xs
xsm
sm
md
lg

แก้ปัญหาเส้นแสงดาวต่อไม่สนิท พิชิตด้วย Gap Filling

เผยแพร่:   โดย: ศุภฤกษ์ คฤหานนท์


​สำหรับคอลัมน์นี้ขอพักเรื่อง การถ่ายภาพทางช้างเผือกไว้ก่อนนะครับ เรากลับมาดูปัญหาหนึ่งของการต่อภาพเส้นแสงดาว (Startrails) ซึ่งเราจะมาแก้ไขปัญหาของการถ่ายภาพเส้นแสงดาว ที่อาจมีบางช่วงที่เส้นดาวขาดๆ ไปนิดๆ หน่อยๆ หากเรานำภาพไปขยายใหญ่ก็อาจจะเห็นว่าเส้นแสงดาวไม่ต่อกัน จนดูคล้ายเป็นเส้นประ แต่ปัญหานี้เราสามารถแก้ไขได้ง่ายๆ เพียงเลือกคำสั่ง Gap Filling ในโปรแกรม StarStax 0.60 ก็สามารถช่วยแก้ไขได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว มาลองดูวิธีกันครับ

หลังจาก Add ไฟล์ภาพและไฟล์ Dark แล้วไปที่คำสั่ง Blending Mode แล้วเลือกเมนู Gap Filling เพื่อให้แก้ไขในส่วนของภาพที่ขาดเป็นเส้นประ
ในเมนู Gap Filling สามารถปรับค่า Threshold และ Amount เพื่อแก้ไขภาพ
​และนอกจากโปรแกรม StarStax 0.60 แล้ว ยังมีโปรแกรม Startrails 2.3 ที่มีคำสั่ง Lighten Screen-Blend ในรูปแบบการทำงานที่คล้ายกันก็สามารถช่วยให้ภาพเส้นแสงดาวที่ขาดๆ เป็นเส้นประ กลับมาต่อกันได้สนิทยิ่งขึ้น โดยมีวิธีดังนี้
สำหรับโปรแกรม Startrails 2.3 สามารถเลือกที่คำสั่ง Lighten-Screen-Blend (LSB, without gaps, slower) ในการต่อภาพเส้นแสงดาวที่ขาดเป็นเส้นประ
​โดยหลักการง่ายๆ ของทั้ง 2 โปรแกรมนี้ก็คือ การขยายภาพจุดดาวให้ใหญ่ขึ้นเล็กน้อยเพื่อกลบในส่วนที่ไม่เชื่อมต่อกัน ซึ่งหากเราถ่ายภาพมาในช่วงเวลาที่ห่างกันมากๆ หลายๆ วินาที โปรแกรมก็ไม่อาจต่อให้เส้นแสงดาวต่อกันได้สนิท​ซึ่งจาก 2 โปรแกรมที่ได้กล่าวมานี้ ก็ถือเป็นตัวช่วยในการประมวลผลภาพถ่ายเส้นแสงดาวที่ทำให้เราได้ภาพที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญของภาพถ่ายดาราศาสตร์นั้น เราควรถ่ายภาพมาให้ดีที่สุดก่อนเสมอครับ
ภาพถ่ายเส้นแสงดาว โดยประมวลผลภาพด้วยโปรแกรม StarStax 0.60 และต่อภาพด้วยคำสั่ง Gap Filling (ภาพโดย : ศุภฤกษ์  คฤหานนท์ / Camera : Canon 5D Mark ll / Lens : Canon EF 16-35 mm. / Focal length : 16 mm. / Aperture : f/4 / ISO : 400 / Exposure : 60 sec x 104 Images)



เกี่ยวกับผู้เขียน

ศุภฤกษ์ คฤหานนท์

สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”

“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”

อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน







กำลังโหลดความคิดเห็น