Perspective 7
วัยเด็กนั้นบรรเจิด
โดย บุรินทร์ กำจัดภัย
สมัย เด็กๆ จำได้ว่าเวลาดูทีวี ผมมักโดนผู้ใหญ่เรียกไปอาบน้ำ หรือไปกินข้าว เมื่อถึงเวลากินข้าวเย็น ครั้งแรกผมอาจจะไม่ยอมไป เพราะกำลังถึงตอนสำคัญในภาพยนตร์ประเภทขบวนการห้ามนุษย์ไฟฟ้า แต่เมื่อถูกขู่ว่าถ้าไม่ไปเดี๋ยวโดนตี ก็เลยต้องไป
“เดี๋ยวค่อยมาดูต่อ” เสียงอาม้าสั่ง
“ครับ ครับ อื่ออ….” ผมยอมไปแบบขาดเสียไม่ได้ ในใจก็กลัวจะดูไม่ต่อเนื่อง พลาดตอนสำคัญ ด้วยความไม่รู้ จึงถามอาม้าว่า
“อาม้าครับแล้ว ถ้าปิดทีวีไปแล้ว ผมกลับมาจะได้ดูตอนต่อกันหรอเปล่าครับ”
อาม้าบอกว่าเดี๋ยวอาบน้ำแล้วมาต่อดูก็ได้ ผมก็เชื่อแต่ก็ยังสงสัยว่าจะพลาดตอนสำคัญ อีกใจก็สงสัยว่าทีวีมันส่งสัญญาณกันมาอย่างไร รายการทีวีมันจะหยุดรอเราเชียวหรือ จึงถามอาม้าซ้ำ
ปรากฏว่า อย่างเดิมครับ คำตอบของอาม้า ด้วยความเข้าใจของอาม้าซึ่งแก่แล้ว ท่านย่อมไม่รู้หรอกว่าสัญญาณทีวีมันจะรอเราไหม ผมเชื่ออาม้าครับ เข้าใจว่ารายการทีวีมันจะหยุดรอ แน่นอนว่าผมอดดูตอนสำคัญ ซึ่ง...สำหรับผมในเวลานั้นมันเป็นเรื่องสำคัญมากๆ
เวลา ปิดภาคเรียนเป็นที่ตั้งตารอสำหรับผมสมัยยังเป็นเด็ก ใช้ไปกับการเที่ยวบ้านคุณยายใหญ่ซึ่งเป็นพี่สาวของคุณยาย บ้านนี้อยู่ที่สิงห์บุรี บ้านยายใหญ่อยู่ในชนบทริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ผมและน้องๆ จึงมีโอกาสลงเล่นน้ำในแม่น้ำทุกเย็น และทุกครั้งจะมีคุณยายใหญ่คอยนั่งดูแลอยู่ไม่ให้ไปเล่นบริเวณที่ลึกและน้ำ เชี่ยว ผมได้ยินผู้ใหญ่เล่าเรื่องคนจมน้ำตายในแม่น้ำนี้อยู่หลายครั้งจนเกิดความ กลัวและสร้างภาพในหัวว่า แม่น้ำนี้จะมีส่วนที่ตื้นพอให้เด็กเล่นได้เฉพาะแค่ตรงชายขอบที่ติดตลิ่ง หากเราเดินเลยไปในน้ำอีกสักหน่อย (สักห้าเมตร) มันก็จะลึกชันอย่างมากในทันทีเป็นดังเหว และที่ผู้ใหญ่เขาเดินลงไปยืนในน้ำเลยออกจากตลิ่งไปได้สักสิบเมตรโดยไม่จมลง ไปได้นั้นเป็นเพราะมันมีเสาไม้จำนวนมากฝังแนวตั้งอยู่ใต้ผิวน้ำ เสาเหล่านี้ตั้งเรียงกันใต้น้ำทั้งในแนวกว้างและยาวของพื้นที่ ทุกเสาห่างจากกันประมาณครึ่งเมตร ผู้ใหญ่ที่เดินไม่ดีตกเสาลงไปในเหวจึงเรียกว่าจมน้ำ ส่วนไอ้พวกที่จมน้ำเพราะว่ายน้ำออกไปไกลเกินนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
วันหนึ่งน้าชายของผมไปดูแลผมเล่นน้ำ แกอุ้มผมไปบริเวณที่ลึกสักระดับเอวของผู้ใหญ่ ซึ่งก็คือระดับคอของผม แกจับตัวผมนอนคว่ำแนวราบคล้ายๆแพลงกิ้ง แกจะสอนผมให้ว่ายน้ำได้ แกเลยปล่อยมือ ผมตกน้ำ และด้วย“แบบจำลองทางความคิดเกี่ยวกับแม่น้ำ”ที่ผมมี ผมจึงยิ่งกลัวเข้าไปใหญ่ผมกินน้ำไปหลายอึก
