xs
xsm
sm
md
lg

จำลองเดินพื้นผิวมหาสมุทรเก่าปูทางสำรวจดาวอังคาร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แมทธิว โกโมโรว์สกี (ซ้าย) และ โจเซฟ เจสซุป (ขวา) ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์วิทยุนอกที่พัก โดยมีภาพกล้องโทรทรรศน์เป็นแบ็กกราวนด์ด้านหลัง (สเปซด็อทคอม)
เปิดประสบการณ์ “มาร์วอล์ก” จำลองเดินบนพื้นผิวมหาสมุทรโบราณบนโลก ปูพื้นสู่การสำรวจจริงบนดาวอังคารในอนาคต

อลิซาเบธ โฮเวลล์ (Elizabeth Howell) เขียนบทความลงสเปซด็อทคอมถ่ายทอดประสบการณ์จำลอง “เดินดาวอังคาร” หรือ “มาร์วอล์ก” (Marswalk) บนพื้นผิวโลก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเตรียมพร้อมสู่การส่งมนุษย์ไปสำรวจดาวอังคาร

“เดินไปตามแนวฟอลไลน์ (fall line - หรือแนวบรรจบของตีนเขาและพื้นที่ราบ) งอเข่า ตั้งหลังตรง ทิ้งน้ำหนักลงเท้าหลัง ระลึกไว้ว่าอย่าหกล้มบนเนินเขาทั้งที่ยังอยู่ในชุดอวกาศ” โฮเวลล์ท่องจำระเบียบในการจำลองเดินดาวอังคาร 

ทั้งนี้ ปฏิบัติการของสถานีวิจัยทะเลทรายดาวอังคาร (Mars Desert Research Station: MDRS) ต้องการจำลองประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับการเดินบนพื้นผิวดาวอังคารมากที่สุด จึงต้องสวมชุดอวกาศระหว่างการซ้อมเดินดาวอังคาร ซึ่งโฮเวลล์ระบุว่า นั่นทำให้การปีนเขาบนชนทอันห่างไกลของรัฐยูทาห์ในสหรัฐฯ ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงอยู่แล้ว ยิ่งเพิ่มอันตรายขึ้นไปอีก 

ประสบการณ์จำลองเดินดาวอังคารของโฮเวลล์ผ่านไปด้วยความช่วยเหลือของสมาชิกลูกเรือรุ่นที่ 133 คือ กอร์ดอน การ์เทรลล์ (Gordon Gartrelle) แมทธิว โกโมโรว์สกี (Matthieu Komorowski) และ โจเซฟ เจสซุป (Joseph Jessup) โดยเป้าหมายในการเดินดาวอังคารจำลองนี้เพื่อค้นหาลักษณะทางธรณีที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย 2 โครงการ

พื้นที่เดินดาวอังคารของพวกเขาอยู่ใกล้ๆ สถานีวิจัยทะเลทราย MDRS ซึ่งอยู่ไกลจากซอลท์เลคซิตี (Salt Lake City) ออกไปทางใต้ 4 ชั่วโมง ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นมหาสมุทรเมื่อในอดีต หน้าผาจุดหนึ่งไม่ไกลจากที่พักนำไปสู่พื้นที่ราบที่เต็มไปด้วยฟอสซิลเปลือกหอย และภูเขาหลายๆ ลูกก็เผยให้เห็นการสร้างชั้นทรายผ่านกาลเวลา

ทางด้านเจสซุปซึ่งเป็นผู้ช่วยสำรวจของโกโมโรว์สกี พยายามหาตำแหน่งทางธรณีวิทยาที่ใกล้เคียงกับที่เขาเห็นผ่านภาพถ่ายทางอากาศ โดยเขามีโครงการทางธรณีวิทยาเกี่ยวกับการค้นหาข้อมูลการยกตัวของชั้นหิน และเข้าได้ชี้ให้เห็นว่าเนินเขาจำนวนมากในบริเวณดังกล่าวมีระดับความสูงเดียวกัน ซึ่งแสดงว่าที่ระดับความสูงดังกล่าวเคยเป็นก้นมหาสมุทรมาก่อน

ส่วนการ์เทรลล์นั้นมีโครงการค้นหาดินสีส้ม ซึ่งพบอยู่ดาษดื่นตามผาชัน เป็นแนวยาวเหมือนแม่น้ำที่ไหนผ่านขอบหน้าผา โดยสีส้มนั้นน่าจะเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงธาตุเหล็ก และธาตุเหล็กก็อาจเป็นเครื่องหมายของปล่องน้ำร้อนโบราณในบริเวณดังกล่าว

โฮเวลล์ระบุว่า เธอและลูกเรือของสถานีวิจัยใช้เวลาในการเดินดาวอังคาร 4 ชั่วโมงครึ่ง และได้เรียนรู้ว่าบัญชีรายงานเครื่องมือและขั้นตอนการทำงานเป็นสิ่งมีค่าเพียงใด เมื่อถุงตะปูควงหายไปซึ่งต้องใช้เวลาในการหาคืน นอกจากนี้พวกเขายังมีภารกิจในการติดตั้งโทรทรรศน์วิทยุตัวใหม่ที่อยู่นอกที่พักที่พวกเขาใช้เวลา 2 อาทิตย์ในการปฏิบัติการจำลองการสำรวจดาวอังคารระหว่างวันที่ 4-19 ม.ค. 2014 
แมทธิว โกโมโรว์สกี (ซ้าย) และ โจเซฟ เจสซุป (ขวา) ขณะเดินไปสู่พื้นที่สำรวจวิจัยทางธรณีวิทยา (สเปซด็อทคอม)
กอร์ดอน การ์เทรลล์ ระหว่างการเดินดาวอังคาร ในพื้นผิวมหาสมุทรเก่าใกล้สถานีวิจัยทะเลทรายดาวอังคาร (สเปซด็อทคอม)






กำลังโหลดความคิดเห็น