ตลอดปี 2012 มีเรื่องราวสำคัญทางวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่ประเด็นวันสิ้นโลกตามปฏิทินมายา ที่หยิบยกปรากฏการณ์มาอ้างเป็นเหตุผลวันโลกดับ ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่สะท้อนว่าดวงอาทิตย์เริ่มกลับมาตื่นตัวตามรอบวัฏจักรอีกครั้ง การค้นพบ “ว่าที่ฮิกกส์” หรือการจากไปของ “นีล อาร์มสตรอง” มนุษย์คนแรกที่เหยียบดวงจันทร์ ตลอดปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” และการดิ่งพสุธาจากขอบอวกาศ
2012 ลุ้นสิ้นโลก
เป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงล่วงหน้า 2-3 ปีสำหรับประเด็นวันสิ้นโลกที่หยิบยกเอา “วันสิ้นสุด” ของปฎิทินรอบยาว (Long Count) ของชาวมายาที่ตรงกับวันที่ 21 ธ.ค.2012 เป็นวันสิ้นโลก ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าอิทธิพลจากภาพยนตร์ฮอลลิวูดได้โหมกระแสความเชื่อเกี่ยวกับสิ้นโลกให้ยิ่งเข้มข้น โดยสิ่งที่ถูกอ้างมาเป็นสาเหตุของวันโลกแตก มีทั้งการอ้างอิทธิพลดาวเคราะห์เรียงตัวกันซึ่งจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่รุนแรงขึ้น การกลับขั้วของแม่เหล็กโลก หรือการถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน
ทางด้านผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศต่างออกมาชี้แจงถึงประเด็นตื่นตัวดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นว่าแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ต่างๆ ซึ่งล้วนอธิบายไปทิศทางเดียวกันว่า มีเพียงแรงดึงดูดจาก “ดวงจันทร์” และ “ดวงอาทิตย์” เท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อโลกมากที่สุด ในขณะที่ดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ มีอิทธิพลด้านแรงดึงดูดต่อโลกน้อยมากจนแทบไม่มีความหมาย
ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่กังวลนั้นโลกก็มีสนามแม่เหล็กค่อยปกป้องไว้ และสิ่งที่จะได้รัผลกระทบมากที่สุดคือดาวเทียมและมนุษย์อวกาศที่อยู่ในวงโคจร โดยเหตุการร้ายแรงที่สุดคือสนามแม่เหล็กจากพายุสุริยะรบกวนระบบจ่ายแสไฟฟ้าในแคนาดา จนทำให้เกิดไฟดับครั้งใหญ่นาน 9 ชั่วโมง เมื่อปี 2532 เท่านั้น และนักวิทยาศาสตร์ยังยืนยันว่าในรอบ 100 ปีนี้ไม่มีดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสพุ่งชนโลกอย่างแน่นอน ส่วนโอกาสที่โลกจะถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนมากที่สุดคือในวันที่ 16 มี.ค.ในปี 2880
อ่านเพิ่มเติม
ขุดพบ “ปฏิทินมายา” เก่าแก่ที่สุดแต่ไม่ระบุโลกดับปี 2012
เคลียร์อีกครั้ง! โลกจะดับไหม 2012?
2012 นักวิทย์นาซาฟันธงโลกยังไม่ดับ
นักฟิสิกส์โนเบลยันข่าวลือโลกแตก 2012 ไร้หลักการวิทยาศาสตร์
ตรวจสุขภาพโลก ก่อนวันหายนะเกิด
ดวงอาทิตย์ตื่นตัวพายุสุริยะมากขึ้น
หลังจากเงียบสงบมานานและนิ่งสนิทในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน ดวงอาทิตย์ก็เริ่มตื่นตัวขึ้นตามรอบวัฏจักรสุริยะ (solar cycle) 11 ปี และเกิดพายุสุริยะรุนแรงในรอบ 6 ปีเมื่อปลายเดือน ม.ค. และทำให้เกิดแสงเหนือแสงใต้หรือออโรราที่สวยงามบริเวณขั้วโลกเหนือตามมา จากนั้นก็เกิดปรากฏการณ์พายุสุริยะและการพ่นมวลโคโรนา (coronal mass ejection) หรือซีเอ็มอี (CME) ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ หากส่องดูดวงอาทิตย์โดยมีอุปกรณ์กรองแสงที่ดีพอจะเห็นจุดมืด (sun spot) อยู่หลายจุด ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดพายุสุริยะ และนักวิทยาศาสตร์ระบุว่ากิจกรรมบนดวงอาทิตย์จะเข้มข้นที่สุดในปี 2013
อ่านเพิ่มเติม
พายุสุริยะถล่มโลกรุนแรงสุดในรอบ 6 ปี
“แสงเหนือ” สวยๆ จากพายุสุริยะครั้งรุนแรง
หวั่นโลกรับผลกระทบจากพายุสุริยะโดยตรงในรอบ 5 ปี
งามเหลือ “แสงออโรรา” หลังดวงอาทิตย์ปะทุรุนแรงเมื่อวันศุกร์
เผยคลิป “ดวงอาทิตย์” ปะทุรุนแรง
นาซาส่งยานแฝดขึ้นไปตรวจแถบรังสีรอบโลก-ศึกษาผลกระทบพายุสุริยะ
ว้าว! คลิป “ดวงอาทิตย์” ปะทุอีก คราวนี้ยืดยาวสุดๆ
แผ่นดินไหวสะเทือนไทย