ผมนี่โง่เสียเหลือเกิน
บาง ทีความไม่รู้ทำให้เราสร้างจินตนาการเพื่ออธิบายมัน พิจารณาแบบผิวเผิน มันคล้ายความโง่ ความไร้เดียงสา ความไม่รู้ จินตนาการ ว่า บางสิ่ง ที่เราไม่รู้ มันอาจเป็นไปได้
จินตนาการเป็นบ่อก่อเกิดของหลายๆสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา
วิทยาศาสตร์และงานศิลปะต่างก็เกิดจากจินตนาการ
สำหรับ เด็กอย่างผมในวันนั้น จินตนาการของผมเป็นอิสระไม่ได้สร้างจากรากฐานความรู้อะไรอื่นเลย ไม่ได้ถูกพันธนาการจากระบบความคิดใดๆ จึงออกมาดู โง่ๆ กึ่มๆ
จินตนาการของผมเกิดขึ้นเพื่ออธิบายการจมน้ำ ตามข้อเท็จจริงเท่าที่ผมรู้ในเวลานั้น
วันนี้ คำว่า“เก่ง”ในสังคมไทยหมายถึงแบบใด แบบแรก คือมีเชาว์ ไหวพริบ คล่องแคล่ว ทักษะดี เอาตัวรอดได้อย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาตรงหน้าได้ไว เรียนรู้เทคโนโลยีที่เขาคิดกันให้ใช้ไดว่องไว หรือเป็นแบบที่คิด พินิจ จินตนาการถ้วนถี่ หาเหตุผลที่แท้จริง เพื่อหาคำอธิบายที่รัดกุมชัดเจนเสียก่อนจะทำอะไรลงไป คนประเภทหลังมักดูทึ่ม ช้า ละเอียดละออ และอาจดูไม่เท่ห์เท่าพวกแรกที่คล่องแคล่วกว่า
ความคิดของเด็กช่างเต็มไปด้วยจินตนาการมากเหลือ วันเหล่านั้นหายไปทีละน้อยๆ
สำหรับผมเอง ผมคิดว่าองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเป็นนักคิด นักวิทยาศาสตร์ ก็คือความเป็นเด็ก
เด็ก ที่แท้จริงจะไม่ถามหรือคิดหาคำตอบเพราะว่าอยากได้สิ่งอื่นตอบแทน เช่น อยากได้ เงิน รางวัล โล่นักเรียนดีเด่น ลาภ ยศ สรรเสริญ การแข่งขันชิงเด่นกัน เด็กจะไม่เคยมีทักษะหรือความชำนาญในเรื่องใดเลย คนที่จะมีหรือคิดถึงของพวกนี้คือพวกผู้ใหญ่
วันนี้ เด็กของเราเต็มไปด้วยการแข่งขัน เด็กได้รับการเร่งรัดให้ฝึกทักษะโน่นนี่ เต็มไปด้วยการตีกรอบพันธนาการจินตนาการ เต็มไปด้วยความหลงเป็นทาสในวัตถุ และมองไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงว่าควรออกมาจากภายใน ไม่ใช่แสวงหาจากลาภ ยศ เครื่องประดับภายนอก
ทุกวันนี้มีนักศึกษาสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่เรียนปริญญาโท-เอกกันเพราะอยากได้ความรู้อย่างแท้จริง หลายคนมองว่าอยากเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก อยากให้อาจารย์ปล่อยให้เรียนจบง่ายๆ จบแล้วจะได้มายืดใส่กันว่าฉันนะเป็นด็อกเตอร์แล้วนะ ในวันนี้มีการผลิตด็อกเตอร์กันในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ เพราะสถาบันอุดมศึกษาอยากได้เงิน สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งตอบสนองความหลงของคน เฉกเช่นเดียวกับการไปซื้อขายบริการอะไรสักอย่าง
