xs
xsm
sm
md
lg

8 เหตุผลคนอนุรักษ์ไม่เอา EHIA “เขื่อนแม่วงก์”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพส่วนหนึ่งของกิจกรรมต่อต้าน EHIA เขื่อนแม่วงก์
ใน “วันคาร์ฟรีเดย์” นอกจากปั่นจักรยานแล้วประชาชนนับพันได้ออกมาร่วมแสดงพลังกับมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ในการคัดค้านอีเอชไอเอ “เขื่อนแม่วงก์” ซึ่งหลายคนอาจยังไม่ทราบเหตุผลของการออกมาคัดค้านในครั้งนี้

องค์กรเครือข่ายอนุรักษ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้แถลงคัดค้านคัดค้านการอนุมัติรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทาง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ (EHIA) โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อวันที่ 9 ก.ย.56 ณ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดังนี้

“1. รายงานฉบับนี้ไม่ได้ให้ความจริงใจในการศึกษาทางเลือกในการพัฒนาแหล่งน้ำโดย วิธีอื่นๆ โดยใช้วิธีคำนวณเทคนิคทางเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อมให้ไม่คุ้มค่าในการเลือกทาง เลือกอื่นๆ หรือ เทคนิคกำหนดตัวแปรที่เบี่ยงเบนน้ำหนักของการเลือกที่ตั้ง ให้มาก่อสร้างในป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์

2. รายงานฉบับนี้ละเลยข้อมูลความสำคัญของพื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ที่ต่อเนื่องกับพื้นที่มรดกโลกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ที่เป็นป่าใหญ่อุดมสมบูรณ์ไม่มีการรบกวนระบบนิเวศสัตว์ป่าโดยที่ตั้งของ ชุมชน ดังมีรายงานข้อมูลสำรวจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการกระจายตัวของเสือโคร่ง ทั้งจากรายงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า(WCS) ประเทศไทยและกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล(WWF)ประเทศไทย

3. รายงานฉบับนี้ได้ระบุข้อมูลผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อนว่า ในพื้นที่ชลประทานทั้งหมด 291,900 ไร่ จะเป็นพื้นที่ชลประทานในฤดูฝนถึง 175,355 ไร่ จึงได้พื้นที่ชลประทานฤดูแล้งเพียง 116,545 ไร่ ดังนั้นพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จึงน้อยกว่าสิ่งที่ชาวบ้านเข้าใจว่าน้ำจะไป ทั่งถึงทั้ง 23 ตำบลที่ได้ระบุในรายงาน หากพิจารณาเหตุผลที่ต้องสูญเสียพื้นที่ป่า และงบประมาณในการก่อสร้าง

4. รายงานฉบับนี้ระบุชัดเจนว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาน้ำที่ท่วมในพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมได้ทั้งหมด และยังไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลน้ำที่ไหลบ่าจากพื้นที่เกษตรกรรมที่เปลี่ยนแปลง จากป่าไม้ในพื้นที่นอกอุทยาน ซึ่งคาดว่าจะมีน้ำมากถึง 70-80% ที่ไหลลงมายังที่ราบอำเภอลาดยาว ดังนั้นถึงสร้างเขื่อนแม่วงก์ก็สามารถบรรเทาอุทกภัยได้ไม่มากนักในพื้นที่ โครงการ โดยไม่ต้องสงสัยว่าโครงการเขื่อนแม่วงก์จะมีผลต่อการบรรเทาน้ำท่วมในลุ่มน้ำ เจ้าพระยาตามงบประมาณสร้างเขื่อนตามโมดูล A1 ที่มากับโครงการเงินกู้จัดการน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลได้เพียงไม่ถึง 1 % ของน้ำท่วมใหญ่ปี 2554

5. ในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่มีมาตรการที่แน่ใจได้เลยว่าจะได้ผล ได้แก่ การปลูกป่าทดแทนที่ไม่มีการระบุพื้นที่ปลูกป่าว่าอยู่ในบริเวณใด มีแต่การคำนวณว่าจะได้ไม้และผลประโยชน์มากกว่าที่จะตัดไป ทั้งที่ความจริงแล้วพื้นที่นอกอุทยานแห่งชาติแม่วงก์เกือบจะมีแต่พื้นที่ เกษตรกรรมของชาวบ้านมิได้มีพื้นที่ใดสามารถปลูกป่าได้ถึง  36,000 ไร่ ตามที่ระบุได้ หรือมาตรการลดผลกระทบจากการล่าสัตว์ ตัดไม้เกินพื้นที่ ในระหว่างการก่อสร้างก็เป็นเพียงมาตรการทั่วๆไปให้เจ้าหน้าที่ดูแลเคร่งครัด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วในขณะก่อสร้างจะไม่สามารถควบคุมการล่าสัตว์ที่จะไป ถึงพื้นที่อื่นๆ รวมถึงห้วยขาแข้ง ได้

