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของดวงดาวที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ปัจจุบันวิธีการถ่ายภาพภาพเส้นแสงดาว (Star trail) นั้น เราจะใช้วิธีการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องแล้วนำภาพมาต่อกันเพื่อให้ได้ภาพเส้นแสงดาวที่สวยงาม ซึ่งภาพถ่ายเส้นแสงดาวนอกจากความสวยงามแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงค่าทัศนวิสัยของท้องฟ้าได้อีกดวย
เทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงดาว
1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง หันหน้ากล้องไปที่ดาวเหนือ โดยการหาตำแหน่งของดาวเหนือช่วงนี้อาจใช้กลุ่มดาวค้างคาวในการช่วยหาตำแหน่งขั้วเหนือท้องฟ้าได้
2. เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อให้ได้องศาการรับภาพที่กว้างมากขึ้น
3. ใช้รูรับแสง (Aperture) โดยประมาณ f/4 หรืออาจต่ำกว่านั้นก็ได้หากจำเป็น เพื่อกล้องมีความไวแสงในการสร้างภาพ เนื่องจากแสงดาวมีความสว่างน้อย และนอกจากนั้นยังช่วยไม่ให้เส้นแสงของดาวมีขนาดเล็กจนเกินไปจนมองไม่เห็น
4. ถ่ายภาพต่อเนื่อง (Continuous) ซึ่งเวลารวมทั้งหมดควรถ่ายต่อเนื่องประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเวลาในการเปิดหน้ากล้องหรือความเร็วชัตเตอร์ ไม่มีค่าตายตัวขึ้นอยู่กับสภาพแสง โดยทั่วไปมักนิยมใช้เวลาในการเปิดหน้ากล้อง 30 วินาทีต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์
5. ใช้ค่าความไวแสง (ISO) สูง ตั้งแต่ 400-800 หรืออาจสูงกว่า โดยอาจทดลองถ่ายภาพด้วยการตั้งค่ารูรับแสง f/4 และความเร็วชัตเตอร์ 30 วินาที แล้วดูว่าภาพถ่ายที่ได้ให้แสงพอดีหรือไม่ ก็สามารถปรับชดเชยเพิ่มขึ้นหากภาพมืดจนเกินไป
6. ปิดฟังชั่น Noise reduction เพื่อให้กล้องสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และไม่ทำให้เส้นแสงดาวขาดหายไป
7. ไม่ใช้ระบบล็อคกระจกสะท้อนภาพ เพราะขณะที่กล้องจะถ่ายภาพในแต่ละครั้งจะทำให้เสียช่วงเวลาหนึ่งในการเปิดล็อกกระจก และจะทำให้เส้นแสงดาวขาดหายไปเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่องครับ
8. การปรับโฟกัสของเลนส์ควรศึกษาระยะไกลสุด (อินฟินิตี้) ของเลนส์ก่อนการถ่ายภาพเนื่องจากระยะชัดที่สุดของระยะไกลสุด (อินฟินิตี้) ของเลนส์
9. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อย่างยืดหยุ่นกว่าไฟล์แบบ JPEG
10. สุดท้ายหากใครพอมีทักษะ ก็สามารถทำอุปกรณ์กันฝ้าหน้ากล้อง เพื่อใช้ร่วมขณะถ่ายภาพเส้นแสงดาวได้ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการจะได้ภาพถ่ายนานๆ หลายชั่วโมงได้ดียิ่งขึ้น (รายละเอียดตามลิงค์ http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9590000094281)
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน
สำหรับคอลัมน์นี้ ก็ถือเป็นการเริ่มต้นฤดูกาลถ่ายดาวกันอีกครั้ง โดยจะขอแนะนำ เกี่ยวกับการถ่ายภาพในช่วงต้นฤดูหนาวนี้ ว่าเราจะสามารถถ่ายอะไรกันได้บ้าง แล้วควรถ่ายในช่วงเวลาไหน ทางทิศไหนกันบ้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ
สนธยา (Twilight)