หลง...สำคัญผิดดึงเอาสิ่งภายนอกมาประดับเป็นคุณค่าของตน เพราะตัวเองขาดคุณค่าเหล่านั้น
ความเป็นเด็กและจินตนาการจึงหายไป เพราะหลง ปัญญาจึงไม่เกิดมี มีแต่อวิชชา
วัยเด็กของผมฝากเอาไว้กับผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้าน เมื่อใดที่ผมหลง มีแต่อวิชชา อยากได้ความเป็นเด็กคืนมา ก็ต้อง...กลับบ้าน ไปอยู่กับผู้เฒ่าผู้แก่ของเรา ใช้เวลาอยู่กับท่าน ให้ท่านคืนความเป็นเด็กให้เรา
*****************************************
เกี่ยวกับผู้เขียน
บุรินทร์ กำจัดภัย
สำเร็จการศึกษาด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยาจากประเทศอังกฤษ
มีอาชีพเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ปัจจุบันทำงานวิจัยและสอนในฐานะอาจารย์ประจำที่สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานหรือ IF มหาวิทยาลัยนเรศวร
Perspective 7 เป็นบทความเกี่ยวกับทรรศนะของตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต่อธรรมชาติ สังคม และปรัชญา ทรรศนะเหล่านี้นำเสนอในหลายประเด็นผ่านหลายเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองโดยผ่านเลนส์ตาของวิทยาศาสตร์
“สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าศีลธรรมและจารีต คือสติและการรู้จักตัวตนของตัวเอง"
อ่านบทความ บุรินทร์ กำจัดภัย ทุกวันที่ 7 ของเดือน
วัยเด็กนั้นบรรเจิด
โดย บุรินทร์ กำจัดภัย
สมัย เด็กๆ จำได้ว่าเวลาดูทีวี ผมมักโดนผู้ใหญ่เรียกไปอาบน้ำ หรือไปกินข้าว เมื่อถึงเวลากินข้าวเย็น ครั้งแรกผมอาจจะไม่ยอมไป เพราะกำลังถึงตอนสำคัญในภาพยนตร์ประเภทขบวนการห้ามนุษย์ไฟฟ้า แต่เมื่อถูกขู่ว่าถ้าไม่ไปเดี๋ยวโดนตี ก็เลยต้องไป
“เดี๋ยวค่อยมาดูต่อ” เสียงอาม้าสั่ง
“ครับ ครับ อื่ออ….” ผมยอมไปแบบขาดเสียไม่ได้ ในใจก็กลัวจะดูไม่ต่อเนื่อง พลาดตอนสำคัญ ด้วยความไม่รู้ จึงถามอาม้าว่า
“อาม้าครับแล้ว ถ้าปิดทีวีไปแล้ว ผมกลับมาจะได้ดูตอนต่อกันหรอเปล่าครับ”
อาม้าบอกว่าเดี๋ยวอาบน้ำแล้วมาต่อดูก็ได้ ผมก็เชื่อแต่ก็ยังสงสัยว่าจะพลาดตอนสำคัญ อีกใจก็สงสัยว่าทีวีมันส่งสัญญาณกันมาอย่างไร รายการทีวีมันจะหยุดรอเราเชียวหรือ จึงถามอาม้าซ้ำ
ปรากฏว่า อย่างเดิมครับ คำตอบของอาม้า ด้วยความเข้าใจของอาม้าซึ่งแก่แล้ว ท่านย่อมไม่รู้หรอกว่าสัญญาณทีวีมันจะรอเราไหม ผมเชื่ออาม้าครับ เข้าใจว่ารายการทีวีมันจะหยุดรอ แน่นอนว่าผมอดดูตอนสำคัญ ซึ่ง...สำหรับผมในเวลานั้นมันเป็นเรื่องสำคัญมากๆ
