xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นอวด “โซลาร์เซลล์” เลียนแบบดอกไฮเดรนเยีย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศ.ฮิโรชิ เซกาวะ และแผ่นเซลล์แสงอาทิตย์ที่เลียนแบบดอกไฮเดรนเยียและออกแบบเป็นรูปดอกไฮเดรนเยีย (ภาพประกอบทั้งหมดจากเอเอฟพี)
นักวิจัยญี่ปุ่นอวดโฉม “โซลาร์เซลล์” จากสารอินทรีย์เลียนแบบดอกไฮเดรนเยีย เมื่อชาร์จพลังงานจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และกลายเป็นสีขาวซีดเมื่อพลังงานหมด เหมือนกลีบดอกไม้ที่เก็บพลังงานจากการสังเคราะห์แสง และทำงานได้ดีแม้อยู่ภายใต้แสงน้อย เป็นความหวังพลังงานทดแทนท่ามกลางการหยุดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วประเทศ

นับแต่เกิดแผ่นดินไหวและตามมาด้วยสึนามิที่ถล่มชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นเมื่อปี 2011 ล่ามไปถึงวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ (Fukushima) จนโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หยุดทำงานทั่วประเทศ และญี่ปุ่นถูกกระตุ้นให้หันมาใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น ซึ่ง ศ.ฮิโรชิ เซกาวะ (Hiroshi Segawa) จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประยุกต์ ของมหาวิทยาลัยโตเกียว ก็หวังว่าเซลล์แสงอาทิตย์ย้อมสีของเขาจะเป็นทางออกของปัญหาพลังงานนี้ด้วย

ความไม่ธรรมดาในเซลล์แสงอาทิตย์ของ ศ.เซกาวะ คือการเลียนแบบลักษณะของดอกไฮเดรนเยีย โดยเอเอฟพีอธิบายว่า ด้วยเทคโนโลยีอันล้ำสมัยผสานกับความงามของดอกไฮเดรนเยียที่เป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ถูกเรียงให้มีรูปร่างเหมือนดอกไม้จัดอยู่ภายในกรอบศิลปะตามแบบฉบับของญี่ปุ่น

เซลล์แสงอาทิตย์นี้ถูกตั้งชื่อว่า “แอนนาเบลล์” (Annabelle) ตามชื่อของไฮเดรนเยียสีขาว โดยขนาดที่กว้างเพียง 20 เซ็นติเมตรภายในห้องที่ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอสามารถชาร์จสมาร์ทโฟนได้ถึง 2 ครั้ง ซึ่งเมื่อชาร์จจนมีประจุเต็มกลีบของเซลล์แสงอาทิตย์จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเมื่อใช้ประจุหมดจะเปลี่ยนเป็นสีขาว คล้ายกับดอกไฮเดรนเยียของ จริง
 
“เราไม่ค่อยมีภาพดีๆ ต่อสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน อย่างเช่นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หรือโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนก็สร้างภาพของถ่านหินที่สกปรก ส่วนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ก็กินพื้นที่มหาศาล แม้แต่พลังงานลมก็มีปัญหาปะทะกับนกและเสียงรบกวน แต่แอนนาเบลล์ไม่ทำอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม” เซกาวะเผยแก่เอเอฟพี

แม้ไม่คาดหวังที่จะโค่นเซลล์แสงอาทิตย์แบบซิลิกอนที่ครองตลาดอยู่ในขณะนี้ แต่เซกาวะก็หวังว่าการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของพลังงานทางเลือกจะมีพื้นที่สำหรับ “พลังงานที่เพลินใจ” ซึ่งเติมเต็มสีสันให้แก่อุตสาหกรรมที่มีแต่สีทึมๆ น่าเบื่อ ทั้งนี้นับแต่เหตุการณ์ฟูกูชิมะเมื่อกว่า 3 ปีที่ผ่านมา การพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ของญี่ปุ่นก็เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังเป็นส่วนแบ่งเพียงน้อยนิดเมื่อเทียบกับพลังงานอื่นๆ

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบกับประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่เอเอฟพีระบุว่า ญี่ปุ่นยังใช้พลังงานทางเลือกค่อนข้างน้อย โดยอ้างตามข้อมูลจากองค์การพลังงานระหว่างประเทศ พบว่าญี่ปุ่นใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งรวมถึงพลังงานน้ำเพียง 4.7% น้อยกว่าอังกฤษที่ใช้พลังงานหมุนเวียนที่ 10.4% หรือเยอรมนีที่ใช้พลังงานหมุนเวียนถึง 20.1% และนับหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าทั่วประเทศ พลังงานที่เคยจ่ายให้ประเทศก็หายไปถึง 1 ใน 4  

ขณะที่กรุงโตเกียวก็มีความพยายามที่พัฒนาภาคพลังงานจากแสงอาทิตย์ แต่ก็มีข้อจำกัดในแง่ขาดแคลนแสงแดด แต่เซกาวะระบุว่า เซลล์แสงอาทิตย์แอนนาเบลล์ของเขานั้นทำงานได้ดีแม้อยู่ภายในอาคารที่มีแสงน้อย นอกจาก นี้ยังออกได้หลากหลาย ซึ่งเขายังได้ทำเซลล์อาทิตย์เป็นรูป ฟรังซัวร์ โอลลองด์ (ncois Hollande) ประธานาธิบดีของฝรั่งเศสและศิลปินของญี่ปุ่นด้วย

“คุณทำให้เซลล์แสงอาทิตย์เป็นตัวแอนิเมชันหรือภาพเหมือนของคนจริงๆ และอื่นได้อีกมาก” เซกาวะกล่าว 
นอกจากดอกไฮเดรนเยียแล้วยังออกแบบเป็นรูปตัวการ์ตูนต่างๆ ได้
ในภาพนี้เลียนแบบลักษณะของประธานาธิบดีฝรั่งเศส
ใช้งานได้จริง






*******************************


*******************************
กำลังโหลดความคิดเห็น