ช่วงต้นปีแผ่นดินไหวได้สั่นสะเทือนความตื่นตระหนกอีกครั้ง โดยเฉพาะคนไทยเพราะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 8.3 ริกเตอร์บริเวณเกาะสุมาตรา ใกล้ๆ กับบริเวณที่เคยเกิดแผ่นดินไหวและก่อให้เกิดสึนามิที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายหมื่นคนเมื่อปี 2547 แม้แต่นักวิชาการก็ยังให้ความเห็นว่า “แปลก” และแรงสั่นสะเทือนก็รู้สึกได้ภาคใต้ของไทย
จากนั้นไม่นานก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งประชาชนต่างตื่นตระหนกและลือกันว่าภูเก็ตอาจจะจมทะเล หากแต่นักวิชาการก็ออกมาชี้แจงว่า ภูเก็ตไม่จมลงง่ายๆ เพราะตั้งอยู่บนฐานหินแข็งอายุกว่า 100 ล้านปี แต่ก็ทำให้คนไทยได้รู้จักรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยมากขึ้น และเมื่อราว 2,000 ปีก่อนบริเวณรอยเลื่อนทั้งสองเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
ส่วนกรุงเทพฯ ที่แม้ไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้รอยเลื่อน แต่ก็มีเสียงห่วงใยจากนักวิชาการเพราะตั้งอยู่บนดินอ่อนที่ทำให้ไวต่อแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว โดยเปรียบเทียบคล้ายกับเม็กซิโกซิตีที่ตั้งอยู่บนดินอ่อนเช่นกัน และเคยเกิดเหตุตึกถล่มราบเป็นหน้ากลองเมื่อ 27 ปีก่อน จากแผ่นดินไหวที่อยู่ไกลกว่า 350 กิโลเมตร ซึ่งนักวิชาการได้แนะนำให้มีการตรวจสอบอาคารและปรับปรุงเพื่อรับมือต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น
อ่านเพิ่มเติม
นักวิชาการชี้ แผ่นดินไหวครั้งนี้แปลก เพราะห่างจากครั้งก่อนแค่ 8 ปี
เข้าใจ “แผ่นดินไหว” กับนักธรณีมหิดล
รู้ไหมว่า....ไทยมี 15 รอยเลื่อนมีพลัง
แนะเสริมกำลังรวมให้อาคารป้องกันตึกกรุงถล่มจากแผ่นดินไหว
กรุงเทพฯ เหมือน “เม็กซิโกซิตี” ที่ราบคาบจากแผ่นดินไหว 27 ปีก่อน
จับตา “รอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย” หวั่นไหวใหญ่ซ้ำรอย 2,000 ปี
เคยเห็นไหม? แผนที่รวมเหตุ “แผ่นดินไหว” ตั้งแต่ 1898
ปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
เมื่อ 8 ปีก่อนเคยเกิดปรากฏการณ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” (Transit of Venus) แต่หลังจากเกิดปรากฏการณ์เดียวกันนี้เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2012 ที่ผ่านมา ก็ต้องรอต่อไปอีก 105 ปีจึงจะเกิดปรากฏการณ์นี้อีกครั้งในวันที่ 11 ธ.ค.2660 โดยในรอบ 243 ปีจะเกิดปรากฏการณ์นี้เพียง 4 ครั้ง และมีรอบปราฏการณ์เป็นคู่ ซึ่งแต่ละคู่จะห่างกัน 121.5 (+ หรือ – 8) ปี และใน 1 คู่นั้นจะเกิดห่างกัน 8 ปี หากครั้งแรกของคู่แรกเกิดห่างจากครั้งแรกของคู่หลัง 129.5 ปี ครั้งแรกของคู่หลังจากห่างจากครั้งแรกของรอบถัดไป 113.5 ปี
ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้เพื่อคำนวณหาระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งมีการทดลองกันข้ามศตวรรษกว่าจะสำเร็จ แต่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่สามารถหาระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์นี้ก็ยังมีความสำคัญเพราะเป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อค้นหาดาวเคราะฆ์นอกระบบสุริยะ จากการคำนวณแสงที่หรี่ลงเมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤษ์ของตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม
สดร.ชวนชมปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
นาซาวางแผนใช้ “ดวงจันทร์” เป็นกระจกส่อง “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
สดร.จับมือเกาหลีถ่ายทอดปรากฏการณ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
2 อุปกรณ์หาง่ายใช้ดู “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
รู้ไหมว่า...137 ปีก่อน ฝรั่งเคยสังเกต “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ในไทย
“ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ปรากฏการณ์ค้นหาระยะห่างโลก-ดวงอาทิตย์
ชม “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” จากมุมมองในอวกาศ
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
เก็บไว้เป็นภาพจำ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ทั่วฟ้าเมืองไทย
สวยงาม “พระอาทิตย์ทรงกลด” ระหว่างดาวศุกร์ผ่านหน้า
จีนเชื่อมต่อยานในวงโคจรสำเร็จ อเมริกาปล่อยเอกชนทำธุรกิจขนส่งอวกาศ
ความสำเร็จของจีนในการส่งมนุษย์อวกาศ 3 คนไปพร้อมกับยานอวกาศเสินโจว 9 (Shenzhou 9) เพื่อเชื่อมต่อกับยานเทียนกง 1 (Tiangong 1) ได้สำเร็จเมื่อเดือน มิ.ย.2012 ซึ่งเป็นบันไดไปสู่การสร้างสถานีอวกาศของตัวเองภายในปี 2020 รวมถึงการสร้างคนไปเยือนดวงจันทร์ แม้จะมีเสียงค่อนค่อดจากฝั่งตะวันตกว่าสถานีอวกาศของจีนนั้นเล็กกว่าสถานีอวกาศลำแรกของอดีตสหภาพโซเวียตเสียอีก
ทางฝากสหรัฐฯ ที่ครองตำแหน่งผู้นำในวงการอวกาศมายาวนานก็ถึงคร่าวปล่อยภารกิจขนส่งสัมภาระและลูกเรือในเที่ยวบินอวกาศไปสู่มือเอกชน หลังองคค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ปลดระวางกระสวยอวกาศนานาชาติไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยมี 2 บริษัทที่มารับหน้าที่แทน คือ บริษัท สเปซเอกซ์พลอเรชันเทคโนโลจีส์ (Space Exploration Technologies Corp.) หรือสเปซเอกซ์ (SpaceX) ซึ่งทำสัญญาขนส่งให้นาซา 12 เที่ยว และบริษัท ออร์บิทัลไซน์ส (Orbital Sciences Corp.) ซึ่งทำสัญญาขนส่งให้นาซา 8 เที่ยว
สเปซเอกซ์มีจรวดฟอลคอน 9 (Falcon 9) ที่ทำหน้าที่ลำเลียงแคปซูลดรากอน (Dragon) สู่วงโคจร และในปี 2012 สเปซเอกซ์ได้นำร่องขนตัวอย่าง “เลือด” และ “ปัสสาวะ” ของมนุษย์อวกาศในสถานีอวกาศนานาชาติกลับลงมาให้นักวิทยาศาสตร์ที่รอนำตัวอย่างเหล่านั้นไปศึกษาต่อ ส่วนออร์บิทัลจะขนส่งสัมภาระด้วยยานซิกนัส (Cygnus) และจรวดแอนทาเรส (Antares)
อ่านเพิ่มเติม
จับตา “ก้าวสำคัญ” จีนส่งมนุษย์เชื่อมต่อโมดูลอวกาศของตัวเอง
“สเปซเอกซ์” ทำสัญญาส่งของไปอวกาศให้นาซา 12 เที่ยว
ลุ้นส่ง “ดรากอน” เปิดศักราชใหม่เอกชนนำส่งยานสู่สถานีอวกาศ
แคปซูล “ดรากอน” กลับโลกพร้อม “เลือด” และ “ฉี่”
เจอ “ว่าที่ฮิกกส์”
แม้ไม่ฟันธงว่าเจออนุภาค “ฮิกกส์โบซอน” (Higgs Boson) แต่นักวิทยาศาสตร์ขององค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ (The European Oganization for Nuclear Research) หรือเซิร์น (CERN) ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าอนุภาคที่เห็นนั้นว่าจะเป็น “ฮิกกส์” จากการทดลองที่สอดคล้องของห้องปฏิบัติการจากสถานีตรวจวัดอนุภาคแอตลาส (ATLAS) และซีเอ็มเอส (CMS) ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) ซึ่งสถานีตรวจวัดทั้งสองมีการทำงานแยกกันอย่างสิ้นเชิง
ทั้งสองสถานีตรวจวัดอนุภาคได้ค้นพบอนุภาคใหม่ที่มีมวลอยู่ในช่วง 125-126 GeV และมีค่าทางสถิติเป็นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เรียกว่า “ซิกมา” (sigma) อยู่ในระดับ 5 อันหมายความว่ามีโอกาสที่ผลการทดลองจะเกิดจากความบังเอิญอยู่ 1 ใน 3 ล้าน ซึ่งเป็นระดับที่วงการฟิสิกส์อนุภาคยอมรับว่าพบอนุภาคใหม่แล้ว
นอกจากความตื่นเต้นของวงการฟิสิกส์ระดับโลกในการค้นพบ “ว่าที่อนุภาคใหม่” แล้ว วงการฟิสิกส์ไทยก็มีเรื่องน่ายินดี เมื่อมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย โดยภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ กับกลุ่มการทดลองซีเอ็มเอสของเซิร์น เมื่อเดือน ก.ค. 2012 และในเดือน ธ.ค.ก็มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทโนโลยีสุรนารี (มทส.) กับห้องปฏิบัติการของสถานีตรวจวัดอนุภาคอลิซ (ALICE)* ของเซิร์น
*แก้ไข
อ่านเพิ่มเติม
นักฟิสิกส์ค่อนข้างมั่นใจเจอ “ฮิกกส์” แล้ว
มหิดลย้ำความเข้าใจ “ฮิกกส์” (ว่าที่) อนุภาคใหม่
ปลายปีนี้จะบอกได้ (ว่าที่) “ฮิกกส์” ที่เจอคือตัวไหน
จุฬาฯ มหา'ลัยแรกในอาเซียนได้เข้าถึงข้อมูล “เซิร์น”
ลงลึกถึงอนุภาคเล็กสุดสู่กำเนิดจักรวาลกับนักฟิสิกส์ “เซิร์น”
เชิดชู “ปีเตอร์ ฮิกกส์” ผู้วางทฤษฎีอนุภาคพระเจ้า
กินถั่วลิสงลุ้นยานนาซาลงจอดดาวอังคาร
นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของวงการเทคโนโลยีอวกาศ เมื่อองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ส่งยาน “คิวริออซิตี” (Curiosity) ที่มีขนาดเทียบเคียงรถมินิลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จในวันที่ 6 ส.ค.2012 หลังจากยานเดินทางท่องอวกาศนานกว่า 9 เดือน และในช่วงลงจอดนั้นทีมงานนาซาต้องลุ้นกันตัวโก่ง เนื่องจากมีช่วงเวลา “7 นาทีอันตราย” ที่คนบนโลกจะไม่ทราบเลยว่าวินาทีที่ยานแตะพื้นดาวแดงนั้นสำเร็จหรือไม่ ซึ่งเป็นระยะเวลาการเดินทางของสัญญาณจากดาวอังคารมายังโลกนั่นเอง แต่นักวิทยาศาสตร์นาซาก็ถือฤกษ์ถือยามด้วยการกินถั่วลิสงก่อนที่ยานจะลงจอด เพราะครั้งแรกที่นาซาส่งยานไร้คนขับไปดวงจันทร์ได้สำเร็จนั้นทีมงานในห้องควบคุมได้แจกจ่ายถั่วลิสงให้แก่กัน และกลายเป็นประเพณีเมื่อต้องทำภารกิจสำคัญ
อ่านเพิ่มเติม
ร่วมลุ้นการลงจอดครั้งใหญ่บน “ดาวแดง” ของนาซา
นาซาถือฤกษ์กิน “ถั่วลิสง” ก่อนยานลงจอดดาวอังคาร
นาซาชื่นมื่น! ยาน “คิวริออซิตี” ลงจอดดาวอังคารสำเร็จ
2 ภาพแรกยืนยันยานนาซาลงจอดดาวอังคาร
แยกชิ้นส่วนสำคัญ “คิวริออซิตี” ยานสำรวจบนดาวอังคาร
มาแล้ว! ภาพสีดาวอังคารภาพแรกจาก “คิวริออซิตี”
ช่วยไม่ได้! ถ้าจะคิดว่าภาพนี้ถ่ายบนโลกไม่ใช่ดาวอังคาร
อินโฟกราฟิกโชว์ความพยายามไป “ดาวอังคาร” ล้มเหลวเกิน 50%
“คิวริออซิตี” พบสายน้ำดึกดำบรรพ์บนดาวอังคาร
25 ส.ค.2012 “นีล อาร์มสตรอง” ผู้เหยียบดวงจันทร์คนแรกลาโลก
ปิดตำนานฮีโร่ดวงจันทร์เมื่อ “นีล อาร์มสตรอง” (Neil Armstrong) มนุษย์คนแรกที่ประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์เมื่อ 20 ก.ค.1969 พร้อมฝากวลีอมตะ “ก้าวเล็กๆ ของมนุษย์ (คนหนึ่ง) แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” ได้จากโลกอย่างไม่มีวันกลับเมื่อวันที่ 25 ส.ค.2012 เนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ขณะอายุ 82 ปี
ทั้งนี้ เขาและเพื่อนร่วมชาติอีก 2 คน ได้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์นำยานลงจอดดวงจันทร์ในปฏิบัติการยานอพอลโล 11 (Apollo 11) โดย บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) ผู้รับหน้าที่ขับยานลูนาร์โมดูล (Lunar Module) ก้าวย่างลงดวงจันทร์ตามอาร์มสตรองติดๆ ส่วน ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการยานโมดูล และไม่ได้เหยียบดวงจันทร์
นอกจากสหรัฐฯ จะสูญเสียวีรบุรุษไปแล้ว ในปีเดียวกันนี้ชาวอเมริกันยังสูญเสียวีรสตรีไปอีกคน นั่นคือ แซลลี ไรด์ (Sally Ride) มนุษย์อวกาศหญิงคนแรกของสหรัฐฯ ซึ่งเสียชีวิตลงขณะอายุ 61 ปี เมื่อ 23 ก.ค. หลังต่อกับโรคมะเร็งตับอ่อนนาน 17 เดือน
อ่านเพิ่มเติม
สิ้นแล้ว “นีล อาร์มสตรอง” ฮีโร่ดวงจันทร์
คลิปไฮไลต์ขณะ “นีล อาร์มสตรอง” เหยียบบนดวงจันทร์
ภาพประวัติศาสตร์ภารกิจ “อพอลโล 11”
“นีล อาร์มสตรอง” ก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่
มะเร็งตับอ่อนคร่ามนุษย์อวกาศหญิงคนแรกของสหรัฐฯ
ดิ่งพสุธาท้าตายเร็วกว่าเสียง
ฟีลิกซ์ บามการ์ทเนอร์ (Felix Baumgartner) อดีตทหารชาวออสเตรียวัย 43 ปี “ดิ่งพสุธา” จากชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ที่ความสูงกว่า 39 กิโลเมตรได้สำเร็จ เมื่อ 14 ต.ค. และเป็นการทำสถิติดิ่งพสุธาที่ระดับสูงที่สุด ทำลายสถิติที่ โจ กิตติงเจอร์ (Joe Kittinger) ทหารอากาศสหรัฐฯ เคยทำไว้ในปี 1960 ที่ระดับความสูง 31.3 กิโลเมตร
บามการ์ทเนอร์ใช้เวลา “ตกอิสระ” (freefall) ประมาณ 4 นาที 20 วินาที และดิ่งลงด้วยความเร็วมากกว่าเสียง ซึ่งกลายเป็นมนุษย์คนแรกที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าเสียงโดยไม่ใช้ยานพาหนะช่วย นอกจากนี้ภารกิจ “ดิ่งพสุธา” ของเขายังมีผู้ชมการถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ยูทูป (YouTube) มากที่สุดด้วย
อ่านเพิ่มเติม
สำเร็จ! ทุบสถิติ “ดิ่งพสุธา” จาก “ขอบอวกาศ” ลุล่วง (มีคลิป)
จับตาภารกิจ “ดิ่งพสุธา” ท้าความตายจากขอบอวกาศ
5 โอกาสตายเมื่อ “ดิ่งพสุธา” จากขอบอวกาศ
วงการวิทย์กังขา “นักฟิสิกส์เทียม” คว้าทุนวิจัยจาก วช.