เวลา ปิดภาคเรียนเป็นที่ตั้งตารอสำหรับผมสมัยยังเป็นเด็ก ใช้ไปกับการเที่ยวบ้านคุณยายใหญ่ซึ่งเป็นพี่สาวของคุณยาย บ้านนี้อยู่ที่สิงห์บุรี บ้านยายใหญ่อยู่ในชนบทริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ผมและน้องๆ จึงมีโอกาสลงเล่นน้ำในแม่น้ำทุกเย็น และทุกครั้งจะมีคุณยายใหญ่คอยนั่งดูแลอยู่ไม่ให้ไปเล่นบริเวณที่ลึกและน้ำ เชี่ยว ผมได้ยินผู้ใหญ่เล่าเรื่องคนจมน้ำตายในแม่น้ำนี้อยู่หลายครั้งจนเกิดความ กลัวและสร้างภาพในหัวว่า แม่น้ำนี้จะมีส่วนที่ตื้นพอให้เด็กเล่นได้เฉพาะแค่ตรงชายขอบที่ติดตลิ่ง หากเราเดินเลยไปในน้ำอีกสักหน่อย (สักห้าเมตร) มันก็จะลึกชันอย่างมากในทันทีเป็นดังเหว และที่ผู้ใหญ่เขาเดินลงไปยืนในน้ำเลยออกจากตลิ่งไปได้สักสิบเมตรโดยไม่จมลง ไปได้นั้นเป็นเพราะมันมีเสาไม้จำนวนมากฝังแนวตั้งอยู่ใต้ผิวน้ำ เสาเหล่านี้ตั้งเรียงกันใต้น้ำทั้งในแนวกว้างและยาวของพื้นที่ ทุกเสาห่างจากกันประมาณครึ่งเมตร ผู้ใหญ่ที่เดินไม่ดีตกเสาลงไปในเหวจึงเรียกว่าจมน้ำ ส่วนไอ้พวกที่จมน้ำเพราะว่ายน้ำออกไปไกลเกินนั้นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง
วันหนึ่งน้าชายของผมไปดูแลผมเล่นน้ำ แกอุ้มผมไปบริเวณที่ลึกสักระดับเอวของผู้ใหญ่ ซึ่งก็คือระดับคอของผม แกจับตัวผมนอนคว่ำแนวราบคล้ายๆแพลงกิ้ง แกจะสอนผมให้ว่ายน้ำได้ แกเลยปล่อยมือ ผมตกน้ำ และด้วย“แบบจำลองทางความคิดเกี่ยวกับแม่น้ำ”ที่ผมมี ผมจึงยิ่งกลัวเข้าไปใหญ่ผมกินน้ำไปหลายอึก
ผมนี่โง่เสียเหลือเกิน
บาง ทีความไม่รู้ทำให้เราสร้างจินตนาการเพื่ออธิบายมัน พิจารณาแบบผิวเผิน มันคล้ายความโง่ ความไร้เดียงสา ความไม่รู้ จินตนาการ ว่า บางสิ่ง ที่เราไม่รู้ มันอาจเป็นไปได้
จินตนาการเป็นบ่อก่อเกิดของหลายๆสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา
วิทยาศาสตร์และงานศิลปะต่างก็เกิดจากจินตนาการ
สำหรับ เด็กอย่างผมในวันนั้น จินตนาการของผมเป็นอิสระไม่ได้สร้างจากรากฐานความรู้อะไรอื่นเลย ไม่ได้ถูกพันธนาการจากระบบความคิดใดๆ จึงออกมาดู โง่ๆ กึ่มๆ
จินตนาการของผมเกิดขึ้นเพื่ออธิบายการจมน้ำ ตามข้อเท็จจริงเท่าที่ผมรู้ในเวลานั้น
วันนี้ คำว่า“เก่ง”ในสังคมไทยหมายถึงแบบใด แบบแรก คือมีเชาว์ ไหวพริบ คล่องแคล่ว ทักษะดี เอาตัวรอดได้อย่างรวดเร็ว แก้ปัญหาตรงหน้าได้ไว เรียนรู้เทคโนโลยีที่เขาคิดกันให้ใช้ไดว่องไว หรือเป็นแบบที่คิด พินิจ จินตนาการถ้วนถี่ หาเหตุผลที่แท้จริง เพื่อหาคำอธิบายที่รัดกุมชัดเจนเสียก่อนจะทำอะไรลงไป คนประเภทหลังมักดูทึ่ม ช้า ละเอียดละออ และอาจดูไม่เท่ห์เท่าพวกแรกที่คล่องแคล่วกว่า
ความคิดของเด็กช่างเต็มไปด้วยจินตนาการมากเหลือ วันเหล่านั้นหายไปทีละน้อยๆ
