xs
xsm
sm
md
lg

ถ้าคิดจะถ่าย "ดาว" ข่าวคราวสภาพอากาศต้องติดตาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

สำหรับคอลัมน์นี้ จะขอกล่าวถึงการตรวจดูสภาพอากาศก่อนออกไปถ่ายดาวกันบ้างครับ เนื่องจากในหลายๆครั้งที่เราคิดจะออกไปถ่ายดาว แต่พอไปถึงสถานที่จริงมันกลับไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ อุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเมฆ หรือฝนฟ้าคะนองก็อาจเกิดขึ้นกับ คอลัมน์นี้เรามาดูกันว่าเราสามารถตรวจสอบสภาพกากาศจากอะไรกันได้บ้าง เพื่อให้เราสามารถประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพมากที่สุด

แอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน
ก่อนออกไปถ่ายภาพก็อาจตรวจสอบสสถภาพอากาศก่อนล่วงหน้าเสมอ และในปัจจุบันเราก็มีแอพพลิเคชั่นบนมือถือแบบสมาร์ทโฟนคอยอำนวยความสะดวกให้กับเรา โดยแอพพลิเคชั่นที่มักใช้งานทั่วไป เช่น ในไอโฟนก็มีแอพพลิเคชั่น Weather ที่ให้มากับกับโทรศัพท์ก็สามารถใช้ในการตรวจสอบได้เช่นกัน

แผนที่อากาศ
แผนที่อากาศคือ แผนที่แสดงองค์ประกอบทางอุตุนิยมวิทยา ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งอุณหภูมิ ลักษณะเมฆ ลม และอื่นๆอีกมากมาย ข้อมูลต่างๆ ในแผนที่อากาศได้รับมาจากเครือข่ายสถานีตรวจอากาศผิวพื้นทั้งหลาย รวบรวมแล้วเขียนขึ้นเป็นตัวเลข รหัส และสัญลักษณ์ต่างๆ ทางอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลที่อยู่ในแผนที่อากาศจะนำไปใช้ในการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศที่จะเกิดขึ้นได้ดังตัวอย่าง

ตัวอย่างสัญลักษณ์ทางอุตุนิยมวิทยาบนแผนที่อากาศ ได้แก่
L หย่อมความกดอากาศต่ำ เป็นบริเวณที่อากาศร้อนยกตัวทำให้เกิดเมฆ
H บริเวณความกดอากาศสูง เป็นบริเวณที่อากาศเย็นแห้งแล้ว ฟ้าใส ไม่มีเมฆปกคลุม

การสังเกตเมฆในช่วงเย็น
สำหรับเทคนิคสุดท้ายก่อนการถ่ายภาพ เมื่อเราเดินทางไปถึงยังสถานที่ถ่ายภาพแล้ว ก็คือการสังเกตเมฆนั่นเอง โดยสิ่งแรกก็คือการสังเกตรูปร่างของเมฆว่ามีลักษณะอย่างไร เป็นเมฆก้อนๆ หรือแผ่นบางๆ ซึ่งจากประสบการณ์แล้วเมฆก้อนคล้ายดอกเห็ด หรือที่เรียกว่า เมฆคิวมูลัส (Cumulus) ที่มีลักษณะเป็นก้อน นั้นไม่น่ากลัวครับ เพราะใสช่วงดึกๆ หรือประมาณหลัง 2 ทุ่ม เป็นต้นไปเมฆประเภทนี้ก็มักจะสลายตัวไปครับ

นอกจากนั้นสีของเมฆยังสามารถบอกถึงสภาพอากาศได้อีกด้วย โดยปกติเรามักจะสังเกตเห็นสีของก้อนเมฆเป็นสีขาว สีเทา ไปจนถึงสีดำ โดยสีของเมฆยิ่งมีสีเข้มมากเท่าไหร่ก็บ่งบอกถึงการควบแน่นเป็นละอองน้ำที่มีความหนาแน่นสูง แสงอาทิตย์ไม่สามารถส่องผ่านทะลุได้ และอาจกลั่นตัวหนาแน่นขึ้น ละอองน้ำเกิดการรวมตัวขนาดใหญ่ขึ้นจนในที่สุดตกลงมาเป็นฝนนั้นเอง

ดังนั้น ก่อนการออกไปถ่ายภาพดาวแต่ละครั้งนั้นควรวางแผนการตรวจสอบสภาพอากาศจากสิ่งต่างๆ เพื่อให้การถ่ายภาพของเราประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพมากที่สุดครับ

เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็นหัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”

“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”

อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน














กำลังโหลดความคิดเห็น