ปนป.- นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า ร่วมใจระดมทุนขอซื้อคืนอวน ช่วยโลมาทะเลสาบพัทลุง-สงขลา เปลี่ยนอวนให้ชาวประมงเพื่อการประมงที่ยั่งยืนและไม่ทำร้ายโลมาอิรวดี
นายสมชาย มั่นอนันต์ทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กล่าวว่า จากประเด็นที่โลมาอิรวดีในทะเลสาบพัทลุง-สงขลา ซึ่งมีสภาพเป็นน้ำจืด มักติดเครื่องมืออวนลอยปลาบึกของชาวประมง ทำให้มีความเป็นห่วงว่าโลมาอิรวดีที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เพียง 1 ใน 5 แห่งของโลก กำลังประสบปัญหาลดจำนวนลง จนใกล้สูญพันธุ์ไปจากทะเลสาบแล้ว
สาเหตุเนื่องจากในช่วงปี พ.ศ.2545-2546ได้มีการทดลองให้มีการขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ คือปลาบึกแม่โขง โดยได้ถูกนำมาปล่อยในทะเลสาบพัทลุง-สงขลา ทำให้ชาวประมงบางกลุ่มมีการพัฒนาเครื่องมืออวนลอยจับปลาบึก ทำให้โลมาอิรวดีถูกจับไปด้วยโดยมิได้ตั้งใจ และแม้ว่าปัจจุบัน ปริมาณปลาบึกเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากมีการระงับโครงการปล่อยพันธุ์ปลาบึกลงสู่ทะเลสาบตั้งแต่ ปีพ.ศ.2549
ทว่ายังมีชาวประมง จำนวน 25 ราย ใช้เครื่องมือประมงประเภทนี้ควบคู่กับเครื่องมือประมงประเภทอื่น โดยวางอวนลอยดักจับปลาไว้ค้างคืน นานขึ้นกว่าเดิม ทำให้โลมาอิรวดีมีโอกาสติดอวนได้เพิ่มขึ้น จากปัญหาการคุกคามโลมาอิรวดีโดยเครื่องมือประมง ทำให้นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า จัดทำกิจกรรมซื้อคืนอวนที่เป็นอันตรายต่อโลมาอิรวดีในทะเลสาบพัทลุง-สงขลา เพื่อให้ชาวประมงปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เป็นอันตรายต่อโลมาอิรวดี
ภายหลังการดำเนินการซื้อคืนอวนดังกล่าวแล้ว สมควรเสนอให้เครื่องมือประมงประเภทนี้ เป็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมายและห้ามใช้ในทะเลสาบ โดยผลักดันให้จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ออกประกาศห้ามการใช้เครื่องมือประเภทนี้ ตามพระราชบัญญัติการประมง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการติดเครื่องมือประมงของโลมาอิรวดีอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังต้องจัดทำกิจกรรมสร้างเครือข่ายอนุรักษ์โลมาอิรวดีโดยชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้เห็นความสำคัญของโลมาและเสริมสร้างความตระหนักในการช่วยกันดูแลและอนุรักษ์โลมาอิรวดีให้คงอยู่คู่ทะเลสาบตลอดไป ลดภาพ โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาติดอวนปลาบึกและจมน้ำตาย
นายสมชาย ระบุว่า ทะเลสาบสงขลามีขนาด 370,000 กว่าไร่ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่าง จ.พัทลุงและ จ.สงขลา แต่ละปีโลมาอิรวดีเสียชีวิตเป็นจำนวน มากจนเกิดภาวะวิกฤต เนื่องจากติดอวนที่ชาวประมง นำไปวางจับปลาบึก ปลาสวาย จนเสียชีวิตลงไปเรื่อยๆ เฉลี่ยประมาณปีละ 8 ตัว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2556 โลมาอิรวดี ได้ติดอวนชาวประมงเสียชีวิตไปแล้ว 5 ตัว ทำให้ฝูงโลมาอิรวดีดังกล่าว คงเหลืออยู่ประมาณ 15-20 ตัวเท่านั้น
