นครราชสีมา/นครสวรรค์ - ภาคีราชภัฏโคราช ลุกฮือต้าน "เขื่อนแม่วงก์"ผลาญงบฯ 1.3 หมื่นล้าน รณรงค์ปลุกพลังบริสุทธิ์คัดค้าน ชี้ทำลายทั้งระบบ จี้ รบ.นักการเมืองหยุดชำเราป่าหยุดหากินกับเขื่อน WWF แชร์ภาพดักถ่ายโชว์ความหลากหลายสัตว์ป่าต้าน ด้าน"ปลอดประสพ"บินตรงเข้าลาดยาวรับปากดันเต็มที่ "สบอช."เชิญ "ศศิน-ชาวบ้าน" ร่วมถก
วานนี้ (26 ก.ย.) ที่บริเวณหน้าอาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มภาคีคณาจารย์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ประมาณ 120 คน นำโดย ผศ.ดร.สามารถ จับโจร อาจารย์ประจำมหาวิทยาราชภัฎนครราชสีมา ได้รวมตัวกันชุมนุมแสดงพลังพร้อมป้ายข้อความ ต่างๆ เกี่ยวกับการต่อต้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ของรัฐบาล
จากนั้นได้เคลื่อนขบวนไปตามถนนภายในมหาวิทยาลัยเพื่อรณรงค์ให้อาจารย์ นักศึกษาได้ตระหนักถึงพิษภัยของการก่อสร้างเขื่อน และเชิญชวนออกมาแสดงพลังร่วมกันคัดค้าน ก่อนกลับมาร่วมกันอ่านแถลงการณ์ "หยุดชำเราป่า หยุดแสวงหาผลประโยชน์จากเขื่อนแม่วงก์"
โดย ระบุตอหนึ่งว่า โครงการอัปยศในครั้งนี้ ภาคีคณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้โปรดพิจารณาทบทวนระงับโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมในระบบนิเวศวิทยาต่อไปในภายภาคหน้า เพราะประเทศที่เจริญเขาหยุดยั้งการสร้างเขื่อนหมดแล้ว บางประเทศเขื่อนถูกทุบทิ้งด้วยซ้ำไป
พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันอนุรักษ์พื้น ที่กว่า 13,000 ไร่ ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ ที่มีทรัพยากร เช่น ไม้สัก 50,000 ต้น และต้นไม้อื่น อีกมากกว่า 100,000 ต้น จากป่าด้านในที่มีความสมบรูณ์ สัตว์ป่าน้อยใหญ่อย่างน้อยกว่า 549 ชนิด และพันธุ์ปลาอีกกว่า 64 ชนิด และมีเพียง 8 ชนิดเท่านั้นที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำเหนือเขื่อนได้ ซึ่งความคุ้มค่าทั้งหมดนี้เพียงเพื่อต้องการแลกกับพื้นที่กักเก็บน้ำเพียง 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง
เป็นความอัปยศของโครงการและโครงสร้างของนักการเมืองที่ต้องการเพียงแลกรับกับผลประโยชน์ตอบแทนจากการก่อสร้างโดยไม่ได้สนใจกับวิกฤตหายนะ ที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบของการสร้างเขื่อนแม้แต่น้อย และขอประณามกับพฤติกรรมของนักการเมืองที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมกับเรียกร้องไปยังรัฐบาล
1.หยุดบิดเบือนข้อเท็จจริงกับโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่อ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งที่ในความจริงผลเสียที่จะตามมามีมากกว่า
2.กรณีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี บอกผู้คัดค้านว่าเมื่อถึงคราวจำเป็นต้องเสียสละเพื่อบ้านเมืองนั้น อยากบอกกับนายปลอดประสพ ว่าการอนุรักษ์พื้นป่าและสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นทรัพยากรของชาติและของโลกที่มนุษย์ต้องใช้ร่วมกันนี่แหละคือการเสียสละที่ต้องออกมาปกป้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของมวลมนุษยชาติที่แท้จริง คือ การสร้างเขื่อนแม่วงก์สามารถช่วยลดปัญหา น้ำท่วมได้เพียงแค่ 1-2% เท่านั้น แต่เหตุไฉนถึงจะดันทุรังว่าจะต้องสร้างให้ได้ด้วยเม็ดเงินกว่า 13,280 ล้านบาท ทั้งที่จะเกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศป่าไม้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อย่างประเมินค่าไม่ได้ และขอเรียกร้องให้นิสิต นักศึกษา ประชาชนที่หวงแหนในทรัพยากรของชาติและของโลกได้ออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์และเขื่อนอื่นๆ อีกมากมายอันจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้