สำหรับผมเอง ผมคิดว่าองค์ประกอบสำคัญที่สุดของการเป็นนักคิด นักวิทยาศาสตร์ ก็คือความเป็นเด็ก
เด็ก ที่แท้จริงจะไม่ถามหรือคิดหาคำตอบเพราะว่าอยากได้สิ่งอื่นตอบแทน เช่น อยากได้ เงิน รางวัล โล่นักเรียนดีเด่น ลาภ ยศ สรรเสริญ การแข่งขันชิงเด่นกัน เด็กจะไม่เคยมีทักษะหรือความชำนาญในเรื่องใดเลย คนที่จะมีหรือคิดถึงของพวกนี้คือพวกผู้ใหญ่
วันนี้ เด็กของเราเต็มไปด้วยการแข่งขัน เด็กได้รับการเร่งรัดให้ฝึกทักษะโน่นนี่ เต็มไปด้วยการตีกรอบพันธนาการจินตนาการ เต็มไปด้วยความหลงเป็นทาสในวัตถุ และมองไม่เห็นคุณค่าที่แท้จริงว่าควรออกมาจากภายใน ไม่ใช่แสวงหาจากลาภ ยศ เครื่องประดับภายนอก
ทุกวันนี้มีนักศึกษาสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่เรียนปริญญาโท-เอกกันเพราะอยากได้ความรู้อย่างแท้จริง หลายคนมองว่าอยากเรียนปริญญาโท ปริญญาเอก อยากให้อาจารย์ปล่อยให้เรียนจบง่ายๆ จบแล้วจะได้มายืดใส่กันว่าฉันนะเป็นด็อกเตอร์แล้วนะ ในวันนี้มีการผลิตด็อกเตอร์กันในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ เพราะสถาบันอุดมศึกษาอยากได้เงิน สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งตอบสนองความหลงของคน เฉกเช่นเดียวกับการไปซื้อขายบริการอะไรสักอย่าง
หลง...สำคัญผิดดึงเอาสิ่งภายนอกมาประดับเป็นคุณค่าของตน เพราะตัวเองขาดคุณค่าเหล่านั้น
ความเป็นเด็กและจินตนาการจึงหายไป เพราะหลง ปัญญาจึงไม่เกิดมี มีแต่อวิชชา
วัยเด็กของผมฝากเอาไว้กับผู้เฒ่าผู้แก่ที่บ้าน เมื่อใดที่ผมหลง มีแต่อวิชชา อยากได้ความเป็นเด็กคืนมา ก็ต้อง...กลับบ้าน ไปอยู่กับผู้เฒ่าผู้แก่ของเรา ใช้เวลาอยู่กับท่าน ให้ท่านคืนความเป็นเด็กให้เรา
*****************************************
เกี่ยวกับผู้เขียน
บุรินทร์ กำจัดภัย
สำเร็จการศึกษาด้านฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยาจากประเทศอังกฤษ
มีอาชีพเป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ปัจจุบันทำงานวิจัยและสอนในฐานะอาจารย์ประจำที่สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐานหรือ IF มหาวิทยาลัยนเรศวร
Perspective 7 เป็นบทความเกี่ยวกับทรรศนะของตัวผู้เขียนเองซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ต่อธรรมชาติ สังคม และปรัชญา ทรรศนะเหล่านี้นำเสนอในหลายประเด็นผ่านหลายเรื่องราวจากประสบการณ์ของผู้เขียนเองโดยผ่านเลนส์ตาของวิทยาศาสตร์
“สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าศีลธรรมและจารีต คือสติและการรู้จักตัวตนของตัวเอง"
อ่านบทความ บุรินทร์ กำจัดภัย ทุกวันที่ 7 ของเดือน