พื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลายังเป็นพื้นที่ชุมนุมอาศัยของสัตว์น้ำที่อุดม สมบูรณ์ ปลาขี้ตัง ปลากด ปลาสวาย ปลาบึก เป็นที่ต้องการตลาดมาก ปลาขี้ตังราคาถึง 300 บาท/กก. ปลาบึก 100 บาทต่อกิโลกรัม ปลาบึกโดยเฉลี่ยแต่ละตัวประมาณ 30 กิโลกรัม ตกตัวละ 3,000 บาท จึงเป็นมูลเหตุที่ดึงดูด โดยเฉพาะกลุ่มประมงปลาบึกมีประมาณ 25 ราย มีเครื่องมือหาปลาถึง 300 หัว ความยาว 80 กิโลเมตร
น.พ. ม.ล.ทยา กิติยากร ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.) รุ่นที่ 2 กล่าวว่า นักศึกษา ปนป.2 ได้เห็นเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดโครงการ "ทำดี ทำได้ ทำเลย- Save the Irrawaddy Dolphin" ขึ้นเพื่อระดมทุนในการร่วมอนุรักษ์โลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลา โดยได้จัดขาย wristband ราคาอันละ 300 บาท รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปซื้ออวนคืนจากชาวประมงที่ใช้อวนลอยปลาบึกในบริเวณทะเลสาบสงขลาฟากพัทลุง โดยร่วมมือและประสานกับสมาคมอนุรักษ์โลมาอิรวดีและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
“เป้าหมายของกิจกรรมของเราคือการหาเงินมาซื้ออวนตาใหญ่คืน อวนที่เหลือทั้งหมดได้คำนวณมาแล้วเป็นจำนวนเงิน 950,000 บาท ส่วนหนึ่งทางราชการที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดจะช่วยกันหา และส่วนทาง ปนป.ก็หาเงินมาสมทบ พยายามให้ครบถึง 950,000 บาท”
ตัวแทนปนป.2 ระบุว่า ใน 12 ต.ค.56 เป็นวันที่ทางจังหวัดจัดให้มีการทอดผ้าเพื่อรวบรวมเงินไถ่ชีวิตโลมาโดยการซื้ออวนจากชาวประมง กลุ่ม ปนป.2 ก็จะเดินทางไปร่วมงานที่ หาดแสนสุขลำปำ อ.เมืองพัทลุง เวลา 17.00 น. เพื่อนำเงินที่เรารวบรวมได้ไปซื้ออวนจากประมง โดยกิจกรรมการคืนอวนนี้ได้นำไปใช้กับชาวประมงที่สงขลาเป็นที่สำเร็จดีแล้วเมื่อปีก่อน และด้วยการตกลงกันจึงไม่มีการย้อนกลับมาใช้อวนดังกล่าวอีก
นอกจากนั้นทางกรมทรัพยากรฯและกรมประมงยังวางแผนกันว่าจะทำการประชาพิจารณ์ออกกฎห้ามใช้อวนดังกล่าวในอนาคตในทะเลสาบ การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งจะส่งผลให้ฝูงโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา รอดจากการเสียชีวิตจากการติดอวนชาวประมง และมีโอกาสเพิ่มจำนวนมากขึ้น
“ส่วนในระยะยาว เมื่อชีวิตโลมามีความปลอดภัยมากขึ้น คงต้องมีการแก้ไขประเด็นอื่นๆ เช่นน้ำเสีย เพิ่มความสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยให้มีสัตว์น้ำอื่นๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นตามมา นอกจากนั้นอาจมีการพัฒนาให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต ที่จะเพิ่มรายได้ให้คนทั้ง 2 จังหวัด และช่วยธุรกิจการท่องเที่ยวให้เจริญก้าวไกลขึ้น”น.พ. ม.ล.ทยา กล่าว
ด้าน น.ส.พิชชารัตน์ ทองประพาฬ ตัวแทนนักศึกษา ปนป. 2 กล่าวว่า สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถร่วมบริจาคเพื่อช่วยโลมาอิรวดี และซื้ออวนปลาบึกจากชาวประมง ที่บัญชีกสิกรไทย “ปนป 2 เพื่อโลมาอิรวดี 061-2-69259-9” หรือบัญชีทอดผ้าป่าของจังหวัดพัทลุง ธนาคารกรุงไทย “กองทุนอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบพัทลุง-สงขลา 981-8-40956-6”
