xs
xsm
sm
md
lg

เหรียญโนเบล “เจมส์ วัตสัน” ถูกประมูลได้กว่า 140 ล้านบาท

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แฟ้มภาพ ขณะ เจมส์ วัตสัน ยืนอยู่หน้าแบบจำลองโครงเารา้งดีเอ็นเอแบบดั้งเดิม ต่อหน้าสื่อมวลชน ภายในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ที่ลอนดอน ( AFP PHOTO/ODD ANDERSEN)
เหรียญโนเบลของ “เจมส์ วัตสัน” นักพันธุศาสตร์ชื่อก้องถูกประมูลไปด้วยราคากว่า 140 ล้านบาทในเวลาแค่ 1 นาที และนับเป็นการประมูลเหรียญโนเบลครั้งแรกที่เจ้าของยังมีชีวิตอยู่

เอเอฟพีรายงานว่าเหรียญโนเบลของ เจมส์ วัตสัน (James Watson) นักพันธุศาสตร์สหรัฐฯ ถูกประมูลไปด้วยราคากว่า 140 ล้านบาท ภายในเวลาเพียง 1 นาที ระหว่างการประมูลที่สำนักจัดประมูลคริสตีส์ (Christie's) ในนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.2014 ตามเวลาท้องถิ่น  

วัตสันได้รับรางวัลโนเบลเมื่อปี 1962 จากการค้นพบโครงสร้างเกลียวดีเอ็นเอร่วมกับ ฟรานซิส คริค (Francis Crick) ก่อนหน้าได้รับรางวัล 9 ปี ซึ่งผลงานดังกล่าวถือเป็นการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญแห่งศตวรรษที่ 20 และ มอริซ วิลกินส์ (Maurice Wilkins) ยังได้รับรางวัลนี้ในสาขาสรีรศาสตร์และการแพทย์ร่วมกับพวกเขาทั้งสองด้วย

ทว่านักวิทยาศาสตร์วัย 86 ปีผู้นี้ก็กลายเป็นที่รังเกียจของประชาคมวิทยาศาสตร์บางส่วน เนื่องจากเขาแสดงความเคลือบแคลงต่อสติปัญญาของชาวผิวดำ แม้ในภายหลังเขาจะออกมาขอโทษก็ตาม 

สำหรับเหรียญรางวัลโนเบลนั้นผลิตจากทองคำ 23 กะรัต และแสดงรายละเอียดของ อัลเฟร็ด โนเบล (Alfred Nobel) นักเคมีและนักประดิษฐ์ชาวสวีเดน ซึ่งการนำเหรียญออกมาประมูลครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่เจ้าของเหรียญรางวัลยังมีชีวิต และทางสำนักประมูลยังประมูลราคาเหรียญไว้ว่ามีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 75-105 ล้านบาท
 
นอกจากนี้ทางสำนักจัดประมูลคริสตีส์ยังได้จัดประมูลกระดาษจดคำกล่าวสุนทรพจน์ของวัตสันที่ใช้ภายในพระราชพิธีพระราชทานรางวัลโนเบลเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.1962 ซึ่งกระดาษ 5 แผ่นที่คาดว่ามีราคาประมาณ 9-12 ล้านบาท ถูกประมูลไปด้วยราคาเกือบ 11 ล้านบาท และวัตสันยังได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการโนเบล ซึ่งเอกสารที่เขียนด้วยลายมือ 46 หน้าที่มีมูลค่า 6-9 ล้านบาท ถูกประมูลไปด้วยราคา 7.35 ล้านบาท

วัตสันซึ่งเป็นผู้เขียนวารสารวิชาการหลายเล่มตั้งใจแบ่งรายได้ให้แก่มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) ที่เขาเคยศึกษา วิทยาลัยแคลร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Clare College at the University of Cambridge) ที่เขาทำงาน และห้องปฏิบัติการโคลด์สปริงฮาร์เบอร์ (Cold Spring Harbor Laboratory) ที่เขาเคยเป็นผู้อำนวยการอยู่หลายปี







*******************************


กำลังโหลดความคิดเห็น