6. ในการพิจารณารายงานของคณะกรรมการผู้ชำนาญการในการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อปลายปี 2555 มีมติให้แก้ไขรายงาน และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมหลายประเด็น โดยเฉพาะการศึกษาเรื่องระบบนิเวศของสัตว์ป่า ซึ่งโดยหลักการแล้วต้องใช้เวลาในการศึกษาพอสมควร เป็นไปไม่ได้ที่จะศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ผลกระทบเพิ่มเติมแล้วเสร็จได้ภาย ในกรอบระยะเวลา 1 ปี

7. พื้นที่ชลประทานเขื่อนแม่วงก์ เป็นพื้นที่ทับซ้อนกับคลองผันน้ำในโมดูล A5 ซึ่งจะทำให้สภาพแวดล้อมและการจัดการน้ำที่ศึกษาไว้ทั้งหมดเปลี่ยนแปลงไปจาก โครงการชลประทานเขื่อนแม่วงก์

8. ในการพิจารณารายงานฉบับนี้ รัฐบาลปรับเปลี่ยนบุคลากรของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม (สผ.) และคณะกรรมการผู้ชำนาญการอย่างน่าสงสัย ตั้งแต่ต้นปี 2556 ได้แก่การโยกย้ายตำแหน่งของเลขาธิการอย่าง ดร.วิจารณ์ สิมะฉายา ซึ่งมีชื่อเสียงการยอมรับในการทำงานวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี มาเป็นนายสันติ บุญประคับ ซึ่งมีภูมิหลังทำงานด้านพัฒนาจากสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และปรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการผู้ชำนาญการรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวด ล้อมและสุขภาพ ด้านพัฒนาแหล่งน้ำ จาก ดร.สันทัด สมชีวิตา ผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียงในการทำงานด้านวิทยาศาสตร์และสิ่ง แวดล้อม มาเป็นข้าราชการประจำอย่างตัวเลขาธิการ สผ.เอง คือ นายสันติ บุญประคับ ซึ่งอาจจะสงสัยได้ว่าต้องเร่งรัดทำงานตามนโยบายที่ได้รับมาจากโครงการจัดการ น้ำ 3.5 แสนล้านเนื่องจากในขณะนั้น รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลงานด้านสิ่งแวดล้อมนี้คือ ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี  ผู้รับผิดชอบโครงการจัดการน้ำเช่นกัน

นอกจากนี้ยังทราบว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงบุคคลในคณะกรรมการผู้ชำนาญการที่มี ความเห็นทางวิชาการต่อความบกพร่องของรายงาน อาทิ ดร.อุทิศ กุฏอินทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบนิเวศป่าไม้ นายสมศักดิ์ โพธิ์สัตย์ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านธรณีวิทยา รวมถึงการปรับโครงสร้างองค์ประกอบให้ไม่มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิ่ง แวดล้อม และผู้แทนประจำของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ดังนั้น การเร่งรัดผ่านรายงานโครงการ เขื่อนแม่วงก์ในครั้งนี้จึงมีความผิดปกติอย่างยิ่งต่อมาตรฐานทางวิชาการการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจึงขอยื่นแถลงการณ์ฉบับนี้ต่อคณะกรรมการผู้ ชำนาญการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ด้านพัฒนาแหล่งน้ำและเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม วันที่ 9 กันยายน 2556 ณ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม”

สำหรับองค์กรเครือข่ายอนุรักษ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร ,มูลนิธิโลกสีเขียว ,สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า(WCS)ประเทศไทย, สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน , มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ , กลุ่ม กคอทส. ,คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมภาคเหนือตอนล่าง ,มูลนิธิสถาบันปฏิปัน ,เครือข่ายป่าชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ , เครือข่ายชุมชนคนรักษ์ป่าเขาแม่กระทู้ ,กลุ่มใบไม้ ,กลุ่มอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและสิ่งแวดล้อม ,ศูนย์ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย Thaiflood.com, กลุ่มเสรีนนทรี, กลุ่ม Big Tree,กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล(WWF)ประเทศไทย,สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย, มูลนิธิคณะกรรมการอนุรักษ์ผืนป่าตะวันตก,มูลนิธิกลุ่มศิลปินรักผืนป่าตะวันตก,กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมพยุหะ, มูลนิธิเครือข่ายอนุรักษ์ป่าตะวันตก, มูลนิธิสืบศักดิ์สินแผ่นดินสี่แคว, เครือข่ายป่าชุมชนขอบป่าตะวันตก จ.กำแพงเพชร, มูลนิธิบัณฑิตอาสาสมัคร,มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ, เครือข่ายเยาวชนต้นกล้าน้อย, กลุ่มรักษ์ป่า และ กลุ่มแนวร่วมนิสิต นักศึกษา รักธรรมชาติ(นนรธ.)

**
ข้อมูลจากเว็บไซต์มูลนิธิสืบนาคะเสถียร







กำลังโหลดความคิดเห็น