วว.- วว.เตรียมจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย สนับสนุนการวิจัยเชิงธุรกิจเพื่อพลังงานทดแทน คาดจะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาหร่ายอย่างครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทย หวังสนับสนุนการวิจัยเชิงธุรกิจเพื่อพลังงานทดแทน
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า วว.เป็นหน่วยงานเดียวของประเทศที่มีการดำเนินงานด้านสาหร่ายน้ำจืดขนาดเล็กอย่างครบวงจร ตั้งแต่การจัดตั้งคลังสาหร่าย (TISTR Algal Culture Collection: TISTR ACC) วิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการแก่ภาคเอกชน มีผลงานเป็นยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ดังนั้น คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงสนับสนุนให้ วว.ขยายการดำเนินการในด้านนี้ให้กว้างขวางและครอบคลุมถึงสาหร่ายทะเลขนาดเล็ก เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทรัพยากรชีวภาพสาหร่าย โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมนั้น ให้สามารถตอบสนองความต้องการของเอกชนได้ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว.
ศูนย์ความเป็นเลิศดังกล่าวจะขยายสมรรถนะการดำเนินงานด้านสาหร่ายทะเลเพิ่มขึ้น และยกระดับคลังสาหร่าย วว.เป็นศูนย์ทรัพยากรสาหร่ายเพื่อการวิจัย (TISTR Algal Research Resource Center: TISTR ARRC) ที่ดำเนินงานตามมาตรฐาน OECD และศูนย์ทรัพยากรสาหร่ายเพื่อการวิจัยจะเป็นหน่วยย่อยของคลังสาหร่าย TISTR ACC ที่จะสนับสนุนการคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่มีศักยภาพการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น เกษตร อุตสาหกรรม พลังงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมต่อยอดงานวิจัย พัฒนากับภาคเอกชนที่มีความต้องการลงทุนทั้งรูปแบบโครงการบริการวิจัย และโครงการความร่วมมือ
“วว.ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่ายในปี 2556 จำนวน 40 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานพัฒนาเทคโนโลยี กระบวนการ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ ทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สายพันธุ์สาหร่ายพร้อมข้อมูล สิทธิบัตร ความลับทางการค้า ที่สามารถถ่ายทอดสู่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการายย่อย วิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตทางการค้า โดยคาดว่าจะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาหร่ายอย่างครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทย รวมทั้งให้บริการวิจัยด้านสาหร่ายแก่ภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างทั่วถึง” ผู้ว่าการ วว.กล่าว
ด้าน ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว.กล่าวถึงผลกระทบเชิงสังคมจากการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย ว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่ายนี้จะมีบทบาทในการเป็นศูนย์ทรัพยากรสาหร่ายเพื่อการวิจัย (Algal Research Resources Center, ARRC) เป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายนอกถิ่นกำเนิด (ex situ conservation) เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (sustainable utilization) จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนและที่เกี่ยวเนื่อง ช่วยฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำทั่วประเทศ นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปา การลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชน้ำและสาหร่ายที่เป็นพิษ รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรและพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน (food and energy security) เนื่องจากการผลิตพลังงานจากสาหร่ายนั้นไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพืชอาหาร
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กล่าวว่า วว.เป็นหน่วยงานเดียวของประเทศที่มีการดำเนินงานด้านสาหร่ายน้ำจืดขนาดเล็กอย่างครบวงจร ตั้งแต่การจัดตั้งคลังสาหร่าย (TISTR Algal Culture Collection: TISTR ACC) วิจัย พัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี และให้บริการแก่ภาคเอกชน มีผลงานเป็นยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ดังนั้น คณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงสนับสนุนให้ วว.ขยายการดำเนินการในด้านนี้ให้กว้างขวางและครอบคลุมถึงสาหร่ายทะเลขนาดเล็ก เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทรัพยากรชีวภาพสาหร่าย โดยการผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมนั้น ให้สามารถตอบสนองความต้องการของเอกชนได้ ด้วยการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย วว.
ศูนย์ความเป็นเลิศดังกล่าวจะขยายสมรรถนะการดำเนินงานด้านสาหร่ายทะเลเพิ่มขึ้น และยกระดับคลังสาหร่าย วว.เป็นศูนย์ทรัพยากรสาหร่ายเพื่อการวิจัย (TISTR Algal Research Resource Center: TISTR ARRC) ที่ดำเนินงานตามมาตรฐาน OECD และศูนย์ทรัพยากรสาหร่ายเพื่อการวิจัยจะเป็นหน่วยย่อยของคลังสาหร่าย TISTR ACC ที่จะสนับสนุนการคัดเลือกสายพันธุ์สาหร่ายที่มีศักยภาพการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น เกษตร อุตสาหกรรม พลังงาน และสิ่งแวดล้อม เพื่อร่วมต่อยอดงานวิจัย พัฒนากับภาคเอกชนที่มีความต้องการลงทุนทั้งรูปแบบโครงการบริการวิจัย และโครงการความร่วมมือ
“วว.ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่ายในปี 2556 จำนวน 40 ล้านบาท โดยตั้งเป้าหมายในการดำเนินงานพัฒนาเทคโนโลยี กระบวนการ นวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ ทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ สายพันธุ์สาหร่ายพร้อมข้อมูล สิทธิบัตร ความลับทางการค้า ที่สามารถถ่ายทอดสู่ภาคเอกชน ผู้ประกอบการายย่อย วิสาหกิจชุมชนเพื่อการผลิตทางการค้า โดยคาดว่าจะเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านสาหร่ายอย่างครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทย รวมทั้งให้บริการวิจัยด้านสาหร่ายแก่ภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างทั่วถึง” ผู้ว่าการ วว.กล่าว
ด้าน ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ ผู้เชี่ยวชาญวิจัย วว.กล่าวถึงผลกระทบเชิงสังคมจากการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่าย ว่า ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสาหร่ายนี้จะมีบทบาทในการเป็นศูนย์ทรัพยากรสาหร่ายเพื่อการวิจัย (Algal Research Resources Center, ARRC) เป็นแหล่งรวบรวมสายพันธุ์สาหร่ายนอกถิ่นกำเนิด (ex situ conservation) เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (sustainable utilization) จะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อนและที่เกี่ยวเนื่อง ช่วยฟื้นฟูสภาพแหล่งน้ำทั่วประเทศ นำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายในการผลิตน้ำประปา การลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชน้ำและสาหร่ายที่เป็นพิษ รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ทางการเกษตรและพื้นที่แห้งแล้ง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน (food and energy security) เนื่องจากการผลิตพลังงานจากสาหร่ายนั้นไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพืชอาหาร