ผมเคยเล่าว่า วัยเด็กนั้นมีจินตนาการภายในอันบรรเจิดที่จะอธิบายโลกประสบการณ์ภายนอก เคยเล่าว่าการรับรู้สิ่งที่เรียกว่าเวลานั้นเกิดจากประสบการณ์ภายนอกทางกายภาพเช่นด้วยการขึ้นลงของดวงอาทิตย์และเช่นด้วยนาฬิกา แต่การรู้สึกถึงเวลานั้นเกิดจากความถี่บ่อยของภาครับสัญญาณของประสาทสัมผัสมนุษย์ที่รับรู้ประสบการณ์ภายนอก
ตอนนี้ให้ภาครับสัญญาณของท่าน รับทราบถึงข้อความข้างล่างนี้...
ถ้าผ้าที่คาดว่าจะเป็นผ้าห่อพระศพของพระเยซูก็เป็นเพียงเศษผ้าเก่าๆ ที่มีคราบเลือดมนุษย์เปื้อน
ถ้าภาพวาดโมนาลิซาก็เป็นเพียงผ้าทาสีเก่าๆ
ถ้าตุ๊กตายอดมนุษย์ตัวแรกของผมสมัยเด็กๆ เป็นเพียงก้อนพลาสติกมอมแมม
ถ้าสัญญาณแม่แหล็กไฟฟ้าที่มีรูปแบบแน่นอนจากแหล่งกำเนิดจากนอกโลกก็เป็นแค่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าธรรมดาๆ
ถ้าลมหายใจปริมาตรสุดท้ายของคนที่เรารักก็เป็นเพียงส่วนผสมของก๊าซต่างๆในอากาศที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไนโตรเจน
คำกล่าวเหล่านี้ถูกต้องด้วยเหตุผลและตรรกะ แล้ว...อะไรล่ะที่ทำให้หลายคนรู้สึกว่าไม่เห็นด้วย
ถ้ามีเอกภพ(ใบ)หนึ่งเกิดขึ้นจากบิ๊กแบงและขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว โดยที่เอกภพนี้มีมวลสารต่างๆ น้อยเกินไป ...น้อยเสียจนมวลรวมทั้งหมดไม่หนาแน่นเข้มข้นพอที่ให้แรงโน้มถ่วงดึงดูดมวลสารก่อตัวขึ้นเป็นกระจุกกลุ่มก้อนต่างๆได้ ดังนั้นจึงไม่มีดาวฤกษ์และกาแล็กซีต่างๆเกิดขึ้น และ...ไม่มีชีวิตใดๆที่มีสติปัญญาเกิดขึ้น และก็ไม่มีใครเลยมานั่งถามว่า เอกภพนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ธรรมชาติของสรรพสิ่งในเอกภพทำงานอย่างไร (ฟิสิกส์ของมันเป็นอย่างไร) และก็ไม่มีใครได้รับรู้ถึงความน่าฉงนสนเท่ห์ของธรรมชาติของเอกภพเลยแต่อย่างใด เพราะไม่มีใครเลยอยู่ในเอกภพ
ถูกต้องตามเหตุผลตรรรกะอีกเช่นกัน แล้วถ้าไม่มีใครอยู่ในเอกภพแล้ว เหตุผลตรรกะ มาจากไหนละ?
เอกภพใบที่เรากล่าวถึงนี้ มันเป็นเอกภพที่ว่างเปล่า จึงปราศจากคำถามและทรรศนะจากผู้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อไร้ซึ่งคำถามหรือทรรศนะเกี่ยวกับตัวมัน มันจึงเป็นเอกภพที่ไร้ซึ่ง.......“ความหมาย”.......
ส่วนเอกภพที่มนุษย์เราดำรงอยู่นี้ เราได้ตั้งคำถามและมีทรรศนะต่างๆเกี่ยวกับมัน จึงเป็นเอกภพที่มี
.......“ความหมาย”.......
(จากหลักการมานุษยวิทยา (Anthropic Principle) ในวิชาจักรวาลวิทยา)
ใช่แล้วครับในความเป็นมนุษย์นี้นอกจากเรารับรู้เข้าใจด้วยเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์ต่างๆแล้วเรายังสามารถรับรู้ได้ถึง.......“ความหมาย”.......
เหตุผลและความหมายเป็นของคู่กันเสมอ แม้กระทั่งสำหรับเอกภพ หากเอกภพเกิดขึ้นมาโดยมีผู้สังเกตเฝ้าตั้งคำถามหาเหตุผล เอกภพนั่นย่อมปราศจากความหมาย
ความหมาย (meaning) กับ ตรรกะเหตุผล (logic) ครอบคลุมความถึงสิ่งนามธรรมที่เป็นคู่กันระหว่าง Beauty กับ Order
คุณค่า (merit) กับ มูลค่า (value) และอื่นๆอีกมาก
.......