เป็นข่าวร้อนส่งท้ายปีจากวงการวิทยาศาสตร์เมื่อมีข้อกังขาต่อการให้ทุนแก่ทีมวิจัย เจนนาดี ชีพอฟ (Gennady Shipov) ผู้อ้างตัวว่าเป็นนักฟิสิกส์จากรัสเซียด้วยมูลค่า 4 ล้านบาท แม้หลายคนมองว่าเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่ก็ไม่น้อยสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาไม่ถึง 1% ของจีดีพี
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเคยวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีของชีพอฟว่า เป็นทฤษฎีที่ขัดแย้งกับผลการทดลอง จึงเป็นไปได้ยากที่จะนำไปประยุกต์สู่เทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นประวัติของเขาและพบว่ามีการโกหกเรื่องประวัติการศึกษาและการทำงาน อีกทั้งผลงานวิจัยยังตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการที่ไม่ได้รับการยอมรับ เรื่องนี้จึงเป็นเผือกร้อนๆ ที่หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยระดับชาติต้องออกมาชี้แจง
อ่านเพิ่มเติม
แฉ “นักฟิสิกส์ปลอม” จากรัสเซียตุ๋นทุนวิจัย วช. 4 ล้านบาท
2012 ลุ้นสิ้นโลก
เป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงล่วงหน้า 2-3 ปีสำหรับประเด็นวันสิ้นโลกที่หยิบยกเอา “วันสิ้นสุด” ของปฎิทินรอบยาว (Long Count) ของชาวมายาที่ตรงกับวันที่ 21 ธ.ค.2012 เป็นวันสิ้นโลก ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าอิทธิพลจากภาพยนตร์ฮอลลิวูดได้โหมกระแสความเชื่อเกี่ยวกับสิ้นโลกให้ยิ่งเข้มข้น โดยสิ่งที่ถูกอ้างมาเป็นสาเหตุของวันโลกแตก มีทั้งการอ้างอิทธิพลดาวเคราะห์เรียงตัวกันซึ่งจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่รุนแรงขึ้น การกลับขั้วของแม่เหล็กโลก หรือการถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชน
ทางด้านผู้เชี่ยวชาญทั้งไทยและต่างประเทศต่างออกมาชี้แจงถึงประเด็นตื่นตัวดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นว่าแรงดึงดูดจากดาวเคราะห์ต่างๆ ซึ่งล้วนอธิบายไปทิศทางเดียวกันว่า มีเพียงแรงดึงดูดจาก “ดวงจันทร์” และ “ดวงอาทิตย์” เท่านั้นที่ส่งผลกระทบต่อโลกมากที่สุด ในขณะที่ดาวเคราะห์หรือดาวฤกษ์ดวงอื่นๆ มีอิทธิพลด้านแรงดึงดูดต่อโลกน้อยมากจนแทบไม่มีความหมาย
ปรากฏการณ์พายุสุริยะที่กังวลนั้นโลกก็มีสนามแม่เหล็กค่อยปกป้องไว้ และสิ่งที่จะได้รัผลกระทบมากที่สุดคือดาวเทียมและมนุษย์อวกาศที่อยู่ในวงโคจร โดยเหตุการร้ายแรงที่สุดคือสนามแม่เหล็กจากพายุสุริยะรบกวนระบบจ่ายแสไฟฟ้าในแคนาดา จนทำให้เกิดไฟดับครั้งใหญ่นาน 9 ชั่วโมง เมื่อปี 2532 เท่านั้น และนักวิทยาศาสตร์ยังยืนยันว่าในรอบ 100 ปีนี้ไม่มีดาวเคราะห์น้อยที่มีโอกาสพุ่งชนโลกอย่างแน่นอน ส่วนโอกาสที่โลกจะถูกดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนมากที่สุดคือในวันที่ 16 มี.ค.ในปี 2880
อ่านเพิ่มเติม
ขุดพบ “ปฏิทินมายา” เก่าแก่ที่สุดแต่ไม่ระบุโลกดับปี 2012
เคลียร์อีกครั้ง! โลกจะดับไหม 2012?
2012 นักวิทย์นาซาฟันธงโลกยังไม่ดับ
นักฟิสิกส์โนเบลยันข่าวลือโลกแตก 2012 ไร้หลักการวิทยาศาสตร์
ตรวจสุขภาพโลก ก่อนวันหายนะเกิด
ดวงอาทิตย์ตื่นตัวพายุสุริยะมากขึ้น
หลังจากเงียบสงบมานานและนิ่งสนิทในช่วง 2-3 ปีที่ผ่าน ดวงอาทิตย์ก็เริ่มตื่นตัวขึ้นตามรอบวัฏจักรสุริยะ (solar cycle) 11 ปี และเกิดพายุสุริยะรุนแรงในรอบ 6 ปีเมื่อปลายเดือน ม.ค. และทำให้เกิดแสงเหนือแสงใต้หรือออโรราที่สวยงามบริเวณขั้วโลกเหนือตามมา จากนั้นก็เกิดปรากฏการณ์พายุสุริยะและการพ่นมวลโคโรนา (coronal mass ejection) หรือซีเอ็มอี (CME) ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ หากส่องดูดวงอาทิตย์โดยมีอุปกรณ์กรองแสงที่ดีพอจะเห็นจุดมืด (sun spot) อยู่หลายจุด ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดพายุสุริยะ และนักวิทยาศาสตร์ระบุว่ากิจกรรมบนดวงอาทิตย์จะเข้มข้นที่สุดในปี 2013
อ่านเพิ่มเติม
พายุสุริยะถล่มโลกรุนแรงสุดในรอบ 6 ปี
“แสงเหนือ” สวยๆ จากพายุสุริยะครั้งรุนแรง
หวั่นโลกรับผลกระทบจากพายุสุริยะโดยตรงในรอบ 5 ปี
งามเหลือ “แสงออโรรา” หลังดวงอาทิตย์ปะทุรุนแรงเมื่อวันศุกร์
เผยคลิป “ดวงอาทิตย์” ปะทุรุนแรง
นาซาส่งยานแฝดขึ้นไปตรวจแถบรังสีรอบโลก-ศึกษาผลกระทบพายุสุริยะ
ว้าว! คลิป “ดวงอาทิตย์” ปะทุอีก คราวนี้ยืดยาวสุดๆ
แผ่นดินไหวสะเทือนไทย
