xs
xsm
sm
md
lg

ไดโนเสาร์ญาติห่างๆ ของนก ใช้ปีกไว้เกี้ยวสาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพวาดจากหลักฐานที่บ่งชี้ว่าฟอสซิลไดโนเสาร์ในแม่น้ำอัลเบอร์ตานั้นมีขน โดยตัวเต็มวัยจะมีปีกด้วย ซึ่งคาดว่าน่าจะมีไว้เพื่อเกี้ยวหาคู่ (บีบีซีนิวส์)
พบไดโนเสาร์มีขนจากแคนาดา มีปีกที่คาดว่าเอาไว้เกี๊ยวหาคู่ เป็นหลักฐานชี้ว่าไดโนเสาร์มีวิวัฒนาการมีปีกมานานกว่าที่คิดไว้ และยังเป็นไดโนเสาร์ที่เป็นญาติไกลๆ ของนกในปัจจุบัน โดยรูปร่างหน้าตาคล้ายนกกระจอกเทศ

บีบีซีนิวส์ อ้างรายงานที่ตีพิมพ์ลงวารสารไซน์ (Science) ว่า มีการศึกษาตัวอย่างไดโนเสาร์ออร์นิธอมิโมซอร์ (Ornithomimosaur) จากแคนาดา ซึ่งเป็นญาติไกลๆ ของนกในปัจจุบัน โดยทั้งตัวอย่างที่ยังโตไม่เต็มที่ และตัวเต็มวัยนั้นมีร่องรอยที่บ่งชี้ว่ามีเป็นขนอันอ่อนนมปกคลุม

หากแต่มีเฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่มีอวัยวะคล้ายปีก ซึ่งชี้ว่าปีกนั้นอาจไม่มีขึ่นเพื่อใช้ในการบิน แต่น่าจะเอาไว้ในช่วยในการหาคู่เพื่อขยายพันธุ์

สำหรับชื่อออร์นิธอมิโมซอร์นั้น มาจากภาษาลาตินที่หมายถึง “คล้ายคลึงนก” โดยบีบีซีนิวส์อธิบายว่าไดโนเสาร์ดังกล่าวดูคล้ายคลึงกับนกกระจอกเทศในปัจุบันมาก โดยมีจงอยปากที่ไม่มีฟัน มีดวงตาโต และมีขายาว แต่ก็มีหางหนาๆ ยาวๆ ด้วย

ตัวอย่างไดโนเสาร์ล่าสุดนี้ถูกพบในตะกอนแม่น้ำโบราณที่อัลเบอร์ตา แคนาดา ซึ่งเป็นการเพิ่มตัวอย่างของไดโนเสาร์มีขนอื่นๆ ที่พบในตะกอนแม่น้ำโบราณในจีนและเยอรมนี ซึ่งอนุมานว่ารอยบางๆ ในกระดูกและรอย เป็นมัดเล็กๆ นั้นคือ ลักษณะปรากฏของขน ซึ่งมีอยู่รอบๆ ตะกอนดินที่กลายเป็นฟอสซิล

อย่างไรก็ดี ฟอสซิลที่ค้นพบใหม่นี้ก็ไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับฟอสซิลไดโนเสาร์มีขนอื่นๆ เสียทีเดียว โดย ดร.ดาร์ลา เซเลนิทสกี (Darla Zelenitsky) จากมหาวิทยาลัยคาลการี (University of Calgary) ในแคนาดา หัวหน้าทีมวิจัยครั้งนี้อธิบายว่า ตัวอย่างที่พบในจีนนั้นแสดงให้เห็นปีกที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับนกมากกว่า แต่ไดโนเสาร์ที่พบในแคนาดานั้นมีความสัมพันธ์ค่อนข้างห่างกับนกในปัจจุบัน ลักษณะดังกล่าวเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า ไดโนเสาร์มีปีกนั้นมีวิวัฒนาการมายาวนานกว่าที่เคยคิด

นอกจากนี้ ยังมีจุดน่าสนใจอีกอย่าง คือ ตัวอย่างไดโนเสาร์จากแคนาดานั้น แสดงให้เห็นว่าทั้งตัวที่ยังไม่โตและที่โตเต็มวัยแล้วนั้น มีร่างกายที่ปกคลุมด้วยขนสั้นๆ แต่มีเพียงตัวอย่างไดโนเสารืที่โตแล้วเท่านั้นที่มีอวัยวะที่เรียกว่า “เพนนิบราเชียม” (pennibrachium) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีปีกและมีปกคลุมด้วยขนที่ยาวกว่ามาก

ดร.เซเลนิทสกี กล่าวว่า การปรากฏของปีกดั้งเดิมในไดโนเสาร์ที่มีขนาดตัวค่อนข้างใหญ่นี้ ชี้ว่า ปีกไม่ได้ถูกวิวัฒนาการขึ้นเพื่อใช้ในการบิน และการปรากฏโครงสร้างคล้ายปีกเฉพาะในตัวที่โตเต็มวัยนั้นชี้ว่าอวัยวะดังกล่าวมีขึ้นเพื่อใช้ในช่วงชีวิตที่ผ่านไประยะหนึ่ง ซึ่งอาจมีไว้เพื่อการแสดงอวดหรือใช้ในการเกี้ยวพาราสีหาคู่

ตัวอย่างไดโนเสาร์มีขนก่อนหน้านี้ถูกค้นพบในบริเวณทะเลสาบที่ตะกอนละเอียด และยังคงมีน้ำที่ช่วยรักษาร่องรอยของขนได้อย่างดี ขณะที่ตะกอนจากแม่น้ำอัลเบอร์ตานั้นมีลักษณะแตกต่างอยางชัดเจน คือมีตะกอนที่หยาบกว่าและเป็นบริเวณที่มีกระแสน้ำไหลผ่านอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยเปิดพื้นที่ในการค้นหาว่าตรงไหนที่จะพบฟอสซิลมีขนอีก ซึ่งจะเติมข้อมูลของเราว่าเมื่อที่ไดโนเสาร์เริ่มวิวัฒนาการมีขนและปีกและมีทำไม
หนึ่งในฟอสซิลโครงกระดูกที่พบในแม่น้ำที่แคนาดาตั้งแต่ปี 1995 แต่เพิ่งระบุได้ว่ามีร่องรอยของบนปกคลุมร่างกายไดโนเสาร์ (บีบีซีนิวส์)






กำลังโหลดความคิดเห็น