WWF- กระรอกบินขนาดยักษ์ ตุ๊กแกถลาลม ปลาที่ผสมพันธุ์โดยใช้หัว และแมงมุมไร้ดวงตาที่อาศัยอยู่ในถ้ำ ทั้งหมดนี้คือหนึ่งใน 367 สายพันธุ์ใหม่ที่ถูกค้นพบโดยเหล่านักวิทยาศาสตร์ในเขตพื้นที่แม่น้ำโขงในช่วงปี 2012 ถึง 2013 ตามที่ถูกบรรยายไว้ในรายงานฉบับใหม่ของ WWF ในชื่อ “แม่โขงอันลี้ลับ”
WWF เปิดเผยรายงานดังกล่าวในวันสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งเน้นให้เห็นเหล่าสัตว์ที่สวยงามและน่าตื่นตะลึง หนึ่งใน 15 สายพันธุ์ที่ถูกมุ่งเน้นนั้นคือกระบอกบินขนาดยักษ์สายพันธุ์ใหม่ (Biswamoyopterus laoensis) โดยตัวที่ถูกค้นพบนั้นถูกเจอในตลาดค้าเนื้อสัตว์ภายในประเทศลาว ด้วยลักษณะเด่นซึ่งก็คือขนอันมีสีแดงและขาวอันเด่นชัด เจ้ากระรอกบินขนาดยักษ์ตัวดังกล่าวถือได้ว่าเป็นตัวแรกที่ถูกค้นพบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ขณะเดียวกันในกัมพูชา นกกระจิบสายพันธุ์ใหม่ได้ถูกค้นพบกลางกรุงพนมเปญ นกกระจิบกัมพูชา (Orthotomus chaktomuk) นั้นถูกค้นพบครั้งแรกในปี 2009 ระหว่างการตรวจค้นในช่วงแพร่ระบาดของไข้หวัดนก หลังการตรวจสอบโดยละเอียดทั้งจากขนนก เสียงร้อง และยีน ทำให้ O. chaktomuk หรือนกกระจิบกัมพูชาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสัตว์สายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการ
“การค้นพบสายพันธุ์ใหม่ๆเป็นการยืนยันและย้ำว่าแม่น้ำโขงเป็นหนึ่งในเขตพื้นที่ซึ่งอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งนึงของโลก ถ้าเราต้องการที่จะปกป้องสัตว์เหล่านี้ไม่ให้สูญพันธุ์และอยากมีความหวังที่จะมีการค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ในปีต่อๆไป เหล่ารัฐบาลต้องลงทุนและผลักดันโครงการอนุรักษ์และปลูกป่า” ดร.โธมัส เกรย์ (Dr.Thoman Gray) ผู้จัดการของโครงการ WWF สายพันธุ์แม่น้ำโขงกล่าว
ในเวียดนามค้างคาวซึ่งมีรูปร่างและลักษณะพิเศษถูกพบเห็นครั้งแรกในปี 2008 บนเกาะแคทบาของเวียดนาม แต่เป็นเวลาภายหลังต่อมาเมื่อทีมนักวิจัยสามารถจับเจ้าค้างคาวได้สำเร็จและค้นพบว่า มันคือสัตว์สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งไม่เคยถูกค้นพบ ค้างคาวหน้ายักษ์ Griffin’s leaf-nosed Bat (Hipposideros griffini) ซึ่งมีลักษณะเด่นคือจมูกขนาดใหญ่อันน่าเกลียดน่ากลัวซึ่งมันใช้ในการนำทางผ่านการสะท้อนของเสียง
อีกสายพันธุ์หนึ่งซึ่งถูกค้นพบในเวียดนามคือปลาขนาดเล็กซึ่งเกือบโปร่งใสจนมองทะลุและมีอวัยวะภายในซับซ้อน เจ้าปลา Phallostethus cuulong มีอวัยวะเพศอยู่ด้านหลังของปากทำให้มันผสมพันธุ์โดยใช้หัวสัมผัสกับหัว โดยตัวผู้จะใช้ ใช้ "priapium" หรืออวัยวะช่วยสืบพันธุ์เพื่อเกาะกับตัวเมีย
หนึ่งในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 21 สายพันธุ์ที่ถูกค้นพบในรายงานคือกบ Helen’s Flying Frog (Rhacophorus helenae) ซึ่งถูกค้นพบห่างออกไปไม่ถึง 100 กิโลเมตรจากเมืองโฮจิมินในเวียดนาม เจ้ากบสีเขียวขนาดใหญ่นี้หลบซ่อนตัวจากการค้นพบของนักชีววิทยามาได้ตลอดก่อนจะถูกค้นพบโดยอาศัยการร่อนตัวไปมาบนยอดไม้ โดยใช้พังผืดที่เป็นครีบบนมือและเท้า พวกมันจะลงมาจากยอดไม้เพื่อผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำเท่านั้น กบ Helen’s Flying Frog ถูกค้นพบภายในป่าซึ่งถูกล้อมไปด้วยพื้นที่การเกษตร ย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรีบเร่งเข้าไปอนุรักษ์รักษาพื้นที่ป่าลุ่มต่ำนี้เอาไว้