แสงสนธยา หรือที่มักเรียกกันว่า “แสงทไวไลท์” ก็เป็นการถ่ายภาพที่น่าสนใจสำหรับการเริ่มต้นถ่ายภาพ เพราะในช่วงต้นฤดูหนาวสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์ ขอบฟ้าที่ไร้เมฆรบกวน เราก็มักจะได้ภาพถ่ายแสงสนธยาที่สวยงาม โดยเฉพาะในตอนเย็นหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าไปแล้วประมาณ 10 – 15 นาที ทางทิศตะวันตก ทำให้ขณะนั้นจะเห็นท้องฟ้าบริเวณใกล้กับขอบฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม หรือแดง ซึ่งเป็นช่วงที่ท้องฟ้าเปลี่ยนสี ซึ่งท้องฟ้าเปลี่ยนสีจากสีโทนอุ่นเป็นสีโทนเย็น คือสีม่วงอมน้ำเงิน ช่วงนี้จะมีเวลาให้ถ่ายภาพประมาณ 5 นาที และหลังจากนั้นท้องฟ้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดสนิท หรือที่เรามักคุ้นหูกันว่า เป็นช่วงนาทีทอง (Golden minute)
โดยท้องฟ้าในช่วงตอนเย็นจะมีสีแดงมากกว่าตอนรุ่งเช้า เนื่องจากอุณหภูมิสูงในตอนบ่าย ทำให้มีฝุ่นละอองในอากาศมากกว่าตอนเช้า ประกอบกับฝุ่นละอองในอากาศถูกชะล้างด้วยน้ำค้างในตอนเช้ามืด ดังนั้นตอนเย็นจึงมีการกระเจิงของแสงสีแดงมากกว่าตอนเช้า
เทคนิคในการถ่ายภาพแสงสนธยา
1. ตั้งค่ารูรับแสงไว้ประมาณ F/8 เพื่อให้ภาพชัดทั่วทั้งภาพ
2. ปรับโหมดสีเป็นแบบ Adobe RGB เพื่อให้ได้ภาพที่มีการไล่โทนสีและเก็บรายละเอียดของเฉดสีต่าง ๆ ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงของสีน้ำเงิน – เขียว จะสามารถสังเห็นได้อย่างชัดเจน ว่ามีการไล่ระดับโทนสีได้เนียนเป็นธรรมชาติ
3. ใช้ค่าความไวแสง ISO 100-200 เพื่อให้ได้ไฟล์ภาพที่ใสเคลียร์มากที่สุด
4. ถ่ายภาพบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง พร้อมกับปิดระบบกันสั่นของเลนส์ (หากมี)
5. อาจใช้เทคนิคการถ่ายภาพคร่อมค่าแสง หรือที่เรียกว่าการถ่ายภาพแบบ HDR ร่วมด้วยเพื่อนำไปโปรเซสในภายหลัง จะทำให้ได้รายละเอียดของทั้งส่วนมือและส่วนสว่างได้ดีขึ้น
6. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย
แสงจักราศี (Zodiacal Light)
แสงจักราศี เป็นแสงสว่างเรืองจางๆ รูปสามเหลี่ยมที่ปรากฏบนท้องฟ้ามืดสนิทในทิศตะวันตกหลังดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าและทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 30 นาที ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากอนุภาคของฝุ่นละอองในอวกาศกระทบกับแสงดวงอาทิตย์แล้วสะท้อนออกมารอบทิศทาง โดยช่วงปลายฝนต้นหนาวก็มักจะมีสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์เหมาะการแก่ถ่ายภาพแสงจักรราศี
สำหรับการเลือกสถานที่ต้องเป็นสถานที่ ที่ไม่มีแสงไฟรบกวน สามารถเห็นขอบฟ้าทางทิศตะวันตก หรือตะวันออกได้ชัดเจน และมีสภาพท้องฟ้าที่เคลียร์ไร้เมฆ ก็สามารถสังเกตเห็นและถ่ายภาพแสงจักรราศีได้
เทคนิคการถ่ายภาพแสงจักราศี
1. เลือกใช้เลนส์มุมกว้างเพื่อให้สามารถเก็บภาพแสงจักรราศีได้ทั้งหมด โดยมีทิศทางตามแนวเส้นสุริยะวิถี
2. ใช้รูรับแสง (Aperture) ที่กว้างที่สุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรับแสงมากยิ่งขึ้น เช่น F/1.4
3. คำนวณเวลาถ่ายภาพ โดยใช้สูตรการคำนวณ Rule of 400/600 (รายละเอียดตามลิงค์ http://goo.gl/5fUlJF) เพื่อให้เราสามารถถ่ายภาพให้ดาวยังเป็นจุดในเวลาที่นานที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกใช้ค่า ISO ที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ และทำให้ได้ Signal to Noise ที่ดี
4. ใช้ค่าความไวแสงอาจเริ่มจาก ISO 2000 หรือสูงกว่าเพื่อให้ได้รายละเอียดของแสงจักรราศีที่ดีที่สุดที่เรายอมรับได้
