xs
xsm
sm
md
lg

สดร.ร่วมมือเกาหลีมุ่งพัฒนาดาราศาสตร์วิทยุอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พิธีลงนามความร่วมมือด้านดาราศาสตร์วิทยุ ระหว่างสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ สถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2559 ณ โรงแรมล็อตเต้ โฮเทล โซล สาธารณรัฐเกาหลี
สดร.ลงนามความร่วมมือด้านดาราศาสตร์วิทยุ กับสถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี หวังแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเดินหน้าโครงการหอดูดาวดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ สร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุอาเซียน และร่วมเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลเอเชียตะวันออก

รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กล่าวว่า สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติแห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี มีความร่วมมือด้านดาราศาสตร์มาอย่างยาวนาน มีการลงนามความร่วมมือฯ อย่างเป็นทางการเมื่อปี 2557 ปัจจุบันสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติกำลังดำเนินโครงการจัดตั้งหอดูดาวดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติเพื่อขยายศักยภาพการวิจัยด้านดาราศาสตร์วิทยุของไทย

“สาธารณรัฐเกาหลีนับเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางดาราศาสตร์วิทยุเป็นอันดับต้นของเอเชีย จึงเกิดความร่วมมือด้านดาราศาสตร์วิทยุครั้งนี้ขึ้น รูปแบบความร่วมมือฯ มีหลายประการ ทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางดาราศาสตร์วิทยุ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคและระบบปฏิบัติการหอดูดาวดาราศาสตร์วิทยุ การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นที่ปรึกษาการติดตั้งห้องปฏิบัติการดาราศาสตร์วิทยุ”

การก่อตั้งหอดูดาวดาราศาสตร์วิทยุแห่งแรกในประเทศไทยนั้น รศ.บุญรักษาระบุว่า นอกจากจะช่วยพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคนิคและการวิจัยดาราศาสตร์วิทยุในประเทศไทยอย่างก้าวกระโดดแล้ว ยังจะช่วยเสริมความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายดาราศาสตร์วิทยุในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเตรียมพร้อมเข้าร่วมเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์ทางไกลเอเชียตะวันออกอีกด้วย

“ความร่วมมือด้านดาราศาสตร์ระหว่าง สดร. และสถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลีครั้งนี้ จะนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดาราศาสตร์วิทยุของทั้งสองประเทศ พัฒนากำลังคนที่จะรองรับการพัฒนางานวิจัยด้านดาราศาสตร์วิทยุในอนาคต เตรียมพร้อมเป็นศูนย์ฝึกอบรมดาราศาสตร์นานาชาติภายใต้ยูเนสโก ซึ่งเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านดาราศาสตร์แห่งแรกของโลกภายใต้ยูเนสโก” ผู้อำนวยการ สดร.กล่าวปิดท้าย







เพิ่มมูลค่าพลอยเกรดต่ำด้วย "ลำไอออน" เทคโนโลยีอนุภาคความร้อนต่ำพลังงานสูงทางเลือกใหม่เอาใจคนรักอัญมณี ให้ประสิทธิภาพดีกว่าการเผา "ใสกว่า-สีสดกว่า-ทุ่นเวลา-ไม่ทำให้พลอยแตก" เพิ่มราคาเศษพลอยไร้ค่าได้ 10 เท่า อ่านต่อเพิ่มเติม www.manager.co.th/science #sciencenews #mgrscience #manageronline #jewelry #ion #chiangmai #university

A photo posted by AstvScience (@astvscience) on



กำลังโหลดความคิดเห็น