“ป่าเขตร้อนลุ่มต่ำเป็นหนึ่งในเขตพื้นที่ซึ่งถูกบุกรุกมากที่สุดในโลก ด้วยฝีมือของมนุษย์จากการตัดไม้หรือทำลายผืนดิน ในขณะที่กบ Helen’s Flying Frog พึ่งจะถูกค้นพบแต่พวกมันก็กำลังอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เช่นเดียวกับสายพันธุ์อื่นๆ” ดร.เกรย์กล่าวเพิ่ม
อีกหนึ่งสายพันธุ์ลอยฟ้าก็คือเจ้าตุ๊กแกบิน (Ptychozoon kaengkrachanense) ซึ่งถูกค้นพบในอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน เจ้าตุ๊กแกลายพรางนี้อาศัยการยืดผิวหนังด้านข้างของลำตัวและบนนิ้วเท้าเพื่อร่อนตัวไปมาตามกิ่งไม้
“อุทยานแห่งชาติแก่งกระจานเป็นหนึ่งในพื้นที่ซึ่งมีการเข้าสำรวจน้อยที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มันคือเขตป่าข้ามพรมแดนอันกว้างใหญ่ซึ่งมีพื้นที่ติดกับพม่า นี่เป็นพื้นที่หัวใจหลักสำคัญในการค้นคว้าหาสายพันธุ์ใหม่ของประเทศไทยและประเทศพม่า อีกทั้งมันยังเป็นบ้านของหนึ่งในประชากรเสือที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในโลก การค้นพบสัตว์สายพันธุ์ใหม่ที่นี่ยืนยันความสำคัญของการพยายามอนุรักษ์ผืนป่าอันยิ่งใหญ่แห่งนี้เอาไว้โดย WWF และผู้มีส่วนร่วม” ดร.เกรย์ กล่าว
ภายในถ้าในประเทศลาว ดร.ปีเตอร์ ฌาเกอร์ (Dr.Peter Jäger) ค้นพบแมงมุมนักล่าสายพันธุ์ใหม่ (Sinopoda scurion) เป็นแมงมุมนักล่าชนิดแรกในโลกที่ไม่มีดวงตา วิวัฒนาการดังกล่าวเกิดจากการที่มันอาศัยอยู่ภายในถ้ำซึ่งไร้แสงอาทิตย์และมืดมิด
รายงาน “แม่โขงอันลี้ลับ” มุ่งเน้นไปยังสัตว์สายพันธุ์ใหม่ 15 ชนิดที่พึ่งถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ จากพืช 290 ชนิด ปลา 24 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 21 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 3 ชนิดและนก 1 ชนิด ทั้งหมดถูกขึ้นทะเบียนและได้รับการยอมรับว่าเป็นสายพันธุ์ใหม่อย่างเป็นทางการในช่วงปี 2012-2013 จากแม่น้ำโขงพื้นที่นี้กินบริเวณอาณาเขตพาดผ่านทั้ง กัมพูชา ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และตะวันตกเฉียงใต้ของจีนในเขตมณฑลยูนนาน ตั้งแต่ปี 1997 สายพันธุ์ใหม่กว่า 2077 ชนิดได้ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ในเขตแม่น้ำโขง
***
ข้อมูลและภาพโดย WWF
หมายเหตุ
1.การระบุตัวตนของสายพันธ์ชนิดใหม่นั้นใช้เวลาไปกับการค้นคว้าและยืนยันชนิดพันธ์มากเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่านั่นเป็นสายพันธ์ใหม่จริงๆ
2.“แม่โขงอันลี้ลับ” เป็นรายงานลำดับที่ 6 ของรายงานสิ่งแวดล้อมและชนิดพันธุ์ในเขตลุ่มแม่น้ำโขง สามารถอ่านรายงานเล่มที่ผ่านมาได้ที่ http://wwf.panda.org/what_we_do/where_we_work/greatermekong/discovering_the_greater_mekong/species/new_species/