ช่วงต้นปีแผ่นดินไหวได้สั่นสะเทือนความตื่นตระหนกอีกครั้ง โดยเฉพาะคนไทยเพราะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงถึง 8.3 ริกเตอร์บริเวณเกาะสุมาตรา ใกล้ๆ กับบริเวณที่เคยเกิดแผ่นดินไหวและก่อให้เกิดสึนามิที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปหลายหมื่นคนเมื่อปี 2547 แม้แต่นักวิชาการก็ยังให้ความเห็นว่า “แปลก” และแรงสั่นสะเทือนก็รู้สึกได้ภาคใต้ของไทย
จากนั้นไม่นานก็เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.3 ริกเตอร์ โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ซึ่งประชาชนต่างตื่นตระหนกและลือกันว่าภูเก็ตอาจจะจมทะเล หากแต่นักวิชาการก็ออกมาชี้แจงว่า ภูเก็ตไม่จมลงง่ายๆ เพราะตั้งอยู่บนฐานหินแข็งอายุกว่า 100 ล้านปี แต่ก็ทำให้คนไทยได้รู้จักรอยเลื่อนระนองและรอยเลื่อนคลองมะรุ่ยมากขึ้น และเมื่อราว 2,000 ปีก่อนบริเวณรอยเลื่อนทั้งสองเคยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่
ส่วนกรุงเทพฯ ที่แม้ไม่ได้ตั้งอยู่ใกล้รอยเลื่อน แต่ก็มีเสียงห่วงใยจากนักวิชาการเพราะตั้งอยู่บนดินอ่อนที่ทำให้ไวต่อแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว โดยเปรียบเทียบคล้ายกับเม็กซิโกซิตีที่ตั้งอยู่บนดินอ่อนเช่นกัน และเคยเกิดเหตุตึกถล่มราบเป็นหน้ากลองเมื่อ 27 ปีก่อน จากแผ่นดินไหวที่อยู่ไกลกว่า 350 กิโลเมตร ซึ่งนักวิชาการได้แนะนำให้มีการตรวจสอบอาคารและปรับปรุงเพื่อรับมือต่อปรากฏการณ์ธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้น
อ่านเพิ่มเติม
นักวิชาการชี้ แผ่นดินไหวครั้งนี้แปลก เพราะห่างจากครั้งก่อนแค่ 8 ปี
เข้าใจ “แผ่นดินไหว” กับนักธรณีมหิดล
รู้ไหมว่า....ไทยมี 15 รอยเลื่อนมีพลัง
แนะเสริมกำลังรวมให้อาคารป้องกันตึกกรุงถล่มจากแผ่นดินไหว
กรุงเทพฯ เหมือน “เม็กซิโกซิตี” ที่ราบคาบจากแผ่นดินไหว 27 ปีก่อน
จับตา “รอยเลื่อนระนอง-คลองมะรุ่ย” หวั่นไหวใหญ่ซ้ำรอย 2,000 ปี
เคยเห็นไหม? แผนที่รวมเหตุ “แผ่นดินไหว” ตั้งแต่ 1898
ปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
เมื่อ 8 ปีก่อนเคยเกิดปรากฏการณ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” (Transit of Venus) แต่หลังจากเกิดปรากฏการณ์เดียวกันนี้เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2012 ที่ผ่านมา ก็ต้องรอต่อไปอีก 105 ปีจึงจะเกิดปรากฏการณ์นี้อีกครั้งในวันที่ 11 ธ.ค.2660 โดยในรอบ 243 ปีจะเกิดปรากฏการณ์นี้เพียง 4 ครั้ง และมีรอบปราฏการณ์เป็นคู่ ซึ่งแต่ละคู่จะห่างกัน 121.5 (+ หรือ – 8) ปี และใน 1 คู่นั้นจะเกิดห่างกัน 8 ปี หากครั้งแรกของคู่แรกเกิดห่างจากครั้งแรกของคู่หลัง 129.5 ปี ครั้งแรกของคู่หลังจากห่างจากครั้งแรกของรอบถัดไป 113.5 ปี
ในอดีตนักวิทยาศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้เพื่อคำนวณหาระยะทางระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ซึ่งมีการทดลองกันข้ามศตวรรษกว่าจะสำเร็จ แต่ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีที่สามารถหาระยะทางระหว่างดวงอาทิตย์กับโลกได้อย่างแม่นยำ อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์นี้ก็ยังมีความสำคัญเพราะเป็นปรากฏการณ์เดียวกับที่นักวิทยาศาสตร์ใช้เพื่อค้นหาดาวเคราะฆ์นอกระบบสุริยะ จากการคำนวณแสงที่หรี่ลงเมื่อดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤษ์ของตัวเอง
อ่านเพิ่มเติม
สดร.ชวนชมปรากฏการณ์แห่งศตวรรษ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
นาซาวางแผนใช้ “ดวงจันทร์” เป็นกระจกส่อง “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
สดร.จับมือเกาหลีถ่ายทอดปรากฏการณ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
2 อุปกรณ์หาง่ายใช้ดู “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
รู้ไหมว่า...137 ปีก่อน ฝรั่งเคยสังเกต “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ในไทย
“ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ปรากฏการณ์ค้นหาระยะห่างโลก-ดวงอาทิตย์
ชม “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” จากมุมมองในอวกาศ
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์”
เก็บไว้เป็นภาพจำ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ทั่วฟ้าเมืองไทย
สวยงาม “พระอาทิตย์ทรงกลด” ระหว่างดาวศุกร์ผ่านหน้า
