เราอาจคุ้นหูว่า “ดาวเคราะห์น้อย" ซึ่งมีวงโคจรคล้ายโลก อาจทำร้ายดาวของเราเข้าสักวัน แต่ด่้วยความใกล้ทั้งในแง่ระยะทางและคุณลักษณะบางอย่าง มนุษย์อันชาญฉลาดเลยมองเห็นว่าน่าจะใช้ทรัพยากรจากวัตถุใกล้โลกเหล่านี้ได้ โดยแนวคิดการขุดดาวถลุงแร่มีมานานแล้ว แต่เพิ่งจะมีบริษัทเอกชนประกาศเอาจริงถึง 2 รายแล้ว และมูลค่าของอุตสาหกรรมนี้ ช่างมากมายมหาศาลเกินกว่าจะจินตนาการ
หลังจากปีก่อน แพลเนทารีรีซอร์ส อิงค์ (Planetary Resources, Inc) ที่นำโดยเหล่าคนดังอย่าง เจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับอวตาร และลาร์รี เพจ แห่งกูเกิล ได้ประกาศเดินหน้าทำเหมืองอวกาศ ยังไม่ทันครบปีก็เกิดมีบริษัทคู่แข่งขึ้นมาบ้างแล้ว
ดีพ สเปซ อินดัสทรีส์ อิงค์ (Deep Space Industries, Inc.,) ได้ประกาศตัวเมื่อวันที่ 22 ม.ค.2013 ที่ผ่านมาว่า มีแผนจะทำเหมืองบนดาวเคราะห์น้อย เพื่อค้นหาโลหะ น้ำ และทรัพยากรอื่นๆ โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ เช่นเดียวกับแพลเนทารีรีซอร์ส โดยทั้ง 2 บริษัทไม่ได้เป็นคู่แข่งกัน และสามารถหาประโยชน์จากการทำกิจการที่เหมือนกันได้ เพราะอวกาศนั้นกว้างใหญ่ มีที่ว่างพอให้สำหรับทุกคน
ทั้งนี้ ดีพสเปซฯ และ แพลเนทารีรีซอร์ส จะตามหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ซึ่งส่วนใหญ่เต็มไปด้วยน้ำ และแร่โลหะหลายชนิด โดยทั้งคู่ต้องการจะนำน้ำจากดาวเคราะห์น้อยมาแยกไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของเชื้อเพลิงจรวด ช่วยให้ดาวเทียมหรือยานอวกาศสามารถเดินทางได้ยาวนานมากขึ้่น โดยไม่จำเป็นต้องบรรทุกเชื้อเพลิงที่แสนแพงและในปริมาณที่จำกัดมาจากโลก อีกทั้งยังจะนำโลหะมีค่า กลับมาใช้บนโลกของเรา
ดาวเคราะห์น้อยมีมากมายเกินจะใช้ไหว
นักดาราศาสตร์ระบุว่า มีดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกมากกว่า 9,000 ดวง ซึ่งค้นพบใหม่อีกราว 1,000 ดวงในทุกๆ ปี นั่นหมายความว่า ถึงจะมี 2 บริษัทแข่งกันทำเหมืองบนอวกาศ พวกเขาก็คงจะมีงานมากมายไม่หวาดไม่ไหว
พวกเรารู้จักดาวเคราะห์น้อยกันมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 1772 ที่นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ค้นพบว่า ด้วยระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์แต่ละดวงนั้น อาจจะมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส และในปี 1801 นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนพบวัตถุพร่ามัวที่ระยะดังกล่าว นั่นก็คือ “เซเรส” (Ceres) ต่อมาวัตถุที่มีลักษณะคล้ายเซเรสจึงได้รับการจัดลำดับว่า เป็น “ดาวเคราะห์น้อย” (asteroids / minor planets)
ปัจจุบันมีดาวเคราะห์น้อยที่ได้รับการบันทึกไว้แล้วมากกว่า 20,000 ดวง ซึ่งมีรูปทรงและขนาดต่างๆ ตั้งแต่รัศมี 1 กิโลเมตร ไปยังหลายร้อยกิโลเมตร (เซเรสเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดมีรัศมี 457 กิโลเมตร) รวมถึงทิศทางการหมุนที่ยังมีความหลากหลาย
เราสามารถจัดประเภทตามส่วนประกอบได้ดังนี้
อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อย คือ ชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ และอาจจะเป็นชิ้นส่วนของระบบสุริยะในยุคแรก โดยมารวมกันก่อตัวขึ้นที่แนวระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดีอันเป็นรอยต่อระหว่างดาวเคราะห์หินและดาวเคราะห์ก๊าซ