นายสมชาย มั่นอนันต์ทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กล่าวว่า จากประเด็นที่โลมาอิรวดีในทะเลสาบพัทลุง-สงขลา ซึ่งมีสภาพเป็นน้ำจืด มักติดเครื่องมืออวนลอยปลาบึกของชาวประมง ทำให้มีความเป็นห่วงว่าโลมาอิรวดีที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด เพียง 1 ใน 5 แห่งของโลก กำลังประสบปัญหาลดจำนวนลง จนใกล้สูญพันธุ์ไปจากทะเลสาบแล้ว
สาเหตุเนื่องจากในช่วงปี พ.ศ.2545-2546ได้มีการทดลองให้มีการขยายพันธุ์ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ คือปลาบึกแม่โขง โดยได้ถูกนำมาปล่อยในทะเลสาบพัทลุง-สงขลา ทำให้ชาวประมงบางกลุ่มมีการพัฒนาเครื่องมืออวนลอยจับปลาบึก ทำให้โลมาอิรวดีถูกจับไปด้วยโดยมิได้ตั้งใจ และแม้ว่าปัจจุบัน ปริมาณปลาบึกเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากมีการระงับโครงการปล่อยพันธุ์ปลาบึกลงสู่ทะเลสาบตั้งแต่ ปีพ.ศ.2549
ทว่ายังมีชาวประมง จำนวน 25 ราย ใช้เครื่องมือประมงประเภทนี้ควบคู่กับเครื่องมือประมงประเภทอื่น โดยวางอวนลอยดักจับปลาไว้ค้างคืน นานขึ้นกว่าเดิม ทำให้โลมาอิรวดีมีโอกาสติดอวนได้เพิ่มขึ้น จากปัญหาการคุกคามโลมาอิรวดีโดยเครื่องมือประมง ทำให้นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า จัดทำกิจกรรมซื้อคืนอวนที่เป็นอันตรายต่อโลมาอิรวดีในทะเลสาบพัทลุง-สงขลา เพื่อให้ชาวประมงปรับเปลี่ยนการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เป็นอันตรายต่อโลมาอิรวดี
ภายหลังการดำเนินการซื้อคืนอวนดังกล่าวแล้ว สมควรเสนอให้เครื่องมือประมงประเภทนี้ เป็นเครื่องมือที่ผิดกฎหมายและห้ามใช้ในทะเลสาบ โดยผลักดันให้จังหวัดพัทลุง และจังหวัดสงขลา ออกประกาศห้ามการใช้เครื่องมือประเภทนี้ ตามพระราชบัญญัติการประมง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการติดเครื่องมือประมงของโลมาอิรวดีอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ยังต้องจัดทำกิจกรรมสร้างเครือข่ายอนุรักษ์โลมาอิรวดีโดยชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้เห็นความสำคัญของโลมาและเสริมสร้างความตระหนักในการช่วยกันดูแลและอนุรักษ์โลมาอิรวดีให้คงอยู่คู่ทะเลสาบตลอดไป ลดภาพ โลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลาติดอวนปลาบึกและจมน้ำตาย
นายสมชาย ระบุว่า ทะเลสาบสงขลามีขนาด 370,000 กว่าไร่ ครอบคลุมพื้นที่ระหว่าง จ.พัทลุงและ จ.สงขลา แต่ละปีโลมาอิรวดีเสียชีวิตเป็นจำนวน มากจนเกิดภาวะวิกฤต เนื่องจากติดอวนที่ชาวประมง นำไปวางจับปลาบึก ปลาสวาย จนเสียชีวิตลงไปเรื่อยๆ เฉลี่ยประมาณปีละ 8 ตัว โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2556 โลมาอิรวดี ได้ติดอวนชาวประมงเสียชีวิตไปแล้ว 5 ตัว ทำให้ฝูงโลมาอิรวดีดังกล่าว คงเหลืออยู่ประมาณ 15-20 ตัวเท่านั้น
