xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไหมว่า..."มะลิวันแม่" แท้จริงไม่ใช่พืชท้องถิ่นไทย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

มะลิซ้อน เข้ามาเมืองไทยโดยพ่อค้าอาหรับในสมัยกรุงสุโขทัย
เป็นสัญลักษณ์ประจำ "วันแม่" มานาน แต่หลายคนอาจไม่ทราบว่า "มะลิ" กลิ่นหอมที่เราใช้ความรักต่อแม่นั้น แท้จริงแล้วเป็นพรรณไม้จากต่างแดนที่นำเข้ามาโดยชาวอาหรับ

ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) และผู้ค้นพบ "มะลิเฉลิมนรินทร์" พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก ให้ข้อมูลว่ามะลิที่เราใช้กันในช่วงวันแม่นั้นคือ "มะลิซ้อน" หรือ "มะลิลา" ซึ่งไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในเมืองไทย

"พ่อค้าอาหรับนำเข้ามาขาย แล้วก็ได้รับความนิยมจนปลูกกันแพร่หลาย ต้นกำเนิดของมะลินี้อยู่ทางตอนเหนือของอินเดีย คาดว่าเข้ามาในไทยสมัยกรุงสุโขทัย" ผู่้เชี่ยวชาญ วว.กล่าว

ข้อมูลจาก ดร.ปิยะระบุอีกว่า ไทยมีมะลิทั้งหมด 34 ชนิด รวมมะลิชนิดใหม่ที่เพิ่งค้นพบ โดยลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นมะลิคือ เป็นได้ทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ มีโคนหลอด และมีกลีบเลี้ยงเป็นฝอยๆ ที่ใต้โคน สำหรับมะลิในเมืองไทยจะมีสีเหลือง แต่มะลิของต่างประเทศมีสีเหลืองและสีแดงด้วย

สำหรับมะลิเฉลิมนรินทร์นั้นเป็นนามพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 17 พ.ย.55 โดย ดร.ปิยะค้นพบที่เนินเขาหินปูนเตี้ยๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงจากระดับน้ำทะเล 715 เมตร และได้ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวอังกฤษศึกษาจนพบว่าเป็นพรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก และตีพิมพ์เผยแพร่ลงวารสารบูลเมีย (Bulmea) วารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติของเนเธอร์แลนด์
มะลิเฉลิมนรินทร์ พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลก






กำลังโหลดความคิดเห็น