xs
xsm
sm
md
lg

ไวรัสจากม้าอาจเป็นตัวการฆ่า “หมีคนุต”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คนุต และ โธมัส ดอรืไฟล์น ผู้ดูแลหมีขาวแทนแม่ที่ปฏิเสธการเลี้ยงดู
“หมีคนุต” สัญลักษณ์ประจำสวนสัตว์ในเยอรมนี และเป็นขวัญใจมหาชน ตายกะทันหันต่อหน้านักท่องเที่ยวไปเมื่อ 3 ปีที่แล้ว แม้ว่าผลชันสูตรภายหลังจะเผยถึงความผิดปกติของสมองหมี แต่ก็ไม่มีความผิดปกติในอวัยวะอื่น ขณะที่ผู้ดูแลก็ไม่พบอาการผิดปกติของหมีขาวที่มีชื่อเสียงตัวนี้ และยืนยันว่าหมีไม่มีความเครียดหรือได้รับความสะเทือนใจใดๆ

หมีคนุต (Knut) เป็นหมีขาว ที่เกิดในสวนสัตว์เบอร์ลิน (Berlin Zoo) เยอรมนี เมื่อ 5 ธ.ค.2006 และมีชื่อเสียงโด่งดังข้ามคืนหลังจากถูกแม่ปฏิเสธการเลี้ยงดู แล้วได้รับการดูแลโดย โธมัส ดอร์ไฟล์น (Thomas Dorflein) ผู้ดูแลสัตว์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี 2008 จากอาการหัวใจล้มเหลว

ทว่าคนุตก็ตายตามผู้ดูแลไปเมื่อ 19 มี.ค.2011 ขณะมีอายุได้เพียง 4 ปี โดยจากไปต่อหน้านักท่องเที่ยวที่มาเยือนสวนสัตว์หลายร้อยคน ซึ่งไลฟ์ไซน์อ้างข้อสังเกตของผู้เชี่ยวชาญจากสวนสัตว์ซานดิเอโก (San Diego Zoo) ในสหรัฐฯ ว่าการตายตั้งแต่วัยเยาว์นั้นไม่ใช่เรื่องปกติ เพราะโดยทั่วไปหมีขาวตัวผู้จะมีชีวิตอยู่ในสวนสัตว์โดยเฉลี่ย 30 ปีปลายๆ ส่วนที่อยู่ในธรรมชาติจะมีชีวิตอยู่ระหว่าง 15-18 ปี
 
ไฮเนอร์ คลอส (Heiner Klös) ภัณฑรักษ์ด้านหมีและนักชีววิทยาประจำสวนสัตว์เบอร์ลิน เผยเมื่อครั้งคนุตตายว่าเขาไม่เห็นสิ่งใดผิดปกติ และอยู่ในเหตุการณ์ก่อนหมีตายอยู่ 1 ชั่วโมง และเห็นคนุตซึ่งจำเขาได้และแสดงพฤติกรรมอย่างปกติ

ผลจากการชันสูตรเพิ่งต้นพบว่าการตายของคนุตเกิดจากสมองทำงานผิดปกติ แม้จะไม่พบร่องรอยผิดปกติในอวัยวะต่างๆ ของหมี ซึ่งผู้ดูแลบอกทางไลฟ์ไซน์เมื่อ 3 ปีที่แล้วว่า พวกเขามั่นใจว่า หมีไม่มีความเครียด ไม่มีอาการหัวใจวาย หรืออาหารใจสลาย ที่จะเป็นเหตุให้หมีตาย  

ล่าสุดมีการตรวจสาเหตุการตายที่ละเอียดขึ้น รวมถึงการตรวจลำดับยีนของคนุตเพื่อดูว่าตรงกับตรงกับเชื้อโรคที่รู้จักหรือไม่ ซึ่งนักวิจัยพบว่าไวรัสก่อโรคสมองอักเสบน่าจะเป็นตัวการที่ทำให้หมีขาวตาย โดย คลอเดีย เซนติกส์ (Claudia Szentiks) จากสถาบันไลบ์นิซเพื่อวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่าเบอร์ลิน (Leibniz Institute for Zoo and Wildlife Research Berlin: IZW) เยอรมนี หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่าเพราะอาการชักก่อนตายของคนุต ทำให้พวกเขาคาดว่าน่าจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นที่ประสาทส่วนกลาง