รายงานข่าวจาก จ.นครสวรรค์แจ้งว่า ในการชุมนุมหนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ หน้าที่ว่าการ อ.ลาดยาว มีการระดมชาวบ้านจากนครสวรรค์ กำแพงเพชร และอุทัยธานี เข้าร่วมกว่า 3,000 คนนั้นต่อมาในค่ำวันเดียวกันนายปลอดประสพ ได้เดินทางด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาที่ อ.ลาดยาว พร้อมขึ้นเวทีและยืนยันจะชงโครงการเขื่อนแม่วงก์ให้ผ่านเพื่อประโยชน์ของประชาชนใน จ.กำแพงเพชร อุทัยธานี นครสวรรค์ รวมถึงจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา
นอกกจากนี้ ช่วงหนึ่งเมื่อรถกระจายเสียงเคลื่อนไปถึงบริเวณใกล้เคียงบ้านของชาวบ้านในเขตเทศบาลฯ ที่ไม่เห็นด้วย ก็มีเสียงของผู้ประกาศเชิญชวนคนออกมาชุมนุม บอกว่า "...เอาเขื่อนหรือเปล่าครับ ...ไม่เอาเขื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่นเลย..."แต่นายวิโรจน์ วิบูรณ์รัตน์ นายกเทศมนตรีลาดยาว ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้ขับไล่ผู้ไม่เห็นด้วย และเมื่อผู้สื่อข่าวได้เข้าไปสอบถามชาวบ้านในตลาดลาดยาว พบว่าหลายคนไม่ต้องการให้เกิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเ
อีกเรื่อง WWF ประเทศไทย (https://www.facebook.com/wwfthailand) เผยภาพสัตว์ป่านานาชนิดที่บันทึกได้จากกล้องดักถ่ายที่ติดตั้งภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม แม้ว่าข้อมูลจากนักวิชาการระบุว่า ปริมาณน้ำที่เขื่อนแม่วงก์รับได้นั้นเทียบเท่าเพียง 1% ของปริมาณน้ำทั้งหมดที่ท่วมเมื่อปี 2554 โดยองค์กรอนุรักษ์ได้เชิญชวนให้ร่วมแชร์ภาพของสัตว์นานาชนิดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยมีภาพ เช่น ภาพเสือโคร่ง กระทิง เสือลายเมฆ สมเสร็จ เสือดาวและเลียงผา และเมื่อปี 2555 ที่ผ่านมาทางองค์กรอนุรักษ์นี้ก็ได้เผยแพร่วิดีโอจากกล้องดักถ่ายเผยภาพเสือโคร่งและลูกอีก 2 ตัว
ซึ่ง ดร.รุ้งนภา พูลจำปา ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูเสือโคร่ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน WWF ประเทศไทย กล่าวว่าภาพของเสือโค่งแม่ลูกเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันถึงความสมบูรณ์ของป่าแม่วงก์และป่าคลองลาน เนื่องจากเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ต้องการเหยื่อมาก โดยเฉพาะช่วงมีลูกอ่อนยิ่งต้องการอาหารมากกว่าเดิม หากประชากรสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อไม่เพียงพอ
"ภาพเสือโคร่งแม่ลูกเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยัน ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแม่วงก์-คลองลาน เนื่องจากเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ต้องการเหยื่อเป็นอาหารจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงที่มีลูกอ่อนยิ่งต้องการอาหารมากกว่าเดิมหลายเท่า ดังนั้น หากในพื้นที่อาศัยมีประชากรสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อไม่เพียงพอ แม่เสือโคร่งย่อมไม่สามารถเลี้ยงลูกให้อยู่รอดได้” ดร.รุ้งนภา พูลจำปา ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูเสือโคร่ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน WWF ประเทศไทยให้ข้อมูลประกอบการเผยแพร่วิดีโอเสือโคร่งแม่ลูกเมื่อปีที่ผ่านมา
