xs
xsm
sm
md
lg

พบชิ้นส่วนใหม่ของร่างกายซ่อนอยู่ใต้ดวงตาเรา

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ชิ้นส่วนใหม่ของร่างกาย ซ่อนอยู่หลังกระจกตา (ไลฟ์ไซน์)
นักวิทยาศาสตร์พบชิ้นส่วนใหม่ของร่างกายซ่อนอยู่ใต้ดวงตาเรา เป็นชั้นบางๆ ซ่อนอยู่หลังกระจก และบ่งบอกสาเหตุของอาการในดวงตาได้

ชิ้นส่วนในร่างกายที่เพิ่งพบใหม่นี้ ชื่อว่า "ชั้นของดูอา" (Dua's layer) เป็นชั้นบางๆ ที่หนาเพียง 15 ไมครอนซ่อนอยู่ด้านหลังกระจกตาที่เป็นเนื้อเยื่อโปร่งแสงที่อ่อนไหวง่ายและด้านหน้าๆ ของดวงตามนุษย์ ซึ่งทำหน้าที่รวมแสงที่เข้าตา

แม้จะบางมากแต่ชั้นดังกล่าวก็แข็งแกร่ง โดยชื่อของชิ้นส่วนที่พบใหม่นี้ถูกตั้งตามชื่อผู้ค้นพบคือ ศ.ฮาร์มินเดอร์ ดูอา (Harminder Dua) ศาสตราจารย์ทางด้านจักษุวิทยาและทัศนศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอทติงแฮม (University of Nottingham) สหราชอาณาจักร อ้างตามรายงานของไลฟ์ไซน์

ดูอากล่าวระหว่างแถลงว่า การค้นพบนี้ไม่ได้เพียงเปลี่ยนสิ่งที่นักจักษุวิทยารู้จักเกี่ยวกับกายวิภาคของดวงตามนุษย์ แต่ยังช่วยให้การผ่าตัดอาการบาดเจ็บบริเวณชั้นนี้ให้แก่ผู้ป่วยปลอดภัยและง่ายขึ้น ซึ่งจากมุมมองในทางคลีนิค มีโรคจำนวนมากที่ส่งผลกระทบต่อด้านหลังกระตกตา และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการรักษาก็ได้เกี่ยวข้องกับการมี การหายไปหรือแม้แต่การฉีกขาดของชั้นดังกล่าว

ตัวอย่างที่ดูอาและคณะเชื่อว่ามีผลจากการฉีกขาดในชั้นของดูอาคืออาการกระจกตาบวมน้ำ (corneal hydrops) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อน้ำจากในดวงตาทะลักเข้าไปในกระจกตาและทำให้เกิดน้ำคั่งในกระจกตา โดยปรากฏการณ์ดังกล่าวพบได้ในผู้ป่วยที่มีอาการกระจกตาโป่ง (keratoconus) ซึ่งเป็นความเสื่อมของดวงตาที่ทำให้กระจกตาเปลี่ยนเป็นรูปกรวย

ชั้นของดูอาเป็นชิ้นส่วนที่เราได้รู้จักเพิ่มจาก 5 ชั้นของกระจกตาที่เรารู้จักมาก่อนแล้ว โดยเรียงจากด้านหน้าสุดเข้าไปด้านหลัง ได้แก่ เยื่อบุผิวกระจกตา (corneal Epithelium), ชั้นของโบว์แมน (Bowman's layer), เนื้อเยื่อโครงกระจกตา (corneal stroma) เนื้อเยื่อบางของเดสเซเมท (Descemet's membrane) และเนื้อเยื่อบุโพรง (corneal endothelium)

ดูอาและคณะพบเนื้อเยื่อใหม่นี้ ซึ่งอยู่ระหว่างชั้นเนื่อเยื่อโครงกระจกตาและเนื้อเยื่อบางของเดสเซเมท ขณะที่พวกเขาย้ายกระจกไปปลูกถ่ายบนดวงตาที่บริจาคเพื่องานวิจัย โดยฉีดฟองอากาศเล็กๆ เพื่อแยกแต่ละชั้นบนกระจกตาออกจากกัน แล้วใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนสแกนแต่ละชั้น

รายละเอียดของงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสารออพธัลมอโลจี (Ophthalmology)







กำลังโหลดความคิดเห็น