เปลี่ยนก้อนหินอวกาศให้เป็นความร่ำรวย
แม้จะยังไม่เคยมีมนุษย์ลงไปเหยียบที่พื้นผิวดาวเคราะห์น้อย แต่แค่ใช้เทคนิคการสะท้อนแสง นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นแล้วว่า ดาวหน้าตาประหลาดเหล่านี้มีส่วนผสมอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก นิกเกิล แมกนีเซียม น้ำ ออกซิเจน ทองคำ และแพลตินัม ล้วนปรากฎให้เห็นบนดาวเคราะห์น้อยหลายดวง
“น้ำ” เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษในการสำรวจอวกาศ เพราะแสดงถึงความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมอวกาศเพื่อให้มนุษย์ได้บริโภค อีกทั้งยังสามารถนำน้ำไปแยกเอาไฮโดรเจนและออกซิเจนมาใช้เพื่อการขับเคลื่อนจรวด
“แร่โลหะ” บนดาวเคราะห์น้อยก็สามารถนำมาสร้างยานอวกาศ หรือโครงสร้างอื่นๆ ที่จะประกอบกันเป็นอาคารของนิคมอวกาศ
ข้อมูลจากรายงานของวารสารทางอวกาศ (Acta Astronautica) ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อยชนิดเอสนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ มีทั้งโลหะ แร่กึ่งตัวนำ และแม้แต่ออกซิเจนหรือน้ำ ซึ่งในบรรดาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก เป็นชนิดเอสอยู่ประมาณ 40% ซึ่งดาวเคราะห์น้อยขนาด 24 เมตรแบบเอสอาจมีแร่เหล็ก 1,100-4,400 ตัน นั่นมากพอที่จะสร้างแผงเซลล์สุริยะขนาดใหญ่ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในระดับกิกะวัตต์ได้ทั้งเป็นสถานีอวกาศหรือส่งถึงโลก
อีกทั้งดาวเคราะห์น้อยขนาดเดียวกันที่ประกอบไปด้วย สารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลของน้ำ จะผลิตน้ำได้หลายล้านลิตร นั่นถือเป็นอีกแผนการหนึ่งของแพลเนทารีรีซอสร์ซ ที่ต้องการเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากดาวเคราะห์น้อย เพื่อผลิตพลังงานขับเคลื่อนจรวด น้ำดื่ม และแหล่งออกซิเจน โดยเชื่อว่านี่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มหาศาล และถ้าจะมีคนอื่นๆ กระโดดมาทำธุรกิจนี้ด้วยก็ไม่น่าจะแปลกใจมากนัก
อย่างไรก็ดี เหล่าเอกชนต่างๆ อาจไม่ได้สนใจกับการสำรวจอวกาศหรือการทดลองวิทยาศาสตร์ แต่พวกเขาน่าจะกำลังมองหาขุมสมบัติ และนำกลับสู่โลก
องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เคยทำรายงานคาดการณ์ว่า มูลค่าแร่โลหะที่สกัดได้จากแถบดาวเคราะห์น้อยนั้นมีมากมายมหาศาล เรียกได้ว่าสามารถแจกประชากรบนโลกได้ต่อคนมากกว่าแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราวๆ 3 ล้านล้านบาท)
ดาวเคราะห์น้อย 1 ดวงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีมวลประมาณ 2 พันล้านตัน และในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์น้อยขนาดที่ว่านี้อยู่ประมาณ 1 ล้านดวง เมื่อบวกรวมกันแล้วหมายความว่า จะมีนิกเกิล 30 ล้านตัน โคบอลต์ 1.5 ล้านตัน และแพลตินัม อีก 7,500 ตัน ถ้านับเฉพาะแพลตินัมก็มีมูลค่ามากกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปแล้ว
ยานสำรวจเหมือง พร้อมเดินหน้า