“แต่เพราะไม่มีสัญญาณของโรคมาก่อน จึงไม่มีการตรวจสุขภาพ และจึงไม่มีใครจะรู้แน่ชัดก่อนการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อว่าการติดเชื้อ”  เซนติกส์กล่าว

ทั้งนี้ การอักเสบของสมองนั้นมีสาเหตุได้จากเชื้อโรคหลายชนิด ตัวอย่างเช่น เชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ก่อโรคระบบประสาทในม้า (equine herpesviruses) ที่เป็นสาเหตุการตายของหมีขาวเพศเมียที่สวนสัตว์วุปเปอร์ทัล (Wuppertal Zoo) ในเยอรมนี เมื่อปี 2010 ก็เป็นสาเหตุของสมองอักเสบ ซึ่งไลฟ์ไซน์ระบุด้วยว่า ลาร์ส (Lars) พ่อของคนุตก็เคยรอดตายจากการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว    

อย่างไรก็ดี ทีมวิจัยไม่พบหลักฐานของเชื้อไวรัสเฮอร์ปี แม้ว่าพวกเขาจะเจอแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ A ในเลือดของคนุต และบ่งบอกว่าคนุตนั้นได้รับเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แต่พวกเขากล่าวว่านั่นไม่น่าจะใช่สาเหตุการตายของหมี เพราะไม่พบไวรัสไข้หวัดใหญ่นี้ในสมองของคนุต  
 
เซนติกส์กล่าวว่ามี 2 ทางที่เป็นไปได้ในการติดเชื้อทางสมองของคนุต นั่นคือคนุตอาจจะป่วยจากการติดเชื้อและเชื้อโรคก็ถูกกำจัดไป หรือไวรัสอาจจะเป็นกลุ่มใหม่ที่เรายังไม่รู้จัก และหากเป็นเช่นนั้นแสดงว่ายังไม่มีลำดับพันธุกรรมของไวรัสในสายดังกล่าว ซึ่งเราจำเป็นต้องจำแนกออกมาให้ได้ และความรู้ที่ได้นี้ก็จะนำไปสู่การตรวจหมีตัวอื่นๆ

“การศึกษาคนุตและญาติๆ เผยให้เห็นว่า ไวรัสเฮอร์ปีส์ที่ก่อโรคในม้าจากม้าลายนั้น หรือสัตว์อื่นที่อยู่ใกล้เคียงนั้นเป็นปัญหาใหญ่สวนสัตว์” อเล็กซ์ กรีนวูด (Alex Greenwood) หัวหน้าแผนกโรคสัตว์ป่าจากสถาบันไลบ์นิซเพื่อวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่าเบอร์ลินกล่าว โดยเขาและคณะเพิ่งตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายถึงโรคสมองอักเสบในหมีขั้วโลกและแรดเอเชียที่มีการติดเชื้อถึงตาย    

ทางด้าน เฮริเบิร์ต โฮเฟอร์ (Heribert Hofer) ผู้อำนวยการสถาบันไลซ์นิซเพื่อวิจัยสวนสัตว์และสัตว์ป่าเบอร์ลิน กล่าวว่า ความรู้ใหม่เกี่ยวกับการก่อโรคในหมีขั้วโลกนั้น ทำให้สวนสัตว์เริ่มยุทธศาสตร์การจัดการที่นำไปสู่การลดการเกิดโรคได้

สำหรับงานวิจัยศึกษาโรคในหมีขาวนี้นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันไลบ์นิซยังมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยฟรีเบอร์ลิน (Freie Universität Berlin) สถาบันเฟรดริชลอฟเฟอร์-อินเซลเรมส์ (Friedrich Loeffler Institute - Insel Riems) ศูนย์การแพทย์โมเลกุลมักซ์เดลบรัค (Max Delbrück Center for Molecular Medicine) ในเบอร์ลิน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียในซานฟรานซิสโก (University of California at San Francisco) และอีกหลายสถาบัน  
อดีตดาวเด่นประจำสวนสัตว์เบอร์ลิน
คนุตที่น่าเอ็นดูในวัยเด็ก
คนุตเมื่อเริ่มกลายเ็ป็นหนุ่ม







กำลังโหลดความคิดเห็น