สำหรับทางออกนั้น WWF และองค์กรอื่นๆ ที่คัดค้านโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณามาตรการในการจัดการน้ำท่วมและภัยแล้งด้วยวิธีอื่น เช่น เลือกสร้างเขื่อนนอกพื้นที่อนุรักษ์ เพราะมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า จัดการน้ำอย่างบูรณาการทั้งระบบ และปรับปรุงระบบชลประทานและการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น
ทั้งนี้ องค์กรอนุรักษ์หลายองค์กรได้ร่วมกันแถลงคัดค้าน การอนุมัติรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทาง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ (EHIA) โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยเหตุผลหลัก 8 ข้อ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: 8 เหตุผลคนอนุรักษ์ไม่เอา EHIA “เขื่อนแม่วงก์” http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000119636)
อีกด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้า สบอช.จะทำหนังสือเชิญนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร รวมถึงประชาชนทั้งเด็กและผู้สูงอายุ มาร่วมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ที่ทำเนียบรัฐบาล เพราะ สบอช. มีผลการศึกษาที่พบว่าการสร้างเขื่อนแม่วงก์มีประโยชน์มากกว่าโทษ
ส่วนที่มีการระบุว่าเขื่อนแม่วงก์เก็บน้ำได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ท่วมนั้น เป็นเพียงวาทกรรมเท่านั้น ถ้าเขื่อนใดมีปัญหาหรือการศึกษายังไม่ครบถ้วน สบอช. ในฐานะเจ้าของโครงการมีสิทธิ์ชะลอการก่อสร้าง โดยไม่ผิดสัญญาว่าจ้างกับเอกชน.
วานนี้ (26 ก.ย.) ที่บริเวณหน้าอาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มภาคีคณาจารย์นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา ประมาณ 120 คน นำโดย ผศ.ดร.สามารถ จับโจร อาจารย์ประจำมหาวิทยาราชภัฎนครราชสีมา ได้รวมตัวกันชุมนุมแสดงพลังพร้อมป้ายข้อความ ต่างๆ เกี่ยวกับการต่อต้านโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ของรัฐบาล
จากนั้นได้เคลื่อนขบวนไปตามถนนภายในมหาวิทยาลัยเพื่อรณรงค์ให้อาจารย์ นักศึกษาได้ตระหนักถึงพิษภัยของการก่อสร้างเขื่อน และเชิญชวนออกมาแสดงพลังร่วมกันคัดค้าน ก่อนกลับมาร่วมกันอ่านแถลงการณ์ "หยุดชำเราป่า หยุดแสวงหาผลประโยชน์จากเขื่อนแม่วงก์"
โดย ระบุตอหนึ่งว่า โครงการอัปยศในครั้งนี้ ภาคีคณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา เรียกร้องไปยังนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลได้โปรดพิจารณาทบทวนระงับโครงการสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนรวมในระบบนิเวศวิทยาต่อไปในภายภาคหน้า เพราะประเทศที่เจริญเขาหยุดยั้งการสร้างเขื่อนหมดแล้ว บางประเทศเขื่อนถูกทุบทิ้งด้วยซ้ำไป
พร้อมเรียกร้องให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมกันอนุรักษ์พื้น ที่กว่า 13,000 ไร่ ในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จ.กำแพงเพชร และ จ.นครสวรรค์ ที่มีทรัพยากร เช่น ไม้สัก 50,000 ต้น และต้นไม้อื่น อีกมากกว่า 100,000 ต้น จากป่าด้านในที่มีความสมบรูณ์ สัตว์ป่าน้อยใหญ่อย่างน้อยกว่า 549 ชนิด และพันธุ์ปลาอีกกว่า 64 ชนิด และมีเพียง 8 ชนิดเท่านั้นที่สามารถผสมพันธุ์ในแหล่งน้ำเหนือเขื่อนได้ ซึ่งความคุ้มค่าทั้งหมดนี้เพียงเพื่อต้องการแลกกับพื้นที่กักเก็บน้ำเพียง 2% ของปริมาณน้ำที่ท่วมพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง
เป็นความอัปยศของโครงการและโครงสร้างของนักการเมืองที่ต้องการเพียงแลกรับกับผลประโยชน์ตอบแทนจากการก่อสร้างโดยไม่ได้สนใจกับวิกฤตหายนะ ที่จะเกิดขึ้นจากผลกระทบของการสร้างเขื่อนแม้แต่น้อย และขอประณามกับพฤติกรรมของนักการเมืองที่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากการสร้างเขื่อนแม่วงก์ พร้อมกับเรียกร้องไปยังรัฐบาล
1.หยุดบิดเบือนข้อเท็จจริงกับโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ที่อ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม ทั้งที่ในความจริงผลเสียที่จะตามมามีมากกว่า
2.กรณีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี บอกผู้คัดค้านว่าเมื่อถึงคราวจำเป็นต้องเสียสละเพื่อบ้านเมืองนั้น อยากบอกกับนายปลอดประสพ ว่าการอนุรักษ์พื้นป่าและสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นทรัพยากรของชาติและของโลกที่มนุษย์ต้องใช้ร่วมกันนี่แหละคือการเสียสละที่ต้องออกมาปกป้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของมวลมนุษยชาติที่แท้จริง คือ การสร้างเขื่อนแม่วงก์สามารถช่วยลดปัญหา น้ำท่วมได้เพียงแค่ 1-2% เท่านั้น แต่เหตุไฉนถึงจะดันทุรังว่าจะต้องสร้างให้ได้ด้วยเม็ดเงินกว่า 13,280 ล้านบาท ทั้งที่จะเกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบนิเวศป่าไม้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช อย่างประเมินค่าไม่ได้ และขอเรียกร้องให้นิสิต นักศึกษา ประชาชนที่หวงแหนในทรัพยากรของชาติและของโลกได้ออกมาคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์และเขื่อนอื่นๆ อีกมากมายอันจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินแก้
รายงานข่าวจาก จ.นครสวรรค์แจ้งว่า ในการชุมนุมหนุนการสร้างเขื่อนแม่วงก์ หน้าที่ว่าการ อ.ลาดยาว มีการระดมชาวบ้านจากนครสวรรค์ กำแพงเพชร และอุทัยธานี เข้าร่วมกว่า 3,000 คนนั้นต่อมาในค่ำวันเดียวกันนายปลอดประสพ ได้เดินทางด้วยเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์มาที่ อ.ลาดยาว พร้อมขึ้นเวทีและยืนยันจะชงโครงการเขื่อนแม่วงก์ให้ผ่านเพื่อประโยชน์ของประชาชนใน จ.กำแพงเพชร อุทัยธานี นครสวรรค์ รวมถึงจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา
นอกกจากนี้ ช่วงหนึ่งเมื่อรถกระจายเสียงเคลื่อนไปถึงบริเวณใกล้เคียงบ้านของชาวบ้านในเขตเทศบาลฯ ที่ไม่เห็นด้วย ก็มีเสียงของผู้ประกาศเชิญชวนคนออกมาชุมนุม บอกว่า "...เอาเขื่อนหรือเปล่าครับ ...ไม่เอาเขื่อนย้ายไปอยู่ที่อื่นเลย..."แต่นายวิโรจน์ วิบูรณ์รัตน์ นายกเทศมนตรีลาดยาว ได้ออกมาปฏิเสธว่าไม่ได้ขับไล่ผู้ไม่เห็นด้วย และเมื่อผู้สื่อข่าวได้เข้าไปสอบถามชาวบ้านในตลาดลาดยาว พบว่าหลายคนไม่ต้องการให้เกิดการสร้างเขื่อนแม่วงก์ แต่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นเ
อีกเรื่อง WWF ประเทศไทย (https://www.facebook.com/wwfthailand) เผยภาพสัตว์ป่านานาชนิดที่บันทึกได้จากกล้องดักถ่ายที่ติดตั้งภายในอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีโครงการก่อสร้างเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วม แม้ว่าข้อมูลจากนักวิชาการระบุว่า ปริมาณน้ำที่เขื่อนแม่วงก์รับได้นั้นเทียบเท่าเพียง 1% ของปริมาณน้ำทั้งหมดที่ท่วมเมื่อปี 2554 โดยองค์กรอนุรักษ์ได้เชิญชวนให้ร่วมแชร์ภาพของสัตว์นานาชนิดเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์ โดยมีภาพ เช่น ภาพเสือโคร่ง กระทิง เสือลายเมฆ สมเสร็จ เสือดาวและเลียงผา และเมื่อปี 2555 ที่ผ่านมาทางองค์กรอนุรักษ์นี้ก็ได้เผยแพร่วิดีโอจากกล้องดักถ่ายเผยภาพเสือโคร่งและลูกอีก 2 ตัว