ขุมทรัพย์มหาศาลที่ลอยคว้างอยู่ในอวกาศ ก็ต้องมีการลงทุนเตรียมการอย่างยิ่งใหญ่เพื่อให้ได้มา แม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มูลค่าตามที่ประมาณมาก็ดูเหมือนจะคุ้มค่าเสียยิ่งกว่า
อย่างดีพสเปซฯ ก็เตรียมการจะสร้างยานสำรวจลำเล็กน้ำหนักเบาและต้นทุนต่ำที่ชื่อว่า “ไฟร์ฟลายส์” (Fireflies) ออกไปสำรวจแหล่งทรัพยากรอวกาศใกล้โลกในปี 2015 โดยใช้เวลาเก็บข้อมูลบนอวกาศประมาณ 2-6 เดือน
จากนั้นในปี 2016 ดีฟสเปซฯ ก็จะส่งยานอวกาศขนาดใหญ่ คือ “ดรากอนฟลายส์” ไปเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยประมาณ 30-70 กิโลกรัมกลับสู่โลก โดยในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี ขึ้นอยู่กับดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย ซึ่งตัวอย่างบางส่วนที่นำกลับมานี้จะช่วยให้บริษัทพิจารณาแหล่งดำเนินการทำเหมือง ขณะที่อีกส่วนจะนำไปขายให้แก่นักวิจัยและนักสะสมทั้งหลาย
นอกจากนีี้ ระหว่างการเดินทางสำรวจของยานทั้ง 2 ทางดีฟสเปซฯ ก็จะอัพเดทภารกิจแบบสดๆ ผ่านโลกออนไลน์ พร้อมกันนี้ ยังเปิดโอกาสให้บริษัทหรือเอกชนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน ทั้งกูเกิล ลูนาร์ เอ็กซ์ ไพรซ์ (The Google Lunar X Prize) ยูนิลิเวอร์ (Unilever) และเรดบูล (Red Bull) ที่มีทุนให้แก่การแข่งขันทางด้านอวกาศมากกว่า 10 ล้านเหรียญ ทางผู้บริหารของดีฟสเปซฯ ก็ขอเชิญชวน
อย่างไรก็ดี เป้าหมายสูงสุดของดีฟเสปซนั้น ก็คือ ต้องการเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากดาวเคราะห์น้อย และใช้ประโยชน์จากอวกาศให้ได้มากที่สุด โดยมีแผนจะถลุงแร่โลหะและวัตถุอื่นๆ จากก้อนหินอวกาศภายใน 10 ปี โดยวัถตุเหล่านี้แรกสุดจะถูกนำไปสร้างดาวเทียมสื่อสารนอกโลก พร้อมทั้งทำโครงสร้างแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ส่งกลับสู่โลก ในอนาคต
ส่วนโลหะที่มีค่าอย่างเช่น แพลตินัมก็จะถูกนำส่งมาใช้ที่สู่โลก
ใครกันที่มีสิทธิ์เหนือดวงดาวและอวกาศ
แม้ว่าจะมีโอกาสทางธุรกิจมากมายที่นอกโลก แต่ใครกันที่จะได้ครอบครองทรัพยากรเหล่านี้ เป็นใครก็ตามที่สามารถเดินทางไปถึง (ก่อน) หรือมวลมนุษยชาติ บริษัทเอกชนมีสิทธิ์อ้างหาประโยชน์บนดาวเคราะห์น้อยหรือวัตถุอวกาศต่างๆ ได้หรือไม่
“กฎหมายในเรื่องแบบนี้ยังไม่ได้บัญญัติขึ้นและยังไม่มีความชัดเจน” ข้อมูลจาก ศ.เฮนรี เฮิร์ตซเฟล์ด (Henry Hertzfeld) ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายอวกาศและกิจการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington University) ซึ่งตอนนี้ยังมีความเห็นที่หลากหลาย แต่ก็ไม่มีใครสมควรได้อ้างสิิทธิ์ เพราะยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน
ศ.เฮิร์ตซเฟล์ด กล่าวอีกว่า ความคลุมเครือแบบนี้ ที่ผ่านมายังไม่จำเป็นต้องได้รับการประกาศชัด เพราะยังไม่มีบริษัทใดก่่อนหน้านี้ประกาศอย่าชัดเจนว่า จะไปทำเหมืองบนดาวเคราะห์น้อย เพราะนั่นจะทำให้เกิดการถกเถียงถึงสิทธิบนทรัพย์สินในอวกาศตามมา
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สุดกับเรื่องนี้ ก็คือ "สนธิสัญญาอวกาศ" (Outer Space Treaty : OST) ปี 1967 มีชาติสมาชิกลงนามมากถึง 98 ประเทศ และมีการบังคับใช้อย่างกว้างขวางที่สุด โดยระบุว่า ไม่มีประเทศใดที่จะอ้างอำนาจปกครองอวกาศได้ ไม่ว่าจะเป็นดวงจันทร์ หรือวัตถุอื่นใดบนท้องฟ้า
