ทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ประมวลเหตุการณ์สำคัญในรอบปี 2014 ตั้งแต่แผ่นดินไหวเชียงรายสะเทือนขวัญคนไทย สร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิตและอาคารบ้านเรือน รวมถึงสถานท่องเที่ยวสำคัญ จนนักวิชาการต้องออกมาแนะการก่อสร้างที่รองรับแผ่นดินไหว หรือข้อมูลชวนอึ้งอย่างการตัดเค้กที่เราทำผิดกันมาตลอด รวมถึงกระแสตื่นกลัวแมงมุมม่ายที่ทำให้แมงมุมหลายชนิดต้องรับเคราะห์ และก้าวสำคัญของมนุษยชาติในการสร้างแลนด์มาร์คนอกโลก ตั้งแต่การส่งยานไปดาวอังคารของนาซาและอินเดีย หรือการส่งยานลงจอดดาวหางได้เป็นครั้งแรก
แผ่นดินไหวเชียงรายสะเทือนขวัญ
แผ่นไหว 6.3 ริกเตอร์ ซึ่งมีศูนย์กลางลึก 10 กิโลเมตร ที่ อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 5 พ.ค. เป็นอีกเหตุการณ์ที่สร้างความตื่นตระหนกอย่างมากสำหรับปีนี้ ไม่เพียงแค่อาคารบ้านเรือนหรือสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในจังหวัดเชียงรายจะได้รับความเสียหายแล้ว ยังมีผู้เสียชีวิตจากปรากฏการณ์ดังกล่าวถึง 2 คน
แผ่นดินไหวดังกล่าวทาง สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบุว่า เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดจากกลุ่มรอยเลื่อนพะเยา ทว่าก็มีความเห็นจากนักวิชาการว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้อาจจะเกิดจากรอยเลื่อนใหม่ที่ไม่อยู่ในสารบบของกระทรวงทรัพฯ ขณะนักวิชาการด้านการก่อสร้างแนะนำว่าควรสร้างอาคารบ้านเรือนให้รองรับแผ่นดินไหว เนื่องจากเราไม่สามารถย้ายทุกคนออกจากพื้นที่มีรอยเลื่อนได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชี้ยังมีรอยแตกซ่อนตัวทั่วภาคเหนืออีกมาก
จับตาอีก 5 รอยเลื่อนใกล้เคียงหลังแผ่นดินไหวเชียงราย
นักวิชาการเสนอน่าจะมีรอยเลื่อนใหม่ทำแผ่นดินไหวเชียงราย
10 ข้อแนะนำ...เมื่อสร้างบ้านในเขตเสี่ยงแผ่นดินไหว
3 วิธีหุ้มเสาเสริมแกร่งอาคารเก่าต้านแผ่นดินไหว
ถอดบทเรียนแผ่นดินไหวเชียงราย (1) : สาเหตุความเสียหาย
ถอดบทเรียนแผ่นดินไหวเชียงราย (2) : กฎ 4 ข้อก่อสร้างเสาพื้นที่เสี่ยง
ถอดบทเรียนแผ่นดินไหวเชียงราย (3) : 3 แนวทางจัดการโครงสร้างเสียหาย
ตัดเค้กไม่ใช่เรื่องกล้วยๆ
ตัดเค็กดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ปี 2014 นี้ อเล็กซ์ เบลลอส (Alex Bellos) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ออกมาบอกชาวโลกว่าเราตัดเค้กกันไม่ถูกวิธี และนักคณิตศาสตร์ได้เสนอวิธีที่ถูกต้องมานานกว่า 100 ปีแล้ว ด้วยวิธีตัดเค้กเป็นเส้นขนานจากตรงกลางก่อน เพื่อให้นำส่วนที่เหลือมาประกบกันได้ และเก็บรักษาเค้กที่เหลือโดยไม่เสียรสชาติ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
นักคณิตศาสตร์บอก...เราตัดเค้กผิดวิธีมาตลอด!!!
