xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยภารตะพบเครื่องเทศอินเดียช่วยลดความดันเลือด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

พริกไทยอีกสมุนไพรที่พบในอาหารอินเดีย (ภาพประกอบ เอเอฟพี)
ทีมวิจัยการแพทย์ของอินเดีย เผยความสำเร็จในการทดสอบใช้ส่วนเครื่องเทศที่หาได้ทั่วไปในเมนูอาหารอินเดีย ว่า ช่วยลดความดันเลือดให้หนูในแล็บได้ และเป็นความหวังในการพัฒนายาจากธรรมชาติ และซื้อหาได้ง่ายเพื่อบำบัดโรคความดันโลหิตสูง

เอส ทานิกาชลัม (S. Thanikachalam) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหัวใจ และหัวหน้าทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยศรีรามาจันทรา (Sri Ramachandra University) เผยว่า เขาและทีมได้ทดสอบส่วนผสมของขิง กระวาน ยี่หร่า และพริกไทย เครื่องเทศทั่วไปที่พบได้ในครัวเรือนชาวอินเดีย ร่วมกับกลีบดอกบัวขาว และส่วนผสมอื่นๆ ในสัตว์ฟันแทะ

“เราเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในหนูทดลองที่ถูกเหนี่ยวนำให้มีความดันโลหิตสูง ระหว่างการทดลองในห้องปฏิบัติการของเรา” ทานิกาชลัม ให้สัมภาษณ์แก่เอเอฟพี และกล่าวต่อว่า ตัวยาให้ผลอย่างชัดเจนในความดันโลหิต และลดความเครียดออกซิเดชัน (oxidative stress)* ในหนูทดลอง (*ความไม่สมดุลระหว่างการผลิตอนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ)

Indians are genetically predisposed to hypertension with one in four people in cities suffering from the disorder, according to the World Health Organisation (WHO).

การศึกษาของทีมวิจัยอินเดียระบุว่า เครื่องเทศของอินเดียช่วยลดความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดไปเลี้ยงที่ไต (renovascular hypertension) ได้อย่างชัดเจน โดยโรคดังกล่าวเป็นลักษณะของความดันโลหิตสูงที่เกิดจากเส้นเลือดแดงในไตตีบตัน

ทั้งนี้ เอเอฟพีอ้างข้อมูลจากองค์การอนามัยโรคว่า ชาวอินเดียในเมืองมีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงดังกล่าวมากถึง 1 ใน 4 ซึ่งปัจจุบันการรักษาโรคความดันโลหิตสูงทำได้โดยการกินยาแผนปัจจุบัน แต่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และมีแนวโน้มที่จะเกิดผลข้างเคียงหากกินยาติดต่อกันทุกวัน

สำหรับงานวิจัยนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่บอกว่า ส่วนผสมของเครื่องเทศมีประโยชน์ต่อร่างกาย ตัวอย่างเช่น งานวิจัยที่เผยแพร่เมื่อ ก.พ.2011 นักวิทยาศาสตร์พบว่า ยาลูกผสมที่ครึ่งหนึ่งเป็นสารเคมีจากขมิ้นเหลือง ช่วยฟื้นฟูสมองหลังจากเกิดภาวะเส้นเลือดในสมองสัตว์ทดลองอุดตันได้

ทนิกาชาลาม ยังกล่าวอีกว่า การทดลองบำบัดด้วยสมุนไพรของทีมเขาซึ่งเรียกว่า “เวนธามารัย ชูรานัม” (venthamarai chooranam) นั้น เป็นการผสมผสานจากสิ่งที่ถูกระบุไว้ในตำราโบราณของอินเดีย แลถูกถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เพียงแต่ไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเป็นวิทยาศาสตร์เท่านั้น

ผลการทดลองนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารเอกซ์เพอริเมนทัล ไบโอโลจี แอนด์ เมดิซีน (Experimental Biology and Medicine) ฉบับเดือน มิ.ย. แต่ทีมวิจัยยังต้องการขยายการศึกษาในสัตว์ทดลองเพิ่มอีก เพื่อดูว่าการรักษาด้วยสมุนไพรนั้นได้ผลกับโรคเรื้อรัง ก่อนที่จะนำมาทดลองระดับคลินิกในมนุษย์ ซึ่งเป็นกระบวนการตามกฎหมาย ก่อนที่จะยาใหม่ใดๆ จะถูกนำไปวางจำหน่ายในท้องตลาด  
ลูกกระวาน (<A HREF= Autopilot )">
ขิง (<A HREF= Anna Frodesiak)">
ผงยี่หร่า (<A HREF=Giovanni DallOrto)">
****************************



****************************


Instagram







กำลังโหลดความคิดเห็น