xs
xsm
sm
md
lg

สสร. เดินหน้า Synergy

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เป็นเจตนารมณ์ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล (สสร.) ในการช่วยเหลือสังคมและสิ่งแวดล้อม(CSR) ในปี 2556 โดยเริ่มเดินหน้า Synergy หรือแผนปฏิบัติการ การใช้ทรัพยากรและความร่วมมือกับอีกสององค์กรชั้นนำ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ประเดิมนำร่องการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน ที่จังหวัดยโสธร
จากแนวคิดที่เห็นพ้องกันว่าการบริหารองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ คือมีทั้งความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ คงจะเป็นไปไม่ได้หากมีแต่ความ “เก่ง” เพียงอย่างเดียวโดยไม่มี “ความดี” ขนานควบคู่ไปด้วย
เพราะองค์กรใดก็ตามที่สามารถทำกำไรได้มากมายมหาศาลก็ใช่ว่าจะเป็นเครื่องชี้วัดว่าองค์กรแห่งนั้นจะดำเนินธุรกิจได้อย่างยั่งยืนในอนาคต แต่ในบริบทของความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ การมี CSR ต่างหากที่ช่วยให้เกิดการยอมรับ ไม่โดนสังคมต่อต้าน และนำพาองค์กรก้าวไปได้อย่างยั่งยืน

ข้อโดดเด่นขององค์กรรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง นำไปสู่ความร่วมมือในโครงการ Synergy โดยมีแผนปฏิบัติการร่วมกัน 3 แผนงาน ได้แก่ แผนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) แผนการใช้ช่องทางการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์องค์กร และ แผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่อง SEPA เป็นบริบทด้านการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ
ด้วยเห็นพ้องถึงคุณธรรมในการดำเนินงานที่ตระหนักต่อ “การให้” ซึ่งเป็นการคืนกำไรไปสู่ภาคสังคมในหลายรูปแบบ ไม่ว่าเป็นการบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ และมอบเงินช่วยเหลือ การมอบทุนการศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนกิจกรรมด้านสังคม การศึกษา ศาสนา และสิ่งแวดล้อมของสังคมและชุมชน
ทั้งนี้ ได้มีการหารือ และลงสำรวจพื้นที่ร่วมกันจนทำให้มองเห็นแนวทางในการ “ให้” แบบยั่งยืนมากขึ้น

ล่าสุดนำร่องตามแผนการสร้างเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นครั้งแรกที่ อำเภอไทยเจริญ และ อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร ระหว่างวันที่ 24-27 มกราคมที่ผ่านมา พร้อมการมอบเครื่องกรองน้ำดื่มแก่ชุมชน มอบหนังสือ วารสารที่เป็นความรู้ จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านกฎหมาย ด้านการบำรุงรักษาเครื่องกรองน้ำดื่ม การบริหารต้นทุน และการจัดการน้ำดื่มชุมชน การให้บริการด้านการแพทย์ รวมถึงการฝึกทำเครื่องกรองน้ำเพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน เป็นต้น
ซึ่งกล่าวได้ว่าช่องทางของหน่วยงานทั้งสามที่มีอยู่ได้มีการแลกเปลี่ยนช่องทางกันและกันจากกิจกรรมเพื่อสังคม จึงทำให้มีช่องทางสำหรับการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์กร หรือการใช้ข้อเท็จจริงที่มากขึ้น

แผนการเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม
นับเป็นแนวทางปฏิบัติการให้ได้แนวทางการทำ CSR ที่ชัดเจนและยั่งยืนยิ่งขึ้น ในปีนี้ ตามแผนจะมีกิจกรรมในการลงพื้นที่ชุมชนไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง/ปี (ตั้งแต่ ต.ค.2555-ก.ย.2556) ภายใต้งบประมาณ 4 ล้านบาท
ผู้รับผิดชอบหลัก กองแผนยุทธศาสตร์ สำนักพัฒนาธุรกิจ ส่วนผู้รับผิดชอบรอง คณะทำงานเพื่อการใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างกันของรัฐวิสาหกิจ, ธกส.และ วว.
ผลที่คาดหวัง สสร.มีแนวทางในการสร้าง CSR ที่ยั่งยืนเป็นรูปธรรม ขณะที่ชุมชนก็ได้รับโอกาสรับกำไรคืนสู่สังคมนี้เป็นรูปธรรมมากขึ้น รวมถึงทั้ง 3 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

แผนการใช้ช่องทางการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์องค์กร
ทำให้มีช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์องค์กร หรือการให้ข้อเท็จจริงที่มากขึ้น รวมถึงเกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกันทั้ง 3 หน่วยงาน และยังได้กรอบตรงตามความต้องการ ตามแผนใช้ช่องทางในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ร่วมกันไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง (ตั้งแต่ ต.ค.2555-ก.ย.2556)
ผู้รับผิดชอบหลัก กองแผนยุทธศาสตร์ สำนักพัฒนาธุรกิจ ส่วนผู้รับผิดชอบรอง คณะทำงานเพื่อการใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างกันของรัฐวิสาหกิจ, ธกส.และ วว.
ผลที่คาดหวัง สสร.มีช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ต้นทุนในการเผยแพร่ข่าวสารไม่เพิ่มขึ้น รวมถึงทั้ง 3 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

แผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่อง SEPA
ต้องการบรรลุผลลัพธ์ตามบริบทของรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ การนำองค์กรรัฐวิสาหกิจ การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ การมุ่งเน้นลูกค้า และตลาด การมุ่งเน้นบุคลากร การจัดการกระบวนการ ทั้งนี้ สสร.อาศัยทักษะ ธกส. และ วว. โดยใช้งบประมาณ 36,000 บาท โดย
มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง/ ปี (ตั้งแต่ ต.ค.2555-ก.ย.2556)
ผู้รับผิดชอบหลัก กองแผนยุทธศาสตร์ สำนักพัฒนาธุรกิจ ส่วนผู้รับผิดชอบรอง คณะทำงานเพื่อการใช้ทรัพยากรและความร่วมมือระหว่างกันของรัฐวิสาหกิจ, ธกส.และ วว.
ผลที่คาดหวัง สสร.มีแผนการดำเนินงานด้านการแลกเปลี่ยนความรู้ SEPAประจำปี 2556 ที่ชัดเจน รวมถึงการทำให้ 3 หน่วยงานรัฐวิสาหกิจมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
กำลังโหลดความคิดเห็น