ตื่นแมงมุมแม่ม่าย
จากเหตุหนุ่มเมืองแพร่ถูกแมงมุมกัดจนอาการโคม่าเมื่อช่วงเดือน ก.ค. ก่อกระแสเตือนกลัว “แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล” ที่คาดว่าเป็นตัวการไปทั่วประเทศ แม้ว่าภายหลังผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาคลินิกจากศูนย์พิษวิทยาศิริราช โรงพยาบาลศิริราชจะให้ความเห้นว่าแมงมุมต้นเหตุน่าจะเป็น “แมงมุมพิษสีน้ำตาล” มากกว่า แต่กระแสลือข้อมูลผิดๆ เกี่ยวกับแมงมุมแม่ม่ายก็สะพัดไปไกล
ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านแมงมุมชี้แจงว่า แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาลนั้นน่าจะเข้ามายังประเทศไทยนานแล้ว แต่ไม่อาจระบุเวลาที่แน่ชัดได้ เนื่องจากแมงมุมชอบอาศัยอยู่ตามซอกมุมจึงอาจติดมาพร้อมกับลังขนส่งสินค้า และเมืองไทยก็มีข้อมูลการพบแมงมุมแม่ม่ายถึง 4 ชนิดแล้ว คือ แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล แมงมุมแม่ม่ายใหญ่และแมงมุมแม่ม่ายแดงที่ยังไม่สามารถระบุชนิด กับแมงมุมแม่ม่ายดำที่กลายอยู่ในกลุ่มผู้เลี้ยงแมงมุม
นอกจากนี้การลือข้อมูลพิษของแมงมุมก็คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริงมาก แม้ว่าพิษของแมงมุมแม่ม่ายน้ำตาลจะรุนแรงกว่าพิษงูเห่า 150 เท่า แต่เป็นการเปรียบเทียบพิษในปริมาณเท่าๆ กัน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแมงมุมมีขนาดเล็กกว่างูเห่าหลายเท่า และมีปริมาณพิษน้อยกว่ามาก
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ผู้เชี่ยวชาญชี้ "แมงมุมแม่ม่ายน้ำตาล" ไม่กัดจนเหวอะ
ศิริราชคาด “แมงมุมพิษสีน้ำตาล” กัดหนุ่มแพร่ ไม่ใช่ “แม่ม่ายสีน้ำตาล” (ชมคลิป)
โรเซตตาลงจอดดาวหาง
นับเป็นอีกก้าวประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเมื่อองค์การอวกาศยุโรป (European Space Agency) หรืออีซา (ESA) ส่งยานลงจอดบนดาวหางได้เป็นครั้งแรก โดยส่งยานโรเซตตา (Rosetta) ขึ้นไปตามล่าดาวเคราะห์น้อย 67พี/ซีจี (Comet 67P/C-G) ตั้งแต่เมื่อ 2 มี.ค.2004 และท่องอวกาศเป็นระยะทางร่วม 6.4 พันล้านกิโลเมตร จนกระทั่งวันที่ 6 ส.ค.2014 ยานก็ไปถึงเป้าหมายที่เข้าวงในของระบบสุริยะมากขึ้นเรื่อยๆ และในวันที่ 12 พ.ย.2014 ดรเซตตาก็ปล่อยยานลงจอดฟิเล (Philae) บนพื้นผิวดาวหางได้สำเร็จ สำหรับปฏิบัติการต่อไปของโรเซตตาและฟิเลจะเริ่มขึ้นในเดือน ม.ค.2015
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปลุก “โรเซตตา” ยานล่าดาวหางหลังหลับนาน 31 เดือน
จับตา Rosetta ส่งยานลงจอดบนดาวหาง
สำเร็จ! “โรเซตตา” โคจรรอบ “ดาวหาง” หลังตามล่า 10 ปี
อีซายืนยัน "ฟิเล" ลงจอดดาวหางแล้ว
น่ารักๆ คลิปเล่าเรื่องภารกิจ “โรเซตตา” และยานลงจอดดาวหาง
สถานีต่อไป “ดาวอังคาร”
เป็นอีกปีที่ “ดาวอังคาร” กลายเป็นเป้าหมายในการสำรวจอวกาศของหลายชาติ ในส่วนขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) แม้จะส่งยานไปลงจอดและวิ่งสำรวจพื้นผิวดาวเคราะห์เพื่อนบ้านรวมถึงยานที่โคจรอยู่รอบๆ อีกหลายลำ แต่ก็ยังมีคำถามมากมายที่รอคำตอบจากยานมาเวน (MAVEN: Mars Atmosphere and Volatile Evolution) ยานโคจรที่ทำหน้าที่สำรวจชั้นบรรยากาศของดาวอังคารและไขคำตอบว่า “ทำไมดาวอังคารจึงไม่มีน้ำ” ซึ่งยานลำนี้ก็เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารไปตั้งแต่วันที่ 21 ก.ย.2014 หลังจากถูกส่งขึ้นไปจากโลกเป็นเวลานานกว่า 10 เดือน
ขณะที่อินเดียก็ไล่ตามความสำเร็จของนาซาในเวลาไล่เลี่ยกัน เมื่อมงคลยาน (Mangalyaan) ที่ส่งขึ้นไปโดยองค์การวิจัยอวกาศอินเดีย (Indian Space Research Organisation) หรือ อิสโร (ISRO) ตั้งแต่เดือน พ.ย.2013 เข้าสู่วงโคจรของดาวอังคารในวันที่ 24 ก.ย.2014 ทำให้อินเดียกลายเป็นชาติแรกที่สามารถส่งยานไปถึงดาวอังคารได้ตั้งแต่ในความพยายามครั้งแรก และขยับให้อินเดียกลายเป็นชาติมหาอำนาจทางด้านอวกาสเป็นชาติที่ 4 รองจาก สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและรัสเซีย
สำหรับมงคลยานถูกขนานนามว่าเป็น “ยานโลวคอสต์” เนื่องจากมีมูลค่าโครงการเพียง 2,000 ล้านบาท ในขณะที่ยานมาเวนซึ่งถูกส่งไปโคจรรอบดาวอังคารเช่นกันมีมูลค่าถึง 20,000 ล้านบาท ซึ่งเป้าหมายของมงคลยานคือการศึกษาพื้นผิวดาวอังคารและองค์ประกอบแร่ธาตุต่างๆ ของดาวอังคาร รวมถึงกราดดูชั้นบรรยากาศดาวอังคารเพื่อค้นหามีเทน ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีความเกี่ยวพันกับสิ่งมีชีวิตบนโลก และหลังความสำเร็จที่ตามกันไปติดๆ นาซาและอิสโรก็จับมือกันสานความร่วมมือเพื่อสำรวจดาวอังคารต่อไปในอนาคต รวมทั้งยังลงนามข้อตกลงในการเข้าถึงการใช้งานดาวเทียมทรัพยากรโลกด้วยอีกฉบับ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ยานนาซาเข้าถึงเป้าหมายหาคำตอบ “ทำไมดาวอังคารไม่มีน้ำ”
ลุ้นยานโลว์คอสต์ของอินเดียเข้าสู่วงโคจรดาวอังคาร
สำเร็จ! ยานอวกาศอินเดียเข้าสู่วงโคจรดาวอังคารแล้ว
สหรัฐฯ-อินเดียจับมือกันร่วมสำรวจดาวอังคาร
นอกจากการส่งยานไร้คนบังคับไปยังดาวอังคารแล้ว การส่งคนไปเหยียบดาวอังคารเป็นอีกเป้าหมายใหญ่ของนาซา และในปี 2014นี้องค์การอวกาศสหรัฐฯ ก็ได้ทดสอบ “โอไรออน” (Orion) แคปซูลขนส่งมนุษย์ไปดาวอังคารโดยไร้คนบังคับ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2014 เพื่อเก็บข้อมูลที่จำเป็นก่อนการทดสอบส่งมนุษย์ไปพร้อมกับยาน โดยยานได้ขึ้นไปโคจรรอบโลก 2 รอบเป็นเวลา 4 กว่าชั่วโมง ก่อนตรงกลับสู่โลกในมหาสมุทรบริเวณชายฝั่งแคลิฟอร์เนียรอเจ้าหน้าที่เก็บเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
นาซาเลื่อนทดสอบยานคนไปดาวอังคาร เหตุลมแรง
นาซายืนยัน "โอไรออน" แคปซูลนำคนไปดาวอังคารในขั้นทดสอบตกกลับสู่มหาสมุทรแล้ว
ในขณะที่กิจการอวกาศของภาครัฐประสบความเร็จไปได้สวย แต่กิจการอวกาศในมือเอกชนกลับเผชิญโศกนาฏกรรม เริ่มจากอุบัติเหตุจรวดแอนทาเรส (Antares) ของออร์บิทัลไซนส์คอร์ปอเรชัน (Orbital Sciences Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาระเบิดระหว่างทะยานฟ้าจากฐานปล่อยจรวดในศูนย์อำนวยการบินวัลลอปส์ (Wallops Flight Facility) เวอร์จิเนีย สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 28 ต.ค.2014 เพื่อนำส่งแคปซูลซิกนัส (Cygnus) สู่สถานีอวกาศ
นอกจากนี้ยังมีเที่ยวบินทดสอบยานสเปซชิปทู (SpaceShipTwo) ยานขนส่งอวกาศเพื่อการนำเที่ยวของ เวอร์จิน กาแลกติก (Virgin Galactic) ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการสำรวจอวกาศได้เกิดระเบิดเมื่อวันที่ 31 ต.ค.2014 ซึ่งเป็นผลให้นักบินเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีก 1 ร้าย นับเป็นข่าวร้ายสำหรับกิจการอวกาศของภาคเอกชนที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใกล้เคียง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
มีเรืออยู่ในรัศมีส่ง...คู่สัญญานาซาต้องเลื่อนปล่อยยานอวกาศ
ไปไม่ถึงอวกาศ...ยานคู่สัญญานาซาระเบิดกลางแท่นปล่อย
ยานท่องเที่ยวอวกาศลำแรกของโลกประสบอุบัติเหตุระหว่างเที่ยวทดสอบ!!
*******************************