ซึ่งไม่ว่าจะเรียกหรือมองด้วยทรรศนะอย่างไรก็ตามทีทั้งสองด้านที่แตกต่างกันนี้เป็นการ รับรู้เข้าใจด้วยสมอง แต่ รู้สึกด้วยหัวใจ
ในส่วนของความหมายเชิงคุณค่าที่รู้สึกด้วยหัวใจมนุษย์นั้น มนุษย์สัมผัสได้ถึง
ความงดงาม-ความอุดจาด
ความดีงาม-ความเลวทราม
ความสง่างาม-ความอัปลักษณ์
และอื่นๆ
แม้ว่าสิ่งเหล่านี้ได้แฝงอยู่ในสิ่งของที่อาจมีมูลค่าที่วัดด้วยการใช้สมองคิดเช่น ทรัพย์สิน เงินทอง
แต่คุณค่านั้นย่อมสะท้อนออกมาจากการวัดด้วยหัวใจ
เช่นคุณค่าจากงานศิลป์จากความดีหรือการกระทำต่างๆที่ไม่อาจใช้เหตุผลหรือตรรกะชี้วัดหรือระบุได้
สำหรับผมแล้วคำว่า “ศาสตร์” ไม่ได้แปลว่า “วิชา” และ
คำว่า “ศิลป์” ไม่ได้แปลความว่า “เทคนิคหรือกระบวนวิธี”
หากแต่ “ศิลป์”เชิดชู ความหมายเชิงคุณค่า
และ “ศาสตร์” เชิดชู การใช้เหตุผล
สุขและทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลเชิงตรรกะ หากแต่สุขและทุกข์ของมนุษย์ล้วนยึดถือกับสิ่งที่เรียกว่าความหมายและคุณค่า
อย่างไรก็ดี ความหมายเชิงคุณค่า ขึ้นอยู่กับทรรศนะต่อโลกของบุคคลนั้นและวิธีในการมองโลกของบุคคลนั้น โดยที่ทรรศนะต่อสิ่งหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนคนนั้นที่เคยผ่านมาเกี่ยวกับสิ่งสิ่งนั้น
หากเรามีสติและรู้จักธรรมชาติจิตใจและร่างกายของตัวเราเอง เราจะเลือกวิธีในการรับรู้โลกมองโลกในแบบที่จะทำให้เราเกิดความสุขได้นั่นคือเราเลือกทรรศนะที่มีต่อโลกภายนอกเพื่อที่จะรับรู้“ความหมายเชิงคุณค่า”ได้
ถ้าพิจารณาให้ระบบก็คือตัวเราเอง เมื่อเราได้ทราบคุณสมบัติของตัวเราเองดีพอ เราสามารถเลือกวิธีที่ตัวเราเองจะมีอันตรกิริยากับประสบการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นได้แล้วให้ผลลัพธ์เป็นความสุขได้
การที่เราจะมีความสุขได้เสมอนั้นจึงขึ้นกับว่า
1)เรามีสติแค่ไหน
2)เรารู้จักตัวเองแค่ไหนและ
3)เรายึดมั่นถือมั่นแค่ไหนกับมุมมอง ทรรศนะ ความเชื่อเดิมๆของเราเองกล่าวคือเราปล่อยวางมันได้แค่ไหนและปรับเปลี่ยนทรรศนะให้เหมาะสมได้จนเกิดความสุข
ผมเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนมุมมองเลือกมองหาด้านดีๆของสิ่งที่เลวร้ายได้เสมอ หากเราเลือกที่จะกำหนดทรรศนะของเราได้ในการให้ความหมายเชิงคุณค่าต่อสิ่งๆหนึ่งหรือต่อเหตุการณ์หนึ่งๆที่เกิดขึ้นได้เสมอ เราย่อมเป็นคนที่มีความสุขได้โดยเป็นความสุขที่เริ่มจากภายในตัวเอง และถ้าทำได้คนคนนั้นถือเป็นคนมีปัญญาโดยแท้ ยิ่งเขียนไป เขียนไป ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองยังอยู่ห่างไกลจากปัญญาที่แท้นี้มาก...
สำหรับผมแล้วความหมายมาก่อนเหตุผลเสมอ.......
**********************
เกี่ยวกับผู้เขียน
บุรินทร์ กำจัดภัย
สำเร็จการศึกษาด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยาจากประเทศอังกฤษ
มีอาชีพเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ปัจจุบันทำงานวิจัยและสอนในฐานะอาจารย์ประจำที่สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานหรือ IF มหาวิทยาลัยนเรศวร
Perspective 7 เป็นบทความเกี่ยวกับทรรศนะของตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต่อธรรมชาติ สังคม และปรัชญา ทรรศนะเหล่านี้นำเสนอในหลายประเด็นผ่านหลายเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองโดยผ่านเลนส์ตาของวิทยาศาสตร์
“สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าศีลธรรมและจารีต คือสติและการรู้จักตัวตนของตัวเอง"
ตอนนี้ให้ภาครับสัญญาณของท่าน รับทราบถึงข้อความข้างล่างนี้...