ซึ่ง ดร.รุ้งนภา พูลจำปา ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูเสือโคร่ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน WWF ประเทศไทย กล่าวว่าภาพของเสือโค่งแม่ลูกเป็นหลักฐานสำคัญยืนยันถึงความสมบูรณ์ของป่าแม่วงก์และป่าคลองลาน เนื่องจากเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ต้องการเหยื่อมาก โดยเฉพาะช่วงมีลูกอ่อนยิ่งต้องการอาหารมากกว่าเดิม หากประชากรสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อไม่เพียงพอ
"ภาพเสือโคร่งแม่ลูกเป็นหลักฐานสำคัญที่ยืนยัน ถึงความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแม่วงก์-คลองลาน เนื่องจากเสือโคร่งเป็นสัตว์ที่ต้องการเหยื่อเป็นอาหารจำนวนมาก โดยเฉพาะช่วงที่มีลูกอ่อนยิ่งต้องการอาหารมากกว่าเดิมหลายเท่า ดังนั้น หากในพื้นที่อาศัยมีประชากรสัตว์ป่าที่เป็นเหยื่อไม่เพียงพอ แม่เสือโคร่งย่อมไม่สามารถเลี้ยงลูกให้อยู่รอดได้” ดร.รุ้งนภา พูลจำปา ผู้จัดการโครงการฟื้นฟูเสือโคร่ง อุทยานแห่งชาติแม่วงก์และอุทยานแห่งชาติคลองลาน WWF ประเทศไทยให้ข้อมูลประกอบการเผยแพร่วิดีโอเสือโคร่งแม่ลูกเมื่อปีที่ผ่านมา
สำหรับทางออกนั้น WWF และองค์กรอื่นๆ ที่คัดค้านโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณามาตรการในการจัดการน้ำท่วมและภัยแล้งด้วยวิธีอื่น เช่น เลือกสร้างเขื่อนนอกพื้นที่อนุรักษ์ เพราะมีผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า จัดการน้ำอย่างบูรณาการทั้งระบบ และปรับปรุงระบบชลประทานและการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก เป็นต้น
ทั้งนี้ องค์กรอนุรักษ์หลายองค์กรได้ร่วมกันแถลงคัดค้าน การอนุมัติรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทาง ด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ หรือ อีเอชไอเอ (EHIA) โครงการเขื่อนแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยเหตุผลหลัก 8 ข้อ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม: 8 เหตุผลคนอนุรักษ์ไม่เอา EHIA “เขื่อนแม่วงก์” http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000119636)
อีกด้านนายสุพจน์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเลขาธิการสำนักงานนโยบายและบริหารจัดการน้ำและอุทกภัยแห่งชาติ (สบอช.) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้า สบอช.จะทำหนังสือเชิญนายศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร รวมถึงประชาชนทั้งเด็กและผู้สูงอายุ มาร่วมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลการสร้างเขื่อนแม่วงก์ ที่ทำเนียบรัฐบาล เพราะ สบอช. มีผลการศึกษาที่พบว่าการสร้างเขื่อนแม่วงก์มีประโยชน์มากกว่าโทษ
ส่วนที่มีการระบุว่าเขื่อนแม่วงก์เก็บน้ำได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณน้ำที่ท่วมนั้น เป็นเพียงวาทกรรมเท่านั้น ถ้าเขื่อนใดมีปัญหาหรือการศึกษายังไม่ครบถ้วน สบอช. ในฐานะเจ้าของโครงการมีสิทธิ์ชะลอการก่อสร้าง โดยไม่ผิดสัญญาว่าจ้างกับเอกชน.