หลังผ่านช่วงเวลา 7 นาทีแห่งการลุ้นระทึก ภาพที่ยาน “คิวริออซิตี” ของนาซาส่งกลับมายังโลก เป็นสิ่งที่ยืนยันว่ายานในปฏบัติการสำรวจดาวอังคารลงจอดประสบควมสำเร็จ
ภาพจากนาซาทีวี (NASA Television) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ได้เผยภาพที่ส่งมาจากยานคิวริออซิตี (Curiosity Rover) ในปฏิบัติการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์บนดาวอังคาร (Mars Science Laboratory: MSL) ซึ่งลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเวลา 12.32 น. วันที่ 6 ส.ค.2012 ตามเวลาประเทศไทย
ภาพแรกเป็นภาพล้อของยานคิวริออซิตีบนพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่ายานลงจอดสำเร็จ และอีกภาพคือภาพเงาของยานที่ทาบลงบนพื้นผิวดาวอังคาร โดยเอเอฟพีระบุว่า ความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นความพยายามในการทำสิ่งที่ยากลำบากที่สุดในประวัติศาสตร์
บีบีซีนิวส์ระบุว่า ภาพชุดแรกที่คิวริออซิตีส่งมานี้เป็นภาพความละเอียดต่ำที่เผยให้เห็นล้อและเงาของยานบนดาวอังคาร และเผยฝุ่นที่เกาะอุปกรณ์บังเลนส์ซึ่งยังไม่ถูกปัดออก ส่วนภาพสีของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวยานจะถูกส่งมาในอีกหลายวันข้างหน้า ซึ่งหลังจากลงจอดแล้วนักวิทยาศาสตร์ของนาซายังต้องตรวจสภาพของยานมีส่วนใดบุบสลายหรือไม่
ในการลงจอดครั้งนี้ ก็มีการทวีตเล่าเหตุการณ์โดย @MarsCuriosity “ฉันอยู่บนพื้นผิวดาวอังคารอย่างปลอดภัยแล้ว หลุมเกลฉันเข้ามาอยู่ในเธอแล้วนะ!!” ด้วย ส่วนวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมในโครงการนี้มาร่วม 10 ปี ต่างก็แสดงความยินดีและโผเข้ากอดกัน
ทั้งนี้ คิวริออซิตีถูกส่งขึ้นไปตั้งแต่ 26 พ.ย.2011 เพื่อเดินทางไกลถึง 570 ล้านกิโลเมตรมุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร แต่เมื่อถึงระยะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้วลงจอด นาซาต้องปล่อยให้ระบบอัตโนมัติทำงาน โดยไม่รู้ว่ายานลงจอดสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากสัญญาณจากดาวอังคารมาถึงโลกใช้เวลานาน 7 นาที จึงถูกเรียกว่าเป็น “7 นาทีอันตราย” (seven minutes of terror)
ส่วนภารกิจของยานมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาทนี้จะกินเวลานาน 2 ปี โดยมีหน้าที่สำรวจภายในหลุมอุกกาบาตเกลและตามล่าหลักฐานการมีมหาสมุทรโบราณบนดาวแดง



ภาพจากนาซาทีวี (NASA Television) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ (นาซา) ได้เผยภาพที่ส่งมาจากยานคิวริออซิตี (Curiosity Rover) ในปฏิบัติการห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์บนดาวอังคาร (Mars Science Laboratory: MSL) ซึ่งลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อเวลา 12.32 น. วันที่ 6 ส.ค.2012 ตามเวลาประเทศไทย
ภาพแรกเป็นภาพล้อของยานคิวริออซิตีบนพื้นผิวดาวอังคาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันว่ายานลงจอดสำเร็จ และอีกภาพคือภาพเงาของยานที่ทาบลงบนพื้นผิวดาวอังคาร โดยเอเอฟพีระบุว่า ความสำเร็จครั้งนี้นับเป็นความพยายามในการทำสิ่งที่ยากลำบากที่สุดในประวัติศาสตร์
บีบีซีนิวส์ระบุว่า ภาพชุดแรกที่คิวริออซิตีส่งมานี้เป็นภาพความละเอียดต่ำที่เผยให้เห็นล้อและเงาของยานบนดาวอังคาร และเผยฝุ่นที่เกาะอุปกรณ์บังเลนส์ซึ่งยังไม่ถูกปัดออก ส่วนภาพสีของสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวยานจะถูกส่งมาในอีกหลายวันข้างหน้า ซึ่งหลังจากลงจอดแล้วนักวิทยาศาสตร์ของนาซายังต้องตรวจสภาพของยานมีส่วนใดบุบสลายหรือไม่
ในการลงจอดครั้งนี้ ก็มีการทวีตเล่าเหตุการณ์โดย @MarsCuriosity “ฉันอยู่บนพื้นผิวดาวอังคารอย่างปลอดภัยแล้ว หลุมเกลฉันเข้ามาอยู่ในเธอแล้วนะ!!” ด้วย ส่วนวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมในโครงการนี้มาร่วม 10 ปี ต่างก็แสดงความยินดีและโผเข้ากอดกัน
ทั้งนี้ คิวริออซิตีถูกส่งขึ้นไปตั้งแต่ 26 พ.ย.2011 เพื่อเดินทางไกลถึง 570 ล้านกิโลเมตรมุ่งหน้าสู่ดาวอังคาร แต่เมื่อถึงระยะเคลื่อนตัวเข้าสู่ชั้นบรรยากาศแล้วลงจอด นาซาต้องปล่อยให้ระบบอัตโนมัติทำงาน โดยไม่รู้ว่ายานลงจอดสำเร็จหรือไม่ เนื่องจากสัญญาณจากดาวอังคารมาถึงโลกใช้เวลานาน 7 นาที จึงถูกเรียกว่าเป็น “7 นาทีอันตราย” (seven minutes of terror)
ส่วนภารกิจของยานมูลค่ากว่า 8 หมื่นล้านบาทนี้จะกินเวลานาน 2 ปี โดยมีหน้าที่สำรวจภายในหลุมอุกกาบาตเกลและตามล่าหลักฐานการมีมหาสมุทรโบราณบนดาวแดง