ถ้าผ้าที่คาดว่าจะเป็นผ้าห่อพระศพของพระเยซูก็เป็นเพียงเศษผ้าเก่าๆ ที่มีคราบเลือดมนุษย์เปื้อน
ถ้าภาพวาดโมนาลิซาก็เป็นเพียงผ้าทาสีเก่าๆ
ถ้าตุ๊กตายอดมนุษย์ตัวแรกของผมสมัยเด็กๆ เป็นเพียงก้อนพลาสติกมอมแมม
ถ้าสัญญาณแม่แหล็กไฟฟ้าที่มีรูปแบบแน่นอนจากแหล่งกำเนิดจากนอกโลกก็เป็นแค่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าธรรมดาๆ
ถ้าลมหายใจปริมาตรสุดท้ายของคนที่เรารักก็เป็นเพียงส่วนผสมของก๊าซต่างๆในอากาศที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไนโตรเจน
คำกล่าวเหล่านี้ถูกต้องด้วยเหตุผลและตรรกะ แล้ว...อะไรล่ะที่ทำให้หลายคนรู้สึกว่าไม่เห็นด้วย
ถ้ามีเอกภพ(ใบ)หนึ่งเกิดขึ้นจากบิ๊กแบงและขยายตัวออกอย่างรวดเร็ว โดยที่เอกภพนี้มีมวลสารต่างๆ น้อยเกินไป ...น้อยเสียจนมวลรวมทั้งหมดไม่หนาแน่นเข้มข้นพอที่ให้แรงโน้มถ่วงดึงดูดมวลสารก่อตัวขึ้นเป็นกระจุกกลุ่มก้อนต่างๆได้ ดังนั้นจึงไม่มีดาวฤกษ์และกาแล็กซีต่างๆเกิดขึ้น และ...ไม่มีชีวิตใดๆที่มีสติปัญญาเกิดขึ้น และก็ไม่มีใครเลยมานั่งถามว่า เอกภพนี้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ธรรมชาติของสรรพสิ่งในเอกภพทำงานอย่างไร (ฟิสิกส์ของมันเป็นอย่างไร) และก็ไม่มีใครได้รับรู้ถึงความน่าฉงนสนเท่ห์ของธรรมชาติของเอกภพเลยแต่อย่างใด เพราะไม่มีใครเลยอยู่ในเอกภพ
ถูกต้องตามเหตุผลตรรรกะอีกเช่นกัน แล้วถ้าไม่มีใครอยู่ในเอกภพแล้ว เหตุผลตรรกะ มาจากไหนละ?
เอกภพใบที่เรากล่าวถึงนี้ มันเป็นเอกภพที่ว่างเปล่า จึงปราศจากคำถามและทรรศนะจากผู้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อไร้ซึ่งคำถามหรือทรรศนะเกี่ยวกับตัวมัน มันจึงเป็นเอกภพที่ไร้ซึ่ง.......“ความหมาย”.......
ส่วนเอกภพที่มนุษย์เราดำรงอยู่นี้ เราได้ตั้งคำถามและมีทรรศนะต่างๆเกี่ยวกับมัน จึงเป็นเอกภพที่มี
.......“ความหมาย”.......
(จากหลักการมานุษยวิทยา (Anthropic Principle) ในวิชาจักรวาลวิทยา)
ใช่แล้วครับในความเป็นมนุษย์นี้นอกจากเรารับรู้เข้าใจด้วยเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์ต่างๆแล้วเรายังสามารถรับรู้ได้ถึง.......“ความหมาย”.......
เหตุผลและความหมายเป็นของคู่กันเสมอ แม้กระทั่งสำหรับเอกภพ หากเอกภพเกิดขึ้นมาโดยมีผู้สังเกตเฝ้าตั้งคำถามหาเหตุผล เอกภพนั่นย่อมปราศจากความหมาย
ความหมาย (meaning) กับ ตรรกะเหตุผล (logic) ครอบคลุมความถึงสิ่งนามธรรมที่เป็นคู่กันระหว่าง Beauty กับ Order
คุณค่า (merit) กับ มูลค่า (value) และอื่นๆอีกมาก
.......