สนธิสัญญาฉบับนี้ต้องการจะปกป้องชาติที่ยากจนและยังไม่สามารถสำรวจอวกาศได้ด้วยตัวเอง รวมถึงป้องกันสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพโซเวียต (ในอดีต) ที่กำลังแข่งขันด้านอวกาศ เข้าครอบครองดวงจันทร์
อย่างไรก็ดี ทรัพยากรที่ได้จากการสำรวจอวกาศนั้น ยังไม่มีการข้อกำหนดที่ชัดเจนในสนธิสัญญา จึงมีการตีความกันไปต่างๆ
ศ.อาร์ต ดูลา (Art Dula) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอวกาศ มหาวิทยาลัยฮูสตัน (University of Houston) เชื่อว่า บริษัทเอกชนมีสิทธิ์ที่จะทำเหมืองบนดาวเคราะห์น้อย เพราะสนธิสัญญาปี 1967 ให้สิทธิแก่องค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลใช้ประโยชน์จากอวกาศได้ โดยไม่ได้ระบุด้วยซ้ำว่า ห้ามใช้เพื่อการพาณิชย์ นั่นหมายความว่า สิทธิในการทำเหมืองบนดวงดาวเป็นเรื่องของพลเมืองทั่วไป โดยไม่ต้องถูกรัฐบาลประเทศนั้นๆ ควบคุม
อีกความเห็นที่ตรงกันข้ามของ ศ.แฟรงค์ ไลย์อัล (Frank Lyall) อาจารย์ด้านกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยอัลเบอร์ดีน (University of Aberdeen, Scotland) และยังเป็นผู้อำนวยการสถานบันกฎหมายอวกาศนานาชาติ พร้อมด้วยพอล ลาร์เซน (Paul Larsen) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอวกาศ จากคณะนิติศาสตร์ จอร์จทาวน์ (Georgetown Law School) ต่างตีความว่า ไม่มีใครทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมีสิทธิ์ในดาวเคราะห์น้อย รวมถึงแร่โลหะต่างๆ ที่ได้จากดาวด้วย
เคยมีกรณีที่ศาลตัดสินในปี 2001 เมื่อชายอเมริกันคนหนึ่งอ้างกรรมสิทธิ์บนดาวเคราะห์น้อยเอรอส (Eros) โดยส่งจดหมายขอเก็บค่าจอดดาวเทียมของนาซาตอนที่ลงจอดบนเอรอส แต่ศาลตัดสินโดยใช้กฎหมายสนธิสัญญาอวกาศ (1967) ที่ระบุว่า ดวงดาวต่างๆ ไม่ใช่ของใคร ดังนั้นไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าที่จอด และนาซาก็ไม่มีสิทธิครอบครองหรือหาประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว
ด้วยบรรทัดฐานคำตัดสินเดียวกันนี้ ไลย์อัล จึงเห็นว่า ทั้งเอกชนและรัฐบาลไม่สามารถทำเหมืองหาแร่ธาตุุบนดาวเคราะห์น้อยมาใช้ประโยชน์ได้ และถ้าหากมีบริษัทไปทำเหมืองอวกาศจริง ก็ยังต้องมีประเด็นอื่นๆ ตามมาอีก เช่น พวกเขาจะทำอย่างไร, ต้องมีการวางประกันมูลค่าเท่าใด และพวกเขาได้รับอนุญาตให้ปล่อยขยะที่เหลือจากการขุดทำเหมืองทิ้งไว้บนดาวเคราะห์น้อยหรือไม่ และราคาแร่จากอวกาศจะกระทบต่อราคาแร่ในโลกหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประกาศให้ชัดเจน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักกฎหมายกังวลที่สุด ก็คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอวกาศ ถ้าเรามีข้อตกลงว่า อวกาศเป็นทรัพยากรของเราทุกคน แต่ตอนนี้ผลประโยชน์กำลังจะกลายเป็นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ที่ลงทุนเดินทางไปเก็บเกี่ยวสมบัติดังกล่าวด้วยตัวเอง ซึ่งชาวโลกจะต้องมีระบบการขอใบอนุญาต ให้หาประโยชน์จากดวงดาวต่างๆ ได้ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่ามือใครยาวสาวได้สาวเอา และเกิดการแย่งชิงทรัพยากรนอกโลกกันในที่สุด