5. โฟกัสดาวให้คมชัดที่สุด ซึ่งปัจจุบันเราสามารถใช้ Live view ช่วยในการโฟกัสดาวให้คมชัด
6. เปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction และ High ISO Speed Noise Reduction เพื่อให้กล้องช่วยลดสัญญาณรบกวนของภาพได้ดีขึ้น
7. ปรับเร่ง Contrast อันนี้สำหรับมือใหม่ที่ยังไม่เคยถ่ายภาพ Zodiacal light นะครับ เพราะบางคนอาจมองไม่ออกว่าอันไหนคือแสง Zodiacal light การปรับเร่ง Contrast ในเมนูหลังกล้องช่วยให้เห็นรายละเอียดได้ง่ายขึ้นครับ
8. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย
ทางช้างเผือกแบบพาโนรามา (Milky Way Panorama)
สำหรับการถ่ายภาพทางช้างเผือกในช่วงต้นฤดูหนาว หรือช่วงปลายปีแบบนี้ เราจะสามารถสังเกตเห็นแนวใจกลางทางช้างเผือกได้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงหัวค่ำ บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง ซึ่งจะมีเวลาในการถ่ายภาพไม่นานมากนัก ประมาณไม่เกิน 1 ชั่วโมง ซึ่งจากการตรวจสอบเวลาดวงจันทร์ขึ้นแล้ว ก็สามารถเริ่มถ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 นี้ โดยแนวใจกลางของทางช้างเผือกในช่วงนี้จะตั้งขึ้นและจะเอียงไปทางขวาเรื่อยๆ จนเห็นเป็นแนวยาวพาดผ่านจะทิศใต้ไปทิศเหนือ จึงเหมาะแก่การถ่ายภาพแบบพาโนรามา
สิ่งสำคัญของการถ่ายภาพทางช้างเผือก นอกจากเราจะทราบตำแหน่งใจกลางของทางช้างเผือกแล้ว ยังต้องตรวจสอบดูสภาพท้องฟ้าที่ใสเคลียร์ ไม่มีแสงไฟ หรือแสงดวงจันทร์รบกวนเสมอ เพราะแนวทางช้างเผือกนั้นเป็นเพียงแนวฝ้าจางๆ บนท้องฟ้านั้นต้องอาศัยการสังเกตร่วมกับสถานที่ที่เหมาะสมด้วยเสมอ
เทคนิคการถ่ายภาพทางช้างเผือกแบบพาโนรามา
1. วางแผนหาจุดถ่ายภาพทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีสภาพท้องฟ้าใสเคลียร์ มืดสนิท ไม่มีแสงไฟหรือแสงดวงจันทร์รบกวน ซึ่งในช่วงเดือนนี้สามารถเริ่มถ่ายได้ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2559 เป็นต้นไป
2. ใช้รูรับแสง (Aperture) ที่กว้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรับแสงมากยิ่งขึ้น เช่น F/1.8 หรือ F/2.8
3. คำนวณเวลาถ่ายภาพ โดยใช้สูตรการคำนวณ Rule of 400/600 เพื่อให้เราสามารถถ่ายภาพให้ดาวยังเป็นจุดในเวลาที่นานที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เราเลือกใช้ค่า ISO ที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพ และทำให้ได้ Signal to Noise ที่ดี
4. ใช้ค่าความไวแสงสูง อาจเริ่มจาก ISO 2500 หรือสูงกว่าเพื่อให้ได้รายละเอียดของแสงจักรราศีที่ดีที่สุดที่เรายอมรับได้
5. โฟกัสดาวให้คมชัดที่สุด ซึ่งปัจจุบันเราสามารถใช้ Live view ช่วยในการโฟกัสดาวให้คมชัด
6. เปิดระบบ Long Exposure Noise Reduction และ High ISO Speed Noise Reduction เพื่อให้กล้องช่วยลดสัญญาณรบกวนของภาพได้ดีขึ้น
7. ถ่ายภาพจากทิศทางใจกลางทางช้างเผือกก่อนเสมอ เพราะบริเวณใจกลางทางช้างเผือกจะตกลับขอบฟ้าหลังดวงอาทิตย์ตก ซึ่งจะเหลือเวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น หรืออาจพูดง่ายๆคือ ถ่ายจากใจกลางทางช้างเผือกแล้วถ่ายไล่ไปทางขวาต่อๆไป ซึ่งสามารถถ่ายได้หลายๆแถว หลายชั้น หากมีเวลาพอ
8. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อีกด้วย
เส้นแสงดาว (Star Trails)