พื้นที่บริเวณทะเลสาบสงขลายังเป็นพื้นที่ชุมนุมอาศัยของสัตว์น้ำที่อุดม สมบูรณ์ ปลาขี้ตัง ปลากด ปลาสวาย ปลาบึก เป็นที่ต้องการตลาดมาก ปลาขี้ตังราคาถึง 300 บาท/กก. ปลาบึก 100 บาทต่อกิโลกรัม ปลาบึกโดยเฉลี่ยแต่ละตัวประมาณ 30 กิโลกรัม ตกตัวละ 3,000 บาท จึงเป็นมูลเหตุที่ดึงดูด โดยเฉพาะกลุ่มประมงปลาบึกมีประมาณ 25 ราย มีเครื่องมือหาปลาถึง 300 หัว ความยาว 80 กิโลเมตร
น.พ. ม.ล.ทยา กิติยากร ตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำยุคใหม่ในระบอบประชาธิปไตย (ปนป.) รุ่นที่ 2 กล่าวว่า นักศึกษา ปนป.2 ได้เห็นเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดโครงการ "ทำดี ทำได้ ทำเลย- Save the Irrawaddy Dolphin" ขึ้นเพื่อระดมทุนในการร่วมอนุรักษ์โลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลา โดยได้จัดขาย wristband ราคาอันละ 300 บาท รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะนำไปซื้ออวนคืนจากชาวประมงที่ใช้อวนลอยปลาบึกในบริเวณทะเลสาบสงขลาฟากพัทลุง โดยร่วมมือและประสานกับสมาคมอนุรักษ์โลมาอิรวดีและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
“เป้าหมายของกิจกรรมของเราคือการหาเงินมาซื้ออวนตาใหญ่คืน อวนที่เหลือทั้งหมดได้คำนวณมาแล้วเป็นจำนวนเงิน 950,000 บาท ส่วนหนึ่งทางราชการที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดจะช่วยกันหา และส่วนทาง ปนป.ก็หาเงินมาสมทบ พยายามให้ครบถึง 950,000 บาท”
ตัวแทนปนป.2 ระบุว่า ใน 12 ต.ค.56 เป็นวันที่ทางจังหวัดจัดให้มีการทอดผ้าเพื่อรวบรวมเงินไถ่ชีวิตโลมาโดยการซื้ออวนจากชาวประมง กลุ่ม ปนป.2 ก็จะเดินทางไปร่วมงานที่ หาดแสนสุขลำปำ อ.เมืองพัทลุง เวลา 17.00 น. เพื่อนำเงินที่เรารวบรวมได้ไปซื้ออวนจากประมง โดยกิจกรรมการคืนอวนนี้ได้นำไปใช้กับชาวประมงที่สงขลาเป็นที่สำเร็จดีแล้วเมื่อปีก่อน และด้วยการตกลงกันจึงไม่มีการย้อนกลับมาใช้อวนดังกล่าวอีก
นอกจากนั้นทางกรมทรัพยากรฯและกรมประมงยังวางแผนกันว่าจะทำการประชาพิจารณ์ออกกฎห้ามใช้อวนดังกล่าวในอนาคตในทะเลสาบ การแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้น ซึ่งจะส่งผลให้ฝูงโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา รอดจากการเสียชีวิตจากการติดอวนชาวประมง และมีโอกาสเพิ่มจำนวนมากขึ้น
“ส่วนในระยะยาว เมื่อชีวิตโลมามีความปลอดภัยมากขึ้น คงต้องมีการแก้ไขประเด็นอื่นๆ เช่นน้ำเสีย เพิ่มความสมบูรณ์ให้ระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยให้มีสัตว์น้ำอื่นๆ เพิ่มขึ้น ทำให้ประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นตามมา นอกจากนั้นอาจมีการพัฒนาให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในอนาคต ที่จะเพิ่มรายได้ให้คนทั้ง 2 จังหวัด และช่วยธุรกิจการท่องเที่ยวให้เจริญก้าวไกลขึ้น”น.พ. ม.ล.ทยา กล่าว
ด้าน น.ส.พิชชารัตน์ ทองประพาฬ ตัวแทนนักศึกษา ปนป. 2 กล่าวว่า สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถร่วมบริจาคเพื่อช่วยโลมาอิรวดี และซื้ออวนปลาบึกจากชาวประมง ที่บัญชีกสิกรไทย “ปนป 2 เพื่อโลมาอิรวดี 061-2-69259-9” หรือบัญชีทอดผ้าป่าของจังหวัดพัทลุง ธนาคารกรุงไทย “กองทุนอนุรักษ์โลมาอิรวดีทะเลสาบพัทลุง-สงขลา 981-8-40956-6”