หลังจากปีก่อน แพลเนทารีรีซอร์ส อิงค์ (Planetary Resources, Inc) ที่นำโดยเหล่าคนดังอย่าง เจมส์ คาเมรอน ผู้กำกับอวตาร และลาร์รี เพจ แห่งกูเกิล ได้ประกาศเดินหน้าทำเหมืองอวกาศ ยังไม่ทันครบปีก็เกิดมีบริษัทคู่แข่งขึ้นมาบ้างแล้ว
ดีพ สเปซ อินดัสทรีส์ อิงค์ (Deep Space Industries, Inc.,) ได้ประกาศตัวเมื่อวันที่ 22 ม.ค.2013 ที่ผ่านมาว่า มีแผนจะทำเหมืองบนดาวเคราะห์น้อย เพื่อค้นหาโลหะ น้ำ และทรัพยากรอื่นๆ โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ เช่นเดียวกับแพลเนทารีรีซอร์ส โดยทั้ง 2 บริษัทไม่ได้เป็นคู่แข่งกัน และสามารถหาประโยชน์จากการทำกิจการที่เหมือนกันได้ เพราะอวกาศนั้นกว้างใหญ่ มีที่ว่างพอให้สำหรับทุกคน
ทั้งนี้ ดีพสเปซฯ และ แพลเนทารีรีซอร์ส จะตามหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก ซึ่งส่วนใหญ่เต็มไปด้วยน้ำ และแร่โลหะหลายชนิด โดยทั้งคู่ต้องการจะนำน้ำจากดาวเคราะห์น้อยมาแยกไฮโดรเจนและออกซิเจน ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักของเชื้อเพลิงจรวด ช่วยให้ดาวเทียมหรือยานอวกาศสามารถเดินทางได้ยาวนานมากขึ้่น โดยไม่จำเป็นต้องบรรทุกเชื้อเพลิงที่แสนแพงและในปริมาณที่จำกัดมาจากโลก อีกทั้งยังจะนำโลหะมีค่า กลับมาใช้บนโลกของเรา
ดาวเคราะห์น้อยมีมากมายเกินจะใช้ไหว
นักดาราศาสตร์ระบุว่า มีดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกมากกว่า 9,000 ดวง ซึ่งค้นพบใหม่อีกราว 1,000 ดวงในทุกๆ ปี นั่นหมายความว่า ถึงจะมี 2 บริษัทแข่งกันทำเหมืองบนอวกาศ พวกเขาก็คงจะมีงานมากมายไม่หวาดไม่ไหว
พวกเรารู้จักดาวเคราะห์น้อยกันมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 1772 ที่นักคณิตศาสตร์และนักดาราศาสตร์ค้นพบว่า ด้วยระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์แต่ละดวงนั้น อาจจะมีดาวเคราะห์ดวงหนึ่งโคจรอยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส และในปี 1801 นักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนพบวัตถุพร่ามัวที่ระยะดังกล่าว นั่นก็คือ “เซเรส” (Ceres) ต่อมาวัตถุที่มีลักษณะคล้ายเซเรสจึงได้รับการจัดลำดับว่า เป็น “ดาวเคราะห์น้อย” (asteroids / minor planets)
ปัจจุบันมีดาวเคราะห์น้อยที่ได้รับการบันทึกไว้แล้วมากกว่า 20,000 ดวง ซึ่งมีรูปทรงและขนาดต่างๆ ตั้งแต่รัศมี 1 กิโลเมตร ไปยังหลายร้อยกิโลเมตร (เซเรสเป็นดาวเคราะห์น้อยที่ใหญ่ที่สุดมีรัศมี 457 กิโลเมตร) รวมถึงทิศทางการหมุนที่ยังมีความหลากหลาย
เราสามารถจัดประเภทตามส่วนประกอบได้ดังนี้
- ชนิดซี (C) เป็นดาวเคราะห์น้อยที่มีอยู่มากที่สุด คือประมาณ 75% ลักษณะของดาวมีผิวเป็นหินสีทึบ น่าจะมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบหลัก
- ชนิดเอส (S) มีอยู่ประมาณ 17% ผิวดาวมีส่วนผสมระหว่างโลหะบริสุทธิ์ เช่น นิกเกิล เหล็ก และแมกนีเซียม ทำให้สว่างกว่าแบบซีถึง 2 เท่า
- ชนิดเอ็ม (M) มีอยู่น้อย องค์ประกอบคล้ายอุกกาบาตหรือหินแร่เหล็ก มีส่วนประกอบหลักเป็นนิกเกิลและเหล็ก
อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ดาวเคราะห์น้อย คือ ชิ้นส่วนของดาวเคราะห์ และอาจจะเป็นชิ้นส่วนของระบบสุริยะในยุคแรก โดยมารวมกันก่อตัวขึ้นที่แนวระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสบดีอันเป็นรอยต่อระหว่างดาวเคราะห์หินและดาวเคราะห์ก๊าซ
เปลี่ยนก้อนหินอวกาศให้เป็นความร่ำรวย
แม้จะยังไม่เคยมีมนุษย์ลงไปเหยียบที่พื้นผิวดาวเคราะห์น้อย แต่แค่ใช้เทคนิคการสะท้อนแสง นักวิทยาศาสตร์ก็เห็นแล้วว่า ดาวหน้าตาประหลาดเหล่านี้มีส่วนผสมอะไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก นิกเกิล แมกนีเซียม น้ำ ออกซิเจน ทองคำ และแพลตินัม ล้วนปรากฎให้เห็นบนดาวเคราะห์น้อยหลายดวง
“น้ำ” เป็นสิ่งที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษในการสำรวจอวกาศ เพราะแสดงถึงความเป็นไปได้ในการตั้งนิคมอวกาศเพื่อให้มนุษย์ได้บริโภค อีกทั้งยังสามารถนำน้ำไปแยกเอาไฮโดรเจนและออกซิเจนมาใช้เพื่อการขับเคลื่อนจรวด
“แร่โลหะ” บนดาวเคราะห์น้อยก็สามารถนำมาสร้างยานอวกาศ หรือโครงสร้างอื่นๆ ที่จะประกอบกันเป็นอาคารของนิคมอวกาศ
ข้อมูลจากรายงานของวารสารทางอวกาศ (Acta Astronautica) ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อยชนิดเอสนั้นมีความอุดมสมบูรณ์ มีทั้งโลหะ แร่กึ่งตัวนำ และแม้แต่ออกซิเจนหรือน้ำ ซึ่งในบรรดาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก เป็นชนิดเอสอยู่ประมาณ 40% ซึ่งดาวเคราะห์น้อยขนาด 24 เมตรแบบเอสอาจมีแร่เหล็ก 1,100-4,400 ตัน นั่นมากพอที่จะสร้างแผงเซลล์สุริยะขนาดใหญ่ ผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ในระดับกิกะวัตต์ได้ทั้งเป็นสถานีอวกาศหรือส่งถึงโลก
อีกทั้งดาวเคราะห์น้อยขนาดเดียวกันที่ประกอบไปด้วย สารประกอบอินทรีย์ที่มีโมเลกุลของน้ำ จะผลิตน้ำได้หลายล้านลิตร นั่นถือเป็นอีกแผนการหนึ่งของแพลเนทารีรีซอสร์ซ ที่ต้องการเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากดาวเคราะห์น้อย เพื่อผลิตพลังงานขับเคลื่อนจรวด น้ำดื่ม และแหล่งออกซิเจน โดยเชื่อว่านี่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มหาศาล และถ้าจะมีคนอื่นๆ กระโดดมาทำธุรกิจนี้ด้วยก็ไม่น่าจะแปลกใจมากนัก
อย่างไรก็ดี เหล่าเอกชนต่างๆ อาจไม่ได้สนใจกับการสำรวจอวกาศหรือการทดลองวิทยาศาสตร์ แต่พวกเขาน่าจะกำลังมองหาขุมสมบัติ และนำกลับสู่โลก
องค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) เคยทำรายงานคาดการณ์ว่า มูลค่าแร่โลหะที่สกัดได้จากแถบดาวเคราะห์น้อยนั้นมีมากมายมหาศาล เรียกได้ว่าสามารถแจกประชากรบนโลกได้ต่อคนมากกว่าแสนล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราวๆ 3 ล้านล้านบาท)
ดาวเคราะห์น้อย 1 ดวงที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีมวลประมาณ 2 พันล้านตัน และในระบบสุริยะมีดาวเคราะห์น้อยขนาดที่ว่านี้อยู่ประมาณ 1 ล้านดวง เมื่อบวกรวมกันแล้วหมายความว่า จะมีนิกเกิล 30 ล้านตัน โคบอลต์ 1.5 ล้านตัน และแพลตินัม อีก 7,500 ตัน ถ้านับเฉพาะแพลตินัมก็มีมูลค่ามากกว่า 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปแล้ว
ยานสำรวจเหมือง พร้อมเดินหน้า
