จากคอลัมน์ที่ผ่านมาผมได้แนะนำแอปพลิเคชันสำหรับการถ่ายภาพทางดาราศาสตร์ไปบางส่วน ซึ่งจริงๆ แล้วยังมีแอปฯ ที่นิยมใช้ทางดาราศาสตร์อีกมากกมายแต่ ที่ได้รับความนิยมนั้นบางครั้งเราก็อาจต้องซื้อครับ เพราะอย่างที่รู้กันว่า “ของฟรีที่ดีๆ ไม่มีในโลก” ดังนั้น หากอยากได้ของดีก็ต้องลงทุนกันหน่อยครับ ซึ่งคอลัมน์นี้จะแนะนำทั้งแอปฯ ที่เสียตังค์และฟรีที่น่าใช้ครับ
Starmap HD


แอปพลิเคชัน Starmap HD เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการดูดาวแบบ Real time ในรูปแบบเส้นกลุ่มดาวที่คล้ายกับแผนที่ดาว โดยอ้างอิงจากตำแหน่งของผู้สังเกต และสามารถดูดาวทั้งในอดีตและในอนาคตได้ นอกจากนั้น ยังใช้ค้นหาตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้าต่างๆโดยมีเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งานด้านดาราศาสตร์เป็นอย่างดี เรียกได้ว่า มีข้อมูลอัปเดตทันสมัย และมีฟังก์ชันการใช้งานค่อนข้างครบถ้วนและสมบูรณ์มากแอปฯ หนึ่งทีเดียว
แอปฯ นี้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเทหวัตถุท้องฟ้าที่ค้นพบใหม่ๆ คอยอัปเดตให้เสมอๆ เช่น ดาวหางแพนสตาร์ส (PANSTARRS) ดาวหางไอซอน (ISON) ซึ่งเป็นดาวหางสว่างใหญ่ที่จะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าในปี 2556 นี้ ก็จะทำให้เราทราบข้อมูลและตำแหน่งของดาวหางได้ก่อนใคร รวมทั้งมีเวลาเตรียมตัววางแผนในการศึกษาและถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี


นอกจากนี้ แอปฯ ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการทำ Polar Alignment สำหรับขาตั้งกล้องแบบ Equatorial เพื่อช่วยในการจัดตำแหน่งของขาตั้งกล้องดูดาวให้ตรงทิศเหนือถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
Redshift


แอปพลิเคชัน Redshift เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการดูดาวแบบ Real time เช่นเดียวกับแอปฯ ดูดาวอื่นๆ แต่ความพิเศษของแอปฯ นี้คือการแสดงภาพของกลุ่มดาวและภาพในจินตนาการได้ค่อนข้างสวยงาม และที่สำคัญคือ มีเครื่องมือที่เน้นสำหรับสืบค้นเทหวัตถุ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวหาง เนบิวลา กาแล็กซี หรือแม้กระทั่งดาวเคราะห์น้อยต่างๆ ได้อย่างสวยงาม โดยอ้างอิงจากตำแหน่งของผู้สังเกต และสามารถดูดาวทั้งในอดีตและในอนาคตได้ ซึ่งแอปฯ นี้เหมาะสำหรับใช้ในการสืบค้นวัตถุท้องฟ้าและช่วยให้เห็นขนาดและพื้นที่ของเทหวัตถุนั้นที่ต้องการจะบันทึกภาพได้เป็นอย่างดี
SkySafari



แอปพลิเคชัน SkySafari เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการดูดาวแบบ Real time โดยสามารถบอกรายละเอียดของข้อมูลและตัวอย่างภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าได้อย่างละเอียด ทั้งตำแหน่ง บริเวณกลุ่มดาว ความสว่าง ได้อย่างละเอียด รวมทั้งสามารถบอกได้ว่า ณ ช่วงเวลาปัจจุบันมีเทหวัตถุอะไรที่ปรากฏบนท้องฟ้า ณ เวลานั้นๆ รวมทั้งบอกเวลาการขึ้นและตกได้อีกด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกแอปฯ หนึ่งที่นักดาราศาสตร์ต้องมีติดตัวไว้เลยทีเดียว ที่สำคัญแอปฯ นี้แจกฟรีครับ
SkyTime


แอปพลิเคชัน SkyTime เป็นแอปฯ ที่ใช้สำหรับการอ้างอิงเวลามาตรฐาน ที่เป็นเวลาสากลที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่งในทางดาราศาสตร์นั้น เวลามาตรฐานถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบันทึกภาพหรือการเก็บข้อมูล โดยจะแสดงเวลาท้องถิ่น, Julian Date, Local Sidereal Time, Universal Time และนอกจากนั้น ยังสามารถแสดงตำแหน่ง ละติจูด ลองจิจูด ของตำแหน่งสถานที่ผู้สังเกตได้อีกด้วย
Moon Globe



แอปพลิเคชัน Moon Globe เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการศึกษาหลุมบนดวงจันทร์ ซึ่งจะสามารถบอกความกว้างและชื่อต่างๆ ของหลุมบนดวงจันทร์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังสามารถตำแหน่งที่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดวงจันทร์ลงจอดได้อีกด้วย

เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน
Starmap HD
แอปพลิเคชัน Starmap HD เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการดูดาวแบบ Real time ในรูปแบบเส้นกลุ่มดาวที่คล้ายกับแผนที่ดาว โดยอ้างอิงจากตำแหน่งของผู้สังเกต และสามารถดูดาวทั้งในอดีตและในอนาคตได้ นอกจากนั้น ยังใช้ค้นหาตำแหน่งของเทหวัตถุบนท้องฟ้าต่างๆโดยมีเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งานด้านดาราศาสตร์เป็นอย่างดี เรียกได้ว่า มีข้อมูลอัปเดตทันสมัย และมีฟังก์ชันการใช้งานค่อนข้างครบถ้วนและสมบูรณ์มากแอปฯ หนึ่งทีเดียว
แอปฯ นี้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับเทหวัตถุท้องฟ้าที่ค้นพบใหม่ๆ คอยอัปเดตให้เสมอๆ เช่น ดาวหางแพนสตาร์ส (PANSTARRS) ดาวหางไอซอน (ISON) ซึ่งเป็นดาวหางสว่างใหญ่ที่จะสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าในปี 2556 นี้ ก็จะทำให้เราทราบข้อมูลและตำแหน่งของดาวหางได้ก่อนใคร รวมทั้งมีเวลาเตรียมตัววางแผนในการศึกษาและถ่ายภาพได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ แอปฯ ยังมีเครื่องมือที่ใช้ในการทำ Polar Alignment สำหรับขาตั้งกล้องแบบ Equatorial เพื่อช่วยในการจัดตำแหน่งของขาตั้งกล้องดูดาวให้ตรงทิศเหนือถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น
Redshift
แอปพลิเคชัน Redshift เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการดูดาวแบบ Real time เช่นเดียวกับแอปฯ ดูดาวอื่นๆ แต่ความพิเศษของแอปฯ นี้คือการแสดงภาพของกลุ่มดาวและภาพในจินตนาการได้ค่อนข้างสวยงาม และที่สำคัญคือ มีเครื่องมือที่เน้นสำหรับสืบค้นเทหวัตถุ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวหาง เนบิวลา กาแล็กซี หรือแม้กระทั่งดาวเคราะห์น้อยต่างๆ ได้อย่างสวยงาม โดยอ้างอิงจากตำแหน่งของผู้สังเกต และสามารถดูดาวทั้งในอดีตและในอนาคตได้ ซึ่งแอปฯ นี้เหมาะสำหรับใช้ในการสืบค้นวัตถุท้องฟ้าและช่วยให้เห็นขนาดและพื้นที่ของเทหวัตถุนั้นที่ต้องการจะบันทึกภาพได้เป็นอย่างดี
SkySafari
แอปพลิเคชัน SkySafari เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการดูดาวแบบ Real time โดยสามารถบอกรายละเอียดของข้อมูลและตัวอย่างภาพถ่ายของวัตถุท้องฟ้าได้อย่างละเอียด ทั้งตำแหน่ง บริเวณกลุ่มดาว ความสว่าง ได้อย่างละเอียด รวมทั้งสามารถบอกได้ว่า ณ ช่วงเวลาปัจจุบันมีเทหวัตถุอะไรที่ปรากฏบนท้องฟ้า ณ เวลานั้นๆ รวมทั้งบอกเวลาการขึ้นและตกได้อีกด้วย ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกแอปฯ หนึ่งที่นักดาราศาสตร์ต้องมีติดตัวไว้เลยทีเดียว ที่สำคัญแอปฯ นี้แจกฟรีครับ
SkyTime
แอปพลิเคชัน SkyTime เป็นแอปฯ ที่ใช้สำหรับการอ้างอิงเวลามาตรฐาน ที่เป็นเวลาสากลที่ใช้กันทั่วโลก ซึ่งในทางดาราศาสตร์นั้น เวลามาตรฐานถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการบันทึกภาพหรือการเก็บข้อมูล โดยจะแสดงเวลาท้องถิ่น, Julian Date, Local Sidereal Time, Universal Time และนอกจากนั้น ยังสามารถแสดงตำแหน่ง ละติจูด ลองจิจูด ของตำแหน่งสถานที่ผู้สังเกตได้อีกด้วย
Moon Globe
แอปพลิเคชัน Moon Globe เป็นแอปฯ ที่ใช้ในการศึกษาหลุมบนดวงจันทร์ ซึ่งจะสามารถบอกความกว้างและชื่อต่างๆ ของหลุมบนดวงจันทร์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังสามารถตำแหน่งที่ยานอวกาศที่ส่งไปสำรวจดวงจันทร์ลงจอดได้อีกด้วย
เกี่ยวกับผู้เขียน
ศุภฤกษ์ คฤหานนท์
สำเร็จการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต สาขาฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่สารสนเทศทางดาราศาสตร์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร., เคยทำวิจัยเรื่อง การทดสอบค่าทัศนวิสัยท้องฟ้าบริเวณสถานที่ก่อสร้างหอดูดาวแห่งชาติ มีประสบการณ์ในฐานะวิทยากรอบรมการดูดาวเบื้องต้น และเป็นวิทยากรสอนการถ่ายภาพดาราศาสตร์ในโครงการประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ ประจำปี 2554 ของ สดร.ในหัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์ในเมืองไทย”
“คุณค่าของภาพถ่ายนั้นไม่เพียงแต่ให้ความงามด้านศิลปะ แต่ทุกภาพยังสามารถอธิบายด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย”
อ่านบทความ ศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ทุกวันจันทร์ที่ 1 และ 3 ของเดือน