xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยออสซี่เจอ “ศิลปะหิน” ในไทย เขมร มาเลเซีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพศิลปะหินรูปกวางที่เสียมเรียบ กัมพูชา ซึ่งเป็นภาพวาดเก่าแก่ที่สุดในภูมิภาคนี้ (Cr.Paul Taçon)
นักวิจัยออสซี่พบศิลปะหินเพิ่มในไทย เขมร และมาเลเซีย ผลพวงการเปลี่ยนป่าสู่แหล่งอารยธรรมของมนุษย์โบราณกลุ่มแรกๆ ที่มาถึงยังพื้นที่เมื่อกว่า 50,000 ปีก่อน โดยพบการแสดงออกทางศิลปะนี้ตั้งแต่แถบตะวันตกเฉียงใต้ของจีนไปถึงอินโดนีเซีย นักวิจัยเชื่อว่าจะช่วยให้เข้าใจศิลปะลักษณะเดียวกันที่พบในออสเตรเลีย

มหาวิทยาลัยกริฟฟิธ (Griffith University) ของออสเตรเลีย เผยแพร่ข่าวว่า ศ.พอล ทาคอน (Paul Taçon) ศาสตราจารย์ทางด้านศิลปะหินของมหาวิทยาลัยได้ตีพิมพ์ผลงานการค้นพบศิลปะหินลงวารสารแอนทิควิตี (Antiquity) ซึ่งเป็นผลงานของมนุษย์กลุ่มแรกๆ ที่มาถึงยังพื้นสำรวจเมื่อกว่า 50,000 ปีก่อน

ทั้งนี้ ศ.ทาตอนได้ร่วมกับทีมวิจัยนานาชาติออกสำรวจพื้นที่ธุรกันดารในประเทศต่างๆ และพบว่ามนุษย์ยุคก่อนวาดภาพสัตว์อย่างมีทักษะลงบนหินกำบัง ซึ่งพบตั้งแต่ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนลงไปถึงอินโดนีเซีย และล่าสุดได้พบศิลปะหินในเมืองไทย กัมพูชาและมาเลเซีย  

จากการวิเคราะห์ภาพวาดที่เก่าแก่ที่สุดด้วยเทคนิคซับซ้อนหลายเทคนิคซึ่งรวมถึงการคำนวณอายุ พบว่าภาพเก่าแก่มากๆ มากเป็นภาพวาดของสัตว์ป่า และในบางพื้นที่เป็นภาพพิมพ์รูปมือ โดยงานวิจัยนี้ยังเผยให้เห็นว่าภาพวาดอายุ 35,00-40,000 ปีที่พบบนหินกำบังในสุลาเวสีของอินโดนีเซีย โดย แมกไซม์ ออเบิร์ต (Maxime Aubert) นักวิจัยอาวุโสของมหาวิทยาลัยกริฟฟิธไม่ใช่ภาพที่มีรูปแบบเฉพาะ แต่เป็นภาพที่พบกระจายทั่วภูมิภาคเหล่านั้น

ศ.ทาคอนกล่าวว่าภาพวาดเก่าแก่ที่สุดใอเชียมักเป็นภาพที่ผนวกเข้ากับพื้นผิวธรรมชาติหรือบนพื้นแผ่นหินกำบัง ซึ่งแสดงถึงการหลอมรวมกับแหล่งใหม่ๆ ที่คนยุคโบราณไปถึง ทั้งในแง่สัญลักษณ์และเหตุผลในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างลักษณะของมนุษย์ลงยังพื้นที่ที่พวกเขาไปถึง เปลี่ยนพื้นที่เหล่านั้นจากสถานที่ดิบเถื่อนเป็นภูมิประเทศที่มีวัฒนธรรม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้  
ภาพวาดศิลปะหินรูปมือที่พบที่อินโดนีเซียเมื่อกว่า 40,000 ปีก่อน (Cr.Paul Taçon)
ทีมวิจัยยังพบด้วยว่าภาพเก่าแก่ที่หลงเหลืออยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้มักพบตามแหล่งกำบังหิน ต่างจากภาพเก่าแก่ที่พบในยุโรปที่มักพบในถ้ำลึก บ่งชี้ว่าประสบการณ์ในถ้ำลึกไม่ได้เป็นแรงบันดาลใจเหมือนอย่างที่ถกเถียงกันในยุโรป ซึ่ง ศ.ทาคอนระบุว่า การค้นพบนี้ยกระดับข้อถกเถียงถึงกำเนิดการสร้างศิลปะ และยังสนับสนุนแนวคิดว่า พฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์นี้เริ่มต้นจากบรรพบุรุษที่เก่าแก่ที่สุดของเราในแอฟริกามากกว่าจะมาจากยุโรป

ศ.ทาคอนให้ความเห็นว่า งานวิจัยนี้สนับสนุนความคิดที่ว่า จากอายุของศิลปะหินในอินโดนีเซียยุคแรกๆ นั้น มนุษย์ยุคใหม่นำความสามารถในการวาดภาพกึ่งถาวรนี้มาจากแอฟริกาและแพร่ต่อไปยังยุโรปและเอเชีย และงานวิจัยนี้ยังไม่ได้มีความหมายต่อศิลปะหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และยุโรปเท่านั้น แต่ยังมีความหมายต่อออสเตรเลีย ซึ่งพบว่าศิลปะหินที่หลงเหลืออยู่ในออสเตรเลียนั้นมีภาพสัตว์และลายพิมพ์เช่นกัน  

นอกจากนี้เป็นไปได้ว่าการสร้างภาพในลักษณะนี้อาจถูกนำไปยังออสเตรเลียในช่วงเวลาของการตั้งอาณานิคมในยุคแรกๆ แต่ก็เป็นไปได้ว่าความสามารถอาจเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวข้องกับภายนอก หรืออาจเป็นผลจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในรูปแบบที่เรายังไม่เข้าใจ ซึ่งนักวิจัยมองว่าทั้ง 3 ข้อสันนิษฐานนี้มีความน่าสนใจพอๆ กัน และมีการวางแผนศึกษาเพิ่มเติมทั้งในพื้นที่ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  
ภาพวาดรูปกระทิงที่พบที่จีน โดยใช้เส้นสีแดงเน้นส่วนหัว ขาหน้า และด้านข้าง ส่วนดวงตาเป็นเบ้าลึกตามรูปทรงของหินในธรรมชาติ (Cr.Paul Taçon)






*******************************


กำลังโหลดความคิดเห็น