จีนเชื่อมต่อยานในวงโคจรสำเร็จ อเมริกาปล่อยเอกชนทำธุรกิจขนส่งอวกาศ
ความสำเร็จของจีนในการส่งมนุษย์อวกาศ 3 คนไปพร้อมกับยานอวกาศเสินโจว 9 (Shenzhou 9) เพื่อเชื่อมต่อกับยานเทียนกง 1 (Tiangong 1) ได้สำเร็จเมื่อเดือน มิ.ย.2012 ซึ่งเป็นบันไดไปสู่การสร้างสถานีอวกาศของตัวเองภายในปี 2020 รวมถึงการสร้างคนไปเยือนดวงจันทร์ แม้จะมีเสียงค่อนค่อดจากฝั่งตะวันตกว่าสถานีอวกาศของจีนนั้นเล็กกว่าสถานีอวกาศลำแรกของอดีตสหภาพโซเวียตเสียอีก
ทางฝากสหรัฐฯ ที่ครองตำแหน่งผู้นำในวงการอวกาศมายาวนานก็ถึงคร่าวปล่อยภารกิจขนส่งสัมภาระและลูกเรือในเที่ยวบินอวกาศไปสู่มือเอกชน หลังองคค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ปลดระวางกระสวยอวกาศนานาชาติไปตั้งแต่ปีที่ผ่านมา โดยมี 2 บริษัทที่มารับหน้าที่แทน คือ บริษัท สเปซเอกซ์พลอเรชันเทคโนโลจีส์ (Space Exploration Technologies Corp.) หรือสเปซเอกซ์ (SpaceX) ซึ่งทำสัญญาขนส่งให้นาซา 12 เที่ยว และบริษัท ออร์บิทัลไซน์ส (Orbital Sciences Corp.) ซึ่งทำสัญญาขนส่งให้นาซา 8 เที่ยว
สเปซเอกซ์มีจรวดฟอลคอน 9 (Falcon 9) ที่ทำหน้าที่ลำเลียงแคปซูลดรากอน (Dragon) สู่วงโคจร และในปี 2012 สเปซเอกซ์ได้นำร่องขนตัวอย่าง “เลือด” และ “ปัสสาวะ” ของมนุษย์อวกาศในสถานีอวกาศนานาชาติกลับลงมาให้นักวิทยาศาสตร์ที่รอนำตัวอย่างเหล่านั้นไปศึกษาต่อ ส่วนออร์บิทัลจะขนส่งสัมภาระด้วยยานซิกนัส (Cygnus) และจรวดแอนทาเรส (Antares)
อ่านเพิ่มเติม
จับตา “ก้าวสำคัญ” จีนส่งมนุษย์เชื่อมต่อโมดูลอวกาศของตัวเอง
“สเปซเอกซ์” ทำสัญญาส่งของไปอวกาศให้นาซา 12 เที่ยว
ลุ้นส่ง “ดรากอน” เปิดศักราชใหม่เอกชนนำส่งยานสู่สถานีอวกาศ
แคปซูล “ดรากอน” กลับโลกพร้อม “เลือด” และ “ฉี่”
เจอ “ว่าที่ฮิกกส์”
แม้ไม่ฟันธงว่าเจออนุภาค “ฮิกกส์โบซอน” (Higgs Boson) แต่นักวิทยาศาสตร์ขององค์กรแห่งยุโรปเพื่อการวิจัยนิวเคลียร์ (The European Oganization for Nuclear Research) หรือเซิร์น (CERN) ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าอนุภาคที่เห็นนั้นว่าจะเป็น “ฮิกกส์” จากการทดลองที่สอดคล้องของห้องปฏิบัติการจากสถานีตรวจวัดอนุภาคแอตลาส (ATLAS) และซีเอ็มเอส (CMS) ที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องเร่งอนุภาคแอลเอชซี (LHC) ซึ่งสถานีตรวจวัดทั้งสองมีการทำงานแยกกันอย่างสิ้นเชิง
ทั้งสองสถานีตรวจวัดอนุภาคได้ค้นพบอนุภาคใหม่ที่มีมวลอยู่ในช่วง 125-126 GeV และมีค่าทางสถิติเป็นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานที่เรียกว่า “ซิกมา” (sigma) อยู่ในระดับ 5 อันหมายความว่ามีโอกาสที่ผลการทดลองจะเกิดจากความบังเอิญอยู่ 1 ใน 3 ล้าน ซึ่งเป็นระดับที่วงการฟิสิกส์อนุภาคยอมรับว่าพบอนุภาคใหม่แล้ว
นอกจากความตื่นเต้นของวงการฟิสิกส์ระดับโลกในการค้นพบ “ว่าที่อนุภาคใหม่” แล้ว วงการฟิสิกส์ไทยก็มีเรื่องน่ายินดี เมื่อมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวทิยาลัย โดยภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ กับกลุ่มการทดลองซีเอ็มเอสของเซิร์น เมื่อเดือน ก.ค. 2012 และในเดือน ธ.ค.ก็มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทโนโลยีสุรนารี (มทส.) กับห้องปฏิบัติการของสถานีตรวจวัดอนุภาคอลิซ (ALICE)* ของเซิร์น
*แก้ไข
อ่านเพิ่มเติม
นักฟิสิกส์ค่อนข้างมั่นใจเจอ “ฮิกกส์” แล้ว
มหิดลย้ำความเข้าใจ “ฮิกกส์” (ว่าที่) อนุภาคใหม่
ปลายปีนี้จะบอกได้ (ว่าที่) “ฮิกกส์” ที่เจอคือตัวไหน
จุฬาฯ มหา'ลัยแรกในอาเซียนได้เข้าถึงข้อมูล “เซิร์น”
ลงลึกถึงอนุภาคเล็กสุดสู่กำเนิดจักรวาลกับนักฟิสิกส์ “เซิร์น”
เชิดชู “ปีเตอร์ ฮิกกส์” ผู้วางทฤษฎีอนุภาคพระเจ้า
กินถั่วลิสงลุ้นยานนาซาลงจอดดาวอังคาร
นับเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นของวงการเทคโนโลยีอวกาศ เมื่อองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ส่งยาน “คิวริออซิตี” (Curiosity) ที่มีขนาดเทียบเคียงรถมินิลงจอดบนดาวอังคารได้สำเร็จในวันที่ 6 ส.ค.2012 หลังจากยานเดินทางท่องอวกาศนานกว่า 9 เดือน และในช่วงลงจอดนั้นทีมงานนาซาต้องลุ้นกันตัวโก่ง เนื่องจากมีช่วงเวลา “7 นาทีอันตราย” ที่คนบนโลกจะไม่ทราบเลยว่าวินาทีที่ยานแตะพื้นดาวแดงนั้นสำเร็จหรือไม่ ซึ่งเป็นระยะเวลาการเดินทางของสัญญาณจากดาวอังคารมายังโลกนั่นเอง แต่นักวิทยาศาสตร์นาซาก็ถือฤกษ์ถือยามด้วยการกินถั่วลิสงก่อนที่ยานจะลงจอด เพราะครั้งแรกที่นาซาส่งยานไร้คนขับไปดวงจันทร์ได้สำเร็จนั้นทีมงานในห้องควบคุมได้แจกจ่ายถั่วลิสงให้แก่กัน และกลายเป็นประเพณีเมื่อต้องทำภารกิจสำคัญ