ขุมทรัพย์มหาศาลที่ลอยคว้างอยู่ในอวกาศ ก็ต้องมีการลงทุนเตรียมการอย่างยิ่งใหญ่เพื่อให้ได้มา แม้ว่าจะต้องใช้เงินลงทุนหลายพันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มูลค่าตามที่ประมาณมาก็ดูเหมือนจะคุ้มค่าเสียยิ่งกว่า
อย่างดีพสเปซฯ ก็เตรียมการจะสร้างยานสำรวจลำเล็กน้ำหนักเบาและต้นทุนต่ำที่ชื่อว่า “ไฟร์ฟลายส์” (Fireflies) ออกไปสำรวจแหล่งทรัพยากรอวกาศใกล้โลกในปี 2015 โดยใช้เวลาเก็บข้อมูลบนอวกาศประมาณ 2-6 เดือน
จากนั้นในปี 2016 ดีฟสเปซฯ ก็จะส่งยานอวกาศขนาดใหญ่ คือ “ดรากอนฟลายส์” ไปเก็บตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยประมาณ 30-70 กิโลกรัมกลับสู่โลก โดยในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 ปี ขึ้นอยู่กับดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย ซึ่งตัวอย่างบางส่วนที่นำกลับมานี้จะช่วยให้บริษัทพิจารณาแหล่งดำเนินการทำเหมือง ขณะที่อีกส่วนจะนำไปขายให้แก่นักวิจัยและนักสะสมทั้งหลาย
นอกจากนีี้ ระหว่างการเดินทางสำรวจของยานทั้ง 2 ทางดีฟสเปซฯ ก็จะอัพเดทภารกิจแบบสดๆ ผ่านโลกออนไลน์ พร้อมกันนี้ ยังเปิดโอกาสให้บริษัทหรือเอกชนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน ทั้งกูเกิล ลูนาร์ เอ็กซ์ ไพรซ์ (The Google Lunar X Prize) ยูนิลิเวอร์ (Unilever) และเรดบูล (Red Bull) ที่มีทุนให้แก่การแข่งขันทางด้านอวกาศมากกว่า 10 ล้านเหรียญ ทางผู้บริหารของดีฟสเปซฯ ก็ขอเชิญชวน
อย่างไรก็ดี เป้าหมายสูงสุดของดีฟเสปซนั้น ก็คือ ต้องการเก็บเกี่ยวทรัพยากรจากดาวเคราะห์น้อย และใช้ประโยชน์จากอวกาศให้ได้มากที่สุด โดยมีแผนจะถลุงแร่โลหะและวัตถุอื่นๆ จากก้อนหินอวกาศภายใน 10 ปี โดยวัถตุเหล่านี้แรกสุดจะถูกนำไปสร้างดาวเทียมสื่อสารนอกโลก พร้อมทั้งทำโครงสร้างแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ส่งกลับสู่โลก ในอนาคต
ส่วนโลหะที่มีค่าอย่างเช่น แพลตินัมก็จะถูกนำส่งมาใช้ที่สู่โลก
ใครกันที่มีสิทธิ์เหนือดวงดาวและอวกาศ
แม้ว่าจะมีโอกาสทางธุรกิจมากมายที่นอกโลก แต่ใครกันที่จะได้ครอบครองทรัพยากรเหล่านี้ เป็นใครก็ตามที่สามารถเดินทางไปถึง (ก่อน) หรือมวลมนุษยชาติ บริษัทเอกชนมีสิทธิ์อ้างหาประโยชน์บนดาวเคราะห์น้อยหรือวัตถุอวกาศต่างๆ ได้หรือไม่
“กฎหมายในเรื่องแบบนี้ยังไม่ได้บัญญัติขึ้นและยังไม่มีความชัดเจน” ข้อมูลจาก ศ.เฮนรี เฮิร์ตซเฟล์ด (Henry Hertzfeld) ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายอวกาศและกิจการระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยจอร์จ วอชิงตัน (George Washington University) ซึ่งตอนนี้ยังมีความเห็นที่หลากหลาย แต่ก็ไม่มีใครสมควรได้อ้างสิิทธิ์ เพราะยังเป็นเรื่องที่ซับซ้อน
ศ.เฮิร์ตซเฟล์ด กล่าวอีกว่า ความคลุมเครือแบบนี้ ที่ผ่านมายังไม่จำเป็นต้องได้รับการประกาศชัด เพราะยังไม่มีบริษัทใดก่่อนหน้านี้ประกาศอย่าชัดเจนว่า จะไปทำเหมืองบนดาวเคราะห์น้อย เพราะนั่นจะทำให้เกิดการถกเถียงถึงสิทธิบนทรัพย์สินในอวกาศตามมา
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สุดกับเรื่องนี้ ก็คือ "สนธิสัญญาอวกาศ" (Outer Space Treaty : OST) ปี 1967 มีชาติสมาชิกลงนามมากถึง 98 ประเทศ และมีการบังคับใช้อย่างกว้างขวางที่สุด โดยระบุว่า ไม่มีประเทศใดที่จะอ้างอำนาจปกครองอวกาศได้ ไม่ว่าจะเป็นดวงจันทร์ หรือวัตถุอื่นใดบนท้องฟ้า
สนธิสัญญาฉบับนี้ต้องการจะปกป้องชาติที่ยากจนและยังไม่สามารถสำรวจอวกาศได้ด้วยตัวเอง รวมถึงป้องกันสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพโซเวียต (ในอดีต) ที่กำลังแข่งขันด้านอวกาศ เข้าครอบครองดวงจันทร์
อย่างไรก็ดี ทรัพยากรที่ได้จากการสำรวจอวกาศนั้น ยังไม่มีการข้อกำหนดที่ชัดเจนในสนธิสัญญา จึงมีการตีความกันไปต่างๆ
ศ.อาร์ต ดูลา (Art Dula) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอวกาศ มหาวิทยาลัยฮูสตัน (University of Houston) เชื่อว่า บริษัทเอกชนมีสิทธิ์ที่จะทำเหมืองบนดาวเคราะห์น้อย เพราะสนธิสัญญาปี 1967 ให้สิทธิแก่องค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลใช้ประโยชน์จากอวกาศได้ โดยไม่ได้ระบุด้วยซ้ำว่า ห้ามใช้เพื่อการพาณิชย์ นั่นหมายความว่า สิทธิในการทำเหมืองบนดวงดาวเป็นเรื่องของพลเมืองทั่วไป โดยไม่ต้องถูกรัฐบาลประเทศนั้นๆ ควบคุม
อีกความเห็นที่ตรงกันข้ามของ ศ.แฟรงค์ ไลย์อัล (Frank Lyall) อาจารย์ด้านกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยอัลเบอร์ดีน (University of Aberdeen, Scotland) และยังเป็นผู้อำนวยการสถานบันกฎหมายอวกาศนานาชาติ พร้อมด้วยพอล ลาร์เซน (Paul Larsen) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอวกาศ จากคณะนิติศาสตร์ จอร์จทาวน์ (Georgetown Law School) ต่างตีความว่า ไม่มีใครทั้งภาครัฐและเอกชนต่างมีสิทธิ์ในดาวเคราะห์น้อย รวมถึงแร่โลหะต่างๆ ที่ได้จากดาวด้วย
เคยมีกรณีที่ศาลตัดสินในปี 2001 เมื่อชายอเมริกันคนหนึ่งอ้างกรรมสิทธิ์บนดาวเคราะห์น้อยเอรอส (Eros) โดยส่งจดหมายขอเก็บค่าจอดดาวเทียมของนาซาตอนที่ลงจอดบนเอรอส แต่ศาลตัดสินโดยใช้กฎหมายสนธิสัญญาอวกาศ (1967) ที่ระบุว่า ดวงดาวต่างๆ ไม่ใช่ของใคร ดังนั้นไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าที่จอด และนาซาก็ไม่มีสิทธิครอบครองหรือหาประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว
ด้วยบรรทัดฐานคำตัดสินเดียวกันนี้ ไลย์อัล จึงเห็นว่า ทั้งเอกชนและรัฐบาลไม่สามารถทำเหมืองหาแร่ธาตุุบนดาวเคราะห์น้อยมาใช้ประโยชน์ได้ และถ้าหากมีบริษัทไปทำเหมืองอวกาศจริง ก็ยังต้องมีประเด็นอื่นๆ ตามมาอีก เช่น พวกเขาจะทำอย่างไร, ต้องมีการวางประกันมูลค่าเท่าใด และพวกเขาได้รับอนุญาตให้ปล่อยขยะที่เหลือจากการขุดทำเหมืองทิ้งไว้บนดาวเคราะห์น้อยหรือไม่ และราคาแร่จากอวกาศจะกระทบต่อราคาแร่ในโลกหรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะต้องได้รับการประกาศให้ชัดเจน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่นักกฎหมายกังวลที่สุด ก็คือ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอวกาศ ถ้าเรามีข้อตกลงว่า อวกาศเป็นทรัพยากรของเราทุกคน แต่ตอนนี้ผลประโยชน์กำลังจะกลายเป็นของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง ที่ลงทุนเดินทางไปเก็บเกี่ยวสมบัติดังกล่าวด้วยตัวเอง ซึ่งชาวโลกจะต้องมีระบบการขอใบอนุญาต ให้หาประโยชน์จากดวงดาวต่างๆ ได้ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่ามือใครยาวสาวได้สาวเอา และเกิดการแย่งชิงทรัพยากรนอกโลกกันในที่สุด