ซึ่งไม่ว่าจะเรียกหรือมองด้วยทรรศนะอย่างไรก็ตามทีทั้งสองด้านที่แตกต่างกันนี้เป็นการ รับรู้เข้าใจด้วยสมอง แต่ รู้สึกด้วยหัวใจ
ในส่วนของความหมายเชิงคุณค่าที่รู้สึกด้วยหัวใจมนุษย์นั้น มนุษย์สัมผัสได้ถึง
ความงดงาม-ความอุดจาด
ความดีงาม-ความเลวทราม
ความสง่างาม-ความอัปลักษณ์
และอื่นๆ
แม้ว่าสิ่งเหล่านี้ได้แฝงอยู่ในสิ่งของที่อาจมีมูลค่าที่วัดด้วยการใช้สมองคิดเช่น ทรัพย์สิน เงินทอง
แต่คุณค่านั้นย่อมสะท้อนออกมาจากการวัดด้วยหัวใจ
เช่นคุณค่าจากงานศิลป์จากความดีหรือการกระทำต่างๆที่ไม่อาจใช้เหตุผลหรือตรรกะชี้วัดหรือระบุได้
สำหรับผมแล้วคำว่า “ศาสตร์” ไม่ได้แปลว่า “วิชา” และ
คำว่า “ศิลป์” ไม่ได้แปลความว่า “เทคนิคหรือกระบวนวิธี”
หากแต่ “ศิลป์”เชิดชู ความหมายเชิงคุณค่า
และ “ศาสตร์” เชิดชู การใช้เหตุผล
สุขและทุกข์ของมนุษย์ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลเชิงตรรกะ หากแต่สุขและทุกข์ของมนุษย์ล้วนยึดถือกับสิ่งที่เรียกว่าความหมายและคุณค่า
อย่างไรก็ดี ความหมายเชิงคุณค่า ขึ้นอยู่กับทรรศนะต่อโลกของบุคคลนั้นและวิธีในการมองโลกของบุคคลนั้น โดยที่ทรรศนะต่อสิ่งหนึ่งอาจขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของคนคนนั้นที่เคยผ่านมาเกี่ยวกับสิ่งสิ่งนั้น
หากเรามีสติและรู้จักธรรมชาติจิตใจและร่างกายของตัวเราเอง เราจะเลือกวิธีในการรับรู้โลกมองโลกในแบบที่จะทำให้เราเกิดความสุขได้นั่นคือเราเลือกทรรศนะที่มีต่อโลกภายนอกเพื่อที่จะรับรู้“ความหมายเชิงคุณค่า”ได้
ถ้าพิจารณาให้ระบบก็คือตัวเราเอง เมื่อเราได้ทราบคุณสมบัติของตัวเราเองดีพอ เราสามารถเลือกวิธีที่ตัวเราเองจะมีอันตรกิริยากับประสบการณ์ภายนอกที่เกิดขึ้นได้แล้วให้ผลลัพธ์เป็นความสุขได้
การที่เราจะมีความสุขได้เสมอนั้นจึงขึ้นกับว่า
1)เรามีสติแค่ไหน
2)เรารู้จักตัวเองแค่ไหนและ
3)เรายึดมั่นถือมั่นแค่ไหนกับมุมมอง ทรรศนะ ความเชื่อเดิมๆของเราเองกล่าวคือเราปล่อยวางมันได้แค่ไหนและปรับเปลี่ยนทรรศนะให้เหมาะสมได้จนเกิดความสุข
ผมเชื่อว่าเราสามารถเปลี่ยนมุมมองเลือกมองหาด้านดีๆของสิ่งที่เลวร้ายได้เสมอ หากเราเลือกที่จะกำหนดทรรศนะของเราได้ในการให้ความหมายเชิงคุณค่าต่อสิ่งๆหนึ่งหรือต่อเหตุการณ์หนึ่งๆที่เกิดขึ้นได้เสมอ เราย่อมเป็นคนที่มีความสุขได้โดยเป็นความสุขที่เริ่มจากภายในตัวเอง และถ้าทำได้คนคนนั้นถือเป็นคนมีปัญญาโดยแท้ ยิ่งเขียนไป เขียนไป ยิ่งรู้สึกว่าตัวเองยังอยู่ห่างไกลจากปัญญาที่แท้นี้มาก...
สำหรับผมแล้วความหมายมาก่อนเหตุผลเสมอ.......
**********************
เกี่ยวกับผู้เขียน
บุรินทร์ กำจัดภัย
สำเร็จการศึกษาด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยาจากประเทศอังกฤษ
มีอาชีพเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ปัจจุบันทำงานวิจัยและสอนในฐานะอาจารย์ประจำที่สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานหรือ IF มหาวิทยาลัยนเรศวร
Perspective 7 เป็นบทความเกี่ยวกับทรรศนะของตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต่อธรรมชาติ สังคม และปรัชญา ทรรศนะเหล่านี้นำเสนอในหลายประเด็นผ่านหลายเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองโดยผ่านเลนส์ตาของวิทยาศาสตร์
“สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าศีลธรรมและจารีต คือสติและการรู้จักตัวตนของตัวเอง"