หลังจากแนวใจกลางทางช้างเผือกลับขอบฟ้าไปแล้วนั้น ก็ยังคงมีเวลาเหลือเกือบทั้งคืน เรายังสามารถถ่ายภาพเส้นแสงดาวต่อเนื่องไปได้อีกหลายชั่วโมง ทั้งหลังจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นช่วงแห่งการถ่ายภาพเส้นแสงดาวกันเลยก็ว่าได้ เนื่องจากในช่วงดังกล่าวบริเวณใจกลางทางช้างเผือกจะอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ ทำให้ตกลับไปพร้อมกับดวงอาทิตย์นั่นเอง
การถ่ายภาพเส้นแสงดาว (Star trail) ให้ปรากฏเคลื่อนที่เป็นเส้นทางยาวในภาพ เพื่อแสดงการหมุนรอบตัวเองของโลกนั้น ตำแหน่งและทิศทางที่สวยและเป็นที่นิยมมากที่สุด คือการถ่ายภาพเส้นแสงดาวในทางทิศเหนือ เนื่องจากดาวดวงอื่นๆ จะเคลื่อนที่หมุนรอนรอบดาวเหนือเป็นวงกลม ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนที่ของดวงดาวที่เกิดจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ปัจจุบันวิธีการถ่ายภาพภาพเส้นแสงดาว (Star trail) นั้น เราจะใช้วิธีการถ่ายภาพแบบต่อเนื่องแล้วนำภาพมาต่อกันเพื่อให้ได้ภาพเส้นแสงดาวที่สวยงาม ซึ่งภาพถ่ายเส้นแสงดาวนอกจากความสวยงามแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงค่าทัศนวิสัยของท้องฟ้าได้อีกดวย
เทคนิคการถ่ายภาพเส้นแสงดาว
1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง หันหน้ากล้องไปที่ดาวเหนือ โดยการหาตำแหน่งของดาวเหนือช่วงนี้อาจใช้กลุ่มดาวค้างคาวในการช่วยหาตำแหน่งขั้วเหนือท้องฟ้าได้
2. เลือกใช้เลนส์มุมกว้าง เพื่อให้ได้องศาการรับภาพที่กว้างมากขึ้น
3. ใช้รูรับแสง (Aperture) โดยประมาณ f/4 หรืออาจต่ำกว่านั้นก็ได้หากจำเป็น เพื่อกล้องมีความไวแสงในการสร้างภาพ เนื่องจากแสงดาวมีความสว่างน้อย และนอกจากนั้นยังช่วยไม่ให้เส้นแสงของดาวมีขนาดเล็กจนเกินไปจนมองไม่เห็น
4. ถ่ายภาพต่อเนื่อง (Continuous) ซึ่งเวลารวมทั้งหมดควรถ่ายต่อเนื่องประมาณ 2-3 ชั่วโมง ซึ่งเวลาในการเปิดหน้ากล้องหรือความเร็วชัตเตอร์ ไม่มีค่าตายตัวขึ้นอยู่กับสภาพแสง โดยทั่วไปมักนิยมใช้เวลาในการเปิดหน้ากล้อง 30 วินาทีต่อเนื่องไปเรื่อยๆ ซึ่งใช้ร่วมกับสายลั่นชัตเตอร์
5. ใช้ค่าความไวแสง (ISO) สูง ตั้งแต่ 400-800 หรืออาจสูงกว่า โดยอาจทดลองถ่ายภาพด้วยการตั้งค่ารูรับแสง f/4 และความเร็วชัตเตอร์ 30 วินาที แล้วดูว่าภาพถ่ายที่ได้ให้แสงพอดีหรือไม่ ก็สามารถปรับชดเชยเพิ่มขึ้นหากภาพมืดจนเกินไป
6. ปิดฟังชั่น Noise reduction เพื่อให้กล้องสามารถถ่ายภาพต่อเนื่องไปเรื่อยๆ และไม่ทำให้เส้นแสงดาวขาดหายไป
7. ไม่ใช้ระบบล็อคกระจกสะท้อนภาพ เพราะขณะที่กล้องจะถ่ายภาพในแต่ละครั้งจะทำให้เสียช่วงเวลาหนึ่งในการเปิดล็อกกระจก และจะทำให้เส้นแสงดาวขาดหายไปเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่องครับ
8. การปรับโฟกัสของเลนส์ควรศึกษาระยะไกลสุด (อินฟินิตี้) ของเลนส์ก่อนการถ่ายภาพเนื่องจากระยะชัดที่สุดของระยะไกลสุด (อินฟินิตี้) ของเลนส์
9. การบันทึกข้อมูลควรเลือกรูปแบบไฟล์เป็น RAW format เพื่อที่จะสามารถนำมาปรับเปลี่ยนแก้ไขภาพเพิ่มเติมในภายหลังได้อย่างยืดหยุ่นกว่าไฟล์แบบ JPEG
10. สุดท้ายหากใครพอมีทักษะ ก็สามารถทำอุปกรณ์กันฝ้าหน้ากล้อง เพื่อใช้ร่วมขณะถ่ายภาพเส้นแสงดาวได้ ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการจะได้ภาพถ่ายนานๆ หลายชั่วโมงได้ดียิ่งขึ้น (รายละเอียดตามลิงค์ http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9590000094281)
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน