xs
xsm
sm
md
lg

วิเคราะห์ต่อ “อุกกาบาต” ทะลุหลังคาบ้านมาจาก “ดาวเคราะห์น้อย” ดวงไหน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ชิ้นส่วนอุกกาบาตที่ใช้ตรวจสอบด้วยกล้อง SEM
ยืนยัน “วัตถุทะลุหลังคาบ้าน” ที่พิษณุโลกเป็น “อุกกาบาต” 100% และเป็นชิ้นส่วนที่เกิดจากการรวมตัวของวัตถุขนาดใหญ่ในอวกาศ เดินหน้าวิเคราะห์ต่อว่ามาจาก “ดาวเคราะห์น้อย” ดวงไหนในระบบสุริยะ ชี้ลักษณะการพุ่งลงบ่งบอกว่ามีก้อนใหญ่กว่าที่ต้องตามหาต่อไป

ธีรยุทธ ลอยลิบ เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) หนึ่งในทีมติดตามชิ้นส่วนุกกาบาต เผยว่าวัตถุที่ตกทะลุหลังคาบ้าน นางบัวล้อม ชโลมพไร ใน จ.พิษณุโลกนั้น พบนิกเกิลในชิ้นส่วนที่บ่งชี้ว่าเป็นอุกกาบาต 100%

ผลจากการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่างขนาดไม่กี่มิลลิเมตรที่ได้รับมอบจากนางบัวล้อม ที่ตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) พบว่าเป็นอุกกาบาตประเภทอะคอนไดร์ท((Achondrites) จากลักษณะคอนดรูล (Chondrules) ที่ที่แทรกในเนื้อเป็นเหลี่ยมๆ ตรงข้ามกับอุกกาบาตประเภทคอนไดร์ทที่มีคอนดรูลเป็นกลมๆ

อุกกาบาตประเภทอะคอนไคร์ทนี้ธีรยุทธระบุว่า เป็นชิ้นส่วนที่แยกจากวัตถุในอวกาศที่มีการรวมตัวกันขนาดใหญ่ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวอังคาร หรือดวงจันทร์ แต่เบื้องต้นไม่ได้มาจากดาวอังคาร เนื่องจากอุกกาบาตที่มาจากดาวอังคารนั้นหายาก และจากข้อมูลที่มีบ่งบอกว่าวัตถุที่ตรวจพิสูจน์นี้ไม่ได้มาจากดาวอังคาร และสันนิษฐานว่าอุกกาบาตชิ้นนี้น่าจะมาจากดาวเคราะห์น้อย โดยต้องวิเคราะห์ต่อว่ามาจากดาวเคราะห์น้อยดวงไหน

นอกจากนี้จากทิศทางการพุ่งชนหลังคาของอุกกาบาต ทำให้ธีรยุทธคาดว่าน่าจะมีชิ้นส่วนขนาดเดียวกันหรือใหญ่กว่าตรงไกลออกไปในรัศมีนับสิบกิโลเมตรเนื่องจากเป็นลักษณะการพุ่งตก ไม่ใช่การ “ตกอย่างอิสระ” จากการเจอแรงต้านอากาศจนความเร็วเป็นศูนย์

“แต่ยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าตกที่ใด เนื่องจากไม่ทราบความสูงที่แน่ชัด กอปรกับในวันเกิดเหตุเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.59 นั้น เป็นช่วงเช้าที่ประชาชนส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน และมีเมฆมาก จึงไม่่มีข้อมูลการสังเกตเห็นเส้นคอนเทรลจากการเคลื่อนที่ของอุกกาบาต แต่จากการสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่มีผู้ได้ยินเสียงระเบิดดังหลายอำเภอ จึงน่าจะยังมีชิ้นส่วนอื่นๆ ที่ตกอยู่ข้างเคียง ซึ่งเราต้องการให้ประชาชนมีความรู้มากๆ ว่าลักษณะแบบไหนคือลักษณะของอุกกาบาต” ธีรยุทธกล่าว

ทั้งนี้ ชิ้นส่วนที่ สดร.ได้รับมอบนั้นมีขนาดไม่กี่มิลลิเมตร ซึ่งเป็นขนาดเล็กเหมาะสมในการตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดของเอ็มเทคพอดี ส่วนชิ้นส่วนขนาดประมาณ 4 เซ็นติเมตรและหนักประมาณ 120 กรัมนั้นนางบุญล้อมเก็บรักษาไว้เอง

"ทาง สดร.ไม่ต้องการเอาอุกกาบาตมาเก็บไว้เอง เราต้องการเพียงศึกษาที่มาของอุกกาบาตชิ้นนี้ ซึ่งนางบุญล้อมได้แบ่งเศาชิ้นส่วนอุกกาบาตชิ้นเล็กๆ" นายธีรยุทธกล่าว และบอกว่าเดิมจะนำชิ้นส่วนไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เลย แต่เนื่องจากไม่สามารถแบ่งตัวอย่างมาตรวจสอบแบบทำลาย จึงต้องนำเศษเล็กๆ มาศึกษาด้วยเครื่องมือของเอ็มเทคแทน โดยเป็นการส่องกล้องแบบไม่ทำลายตัวอย่าง และก็ได้ข้อมูลเพียงพอสำหรับวิเคราะห์ว่าเป็นอุกกาบาตหรือไม่และเป็นอุกกาบาตประเภทไหน

นายธีรยุทธกล่าวอีกว่ายังต้องศึกษาสัดส่วนแร่ภายในอุกกาบาต ซึ่งต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบ โดยทางเจ้าหน้าที่เอ็มเทคจะเป็นผู้เดินเครื่องทดสอบให้ และส่งข้อมูลไปให้ เพื่อวิเคราะห์ต่อว่าอุกกาบาตนี้มาจากดาวเคราะห์น้อยดวงใดในระบบสุริยะ เนื่องจากประเภทของอุกาาบาตนั้นมีรายละเอียดยิบย่อยมาก แต่คาดว่าจะใช้เวลาเพียง 1 อาทิตย์หลังจากได้รับข้อมูลมาวิเคราะห์ นอกจากนี้ยังจะนำชิ้นส่วนอุกกาบาตไปทดสอบต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ด้วย
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ SEM ของเอ็มเทคเตรียมชิ้นส่วนเข้าเครื่องตรวจสอบ
ลักษณะภายในเนื้ออุกกาบาตที่มีคอนดรูลแทรกอยู่
เครื่องมือ SEM สำหรับตรวจสอบอุกกาบาต
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สดร. ระหว่างอธิบายผลตรวจ
ดร.่ศรัณย์ โีปษยะจิทนดา รองผู้อำนวยนการ สดร. และเจ้าหน้าที่เอ็มเทคระหว่างดูผลตรวจสอบอุกกาบาต
ผลตรวจสอบอุกกาบาต
ลักษณะอุกกาบาตที่มีร่องรอยการเผาไหม้จากกรเสียดสีชั้นบรรยากาศ









กำลังโหลดความคิดเห็น