อ่านเพิ่มเติม
ร่วมลุ้นการลงจอดครั้งใหญ่บน “ดาวแดง” ของนาซา
นาซาถือฤกษ์กิน “ถั่วลิสง” ก่อนยานลงจอดดาวอังคาร
นาซาชื่นมื่น! ยาน “คิวริออซิตี” ลงจอดดาวอังคารสำเร็จ
2 ภาพแรกยืนยันยานนาซาลงจอดดาวอังคาร
แยกชิ้นส่วนสำคัญ “คิวริออซิตี” ยานสำรวจบนดาวอังคาร
มาแล้ว! ภาพสีดาวอังคารภาพแรกจาก “คิวริออซิตี”
ช่วยไม่ได้! ถ้าจะคิดว่าภาพนี้ถ่ายบนโลกไม่ใช่ดาวอังคาร
อินโฟกราฟิกโชว์ความพยายามไป “ดาวอังคาร” ล้มเหลวเกิน 50%
“คิวริออซิตี” พบสายน้ำดึกดำบรรพ์บนดาวอังคาร
25 ส.ค.2012 “นีล อาร์มสตรอง” ผู้เหยียบดวงจันทร์คนแรกลาโลก
ปิดตำนานฮีโร่ดวงจันทร์เมื่อ “นีล อาร์มสตรอง” (Neil Armstrong) มนุษย์คนแรกที่ประทับรอยเท้าบนดวงจันทร์เมื่อ 20 ก.ค.1969 พร้อมฝากวลีอมตะ “ก้าวเล็กๆ ของมนุษย์ (คนหนึ่ง) แต่เป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” ได้จากโลกอย่างไม่มีวันกลับเมื่อวันที่ 25 ส.ค.2012 เนื่องจากเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังเข้ารับการผ่าตัดบายพาสหัวใจ ขณะอายุ 82 ปี
ทั้งนี้ เขาและเพื่อนร่วมชาติอีก 2 คน ได้ร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์นำยานลงจอดดวงจันทร์ในปฏิบัติการยานอพอลโล 11 (Apollo 11) โดย บัซ อัลดริน (Buzz Aldrin) ผู้รับหน้าที่ขับยานลูนาร์โมดูล (Lunar Module) ก้าวย่างลงดวงจันทร์ตามอาร์มสตรองติดๆ ส่วน ไมเคิล คอลลินส์ (Michael Collins) ทำหน้าที่เป็นผู้บัญชาการยานโมดูล และไม่ได้เหยียบดวงจันทร์
นอกจากสหรัฐฯ จะสูญเสียวีรบุรุษไปแล้ว ในปีเดียวกันนี้ชาวอเมริกันยังสูญเสียวีรสตรีไปอีกคน นั่นคือ แซลลี ไรด์ (Sally Ride) มนุษย์อวกาศหญิงคนแรกของสหรัฐฯ ซึ่งเสียชีวิตลงขณะอายุ 61 ปี เมื่อ 23 ก.ค. หลังต่อกับโรคมะเร็งตับอ่อนนาน 17 เดือน
อ่านเพิ่มเติม
สิ้นแล้ว “นีล อาร์มสตรอง” ฮีโร่ดวงจันทร์
คลิปไฮไลต์ขณะ “นีล อาร์มสตรอง” เหยียบบนดวงจันทร์
ภาพประวัติศาสตร์ภารกิจ “อพอลโล 11”
“นีล อาร์มสตรอง” ก้าวเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่
มะเร็งตับอ่อนคร่ามนุษย์อวกาศหญิงคนแรกของสหรัฐฯ
ดิ่งพสุธาท้าตายเร็วกว่าเสียง
ฟีลิกซ์ บามการ์ทเนอร์ (Felix Baumgartner) อดีตทหารชาวออสเตรียวัย 43 ปี “ดิ่งพสุธา” จากชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) ที่ความสูงกว่า 39 กิโลเมตรได้สำเร็จ เมื่อ 14 ต.ค. และเป็นการทำสถิติดิ่งพสุธาที่ระดับสูงที่สุด ทำลายสถิติที่ โจ กิตติงเจอร์ (Joe Kittinger) ทหารอากาศสหรัฐฯ เคยทำไว้ในปี 1960 ที่ระดับความสูง 31.3 กิโลเมตร
บามการ์ทเนอร์ใช้เวลา “ตกอิสระ” (freefall) ประมาณ 4 นาที 20 วินาที และดิ่งลงด้วยความเร็วมากกว่าเสียง ซึ่งกลายเป็นมนุษย์คนแรกที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วมากกว่าเสียงโดยไม่ใช้ยานพาหนะช่วย นอกจากนี้ภารกิจ “ดิ่งพสุธา” ของเขายังมีผู้ชมการถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ยูทูป (YouTube) มากที่สุดด้วย
อ่านเพิ่มเติม
สำเร็จ! ทุบสถิติ “ดิ่งพสุธา” จาก “ขอบอวกาศ” ลุล่วง (มีคลิป)
จับตาภารกิจ “ดิ่งพสุธา” ท้าความตายจากขอบอวกาศ
5 โอกาสตายเมื่อ “ดิ่งพสุธา” จากขอบอวกาศ
วงการวิทย์กังขา “นักฟิสิกส์เทียม” คว้าทุนวิจัยจาก วช.
เป็นข่าวร้อนส่งท้ายปีจากวงการวิทยาศาสตร์เมื่อมีข้อกังขาต่อการให้ทุนแก่ทีมวิจัย เจนนาดี ชีพอฟ (Gennady Shipov) ผู้อ้างตัวว่าเป็นนักฟิสิกส์จากรัสเซียด้วยมูลค่า 4 ล้านบาท แม้หลายคนมองว่าเป็นเงินจำนวนไม่มาก แต่ก็ไม่น้อยสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาไม่ถึง 1% ของจีดีพี
ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ระดับโลกเคยวิพากษ์วิจารณ์ทฤษฎีของชีพอฟว่า เป็นทฤษฎีที่ขัดแย้งกับผลการทดลอง จึงเป็นไปได้ยากที่จะนำไปประยุกต์สู่เทคโนโลยีใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นประวัติของเขาและพบว่ามีการโกหกเรื่องประวัติการศึกษาและการทำงาน อีกทั้งผลงานวิจัยยังตีพิมพ์ลงวารสารวิชาการที่ไม่ได้รับการยอมรับ เรื่องนี้จึงเป็นเผือกร้อนๆ ที่หน่วยงานสนับสนุนการวิจัยระดับชาติต้องออกมาชี้แจง
อ่านเพิ่มเติม
แฉ “นักฟิสิกส์ปลอม” จากรัสเซียตุ๋นทุนวิจัย วช. 4 ล้านบาท