xs
xsm
sm
md
lg

นักวิทย์บอกวิกฤตโรงไฟฟ้าญี่ปุ่นทำคนสนใจ “นิวเคลียร์” มากขึ้น

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การสัมมนา “วิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น มุมมองนักวิจัย”
แน่นอนว่าภาพลักษณ์ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่ได้อยู่ในมุมบวกสำหรับคนทั่วไป แต่การใช้ประโยชน์จากนิวเคลียร์ก็แทรกตัวอยู่ในสังคมอย่างเงียบๆ วันดีคืนดีเกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ขึ้นมา ภาพลบของนิวเคลียร์จึงเด่นชัดยิ่งขึ้น แล้วนักวิทยาศาสตร์เขามองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกันอย่างไร?

ดร.สมพร จองคำ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิวเคลียร์และกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ อดีตผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์ (สทน.) กล่าวว่า นิวเคลียร์ถูกนำมาใช้ในทางสันติ หลังยุติสงครามโลกเมื่อปี 1945 แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว นิวเคลียร์เป็นภาพฝันร้าย เหมือนผี

"สิ่งที่คนเห็ นคือภาพของดอกเห็ดจากระเบิดนิวเคลียร์ อุบัติเหตุเชอร์โนบิล
และภาพฝันร้ายของไทย ก็มีเมื่อปี 2543 ในกรณีซาเล้งขโมยตะกั่วเก็บสารรังสี และพยายามผ่าผนึกกำบังรังสีออกจนมีผู้เสียชีวิตค่าที่ 2-3 รายที่ยืนอยู่บริเวณได้รับรังสี" ดร.สมพรเล่า 

ทั้งนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ ไดอิจิ ของญี่ปุ่นนั้น ทำให้คนกลัวนิวเคลียร์มากขึ้น และตอนนี้เมื่อถามเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในไท ยไม่มีใครอยากพูดถึง แต่แผนสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยังคงต้องมีอยู่เพราะไม่เช่นนั้นเกิดไฟดับแน่

พร้อมทั้งบอกอีกว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นรองรับแผ่นดินไหวเกือบ 9 ริกเตอร์ได้ แต่ที่เสียหายเพราะถูกสึนามิถล่ม ดังนั้น การออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในอนาคตจะต้องผนึกระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโรงไฟฟ้าไม่ให้สัมผัสกับน้ำ

ส่วน นายกิตติศักดิ์ ชินอุดมทรัพย์ ผอ.สำนักกำกับดูแลความปลอดภัยทางรังสี สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ บอกทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ ว่า สถานการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ญี่ปุ่นทำให้เกิดผลกระทบ 2 แง่มุม

มุมแรกนั้นคนทั่วไปมองนิวเคลียร์ในเชิงลบอยู่แล้ว เมื่อเกิดเหตุซ้ำที่ญี่ปุ่นอีก ทำให้ส่งผลกระทบแง่ลบต่อนิวเคลียร์เข้าไปอีก
ซึ่งมีผลสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 อุบัติเหตุเชอร์โนบิล และมาเกิดเหตุที่ญี่ปุ่นอีกยิ่งทำให้เกิดภาพลบคล้ายๆ กันตามมาอีก

อีกแง่มุมซึ่งตรงข้ามกับมุมแรกคือ ทำให้สังคมตื่นตัว และเปิดรับข้อมูลนิวเคลียร์และรังสีมากขึ้น ทั้งภาครัฐและสื่อต่างก็พยายามขวนขวายข้อมูลความรู้เกี่ยวกับนิวเคลียร์มานำเสนอ ซึ่งแต่ก่อนคนไม่รู้ว่านิวเคลียร์คืออะไร โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เป็นอย่างไร รังสีคืออะไร ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องก็เผยแพร่ออกไป แต่พอเกิดเหตุขึ้นก็ทำให้ผู้คนตื่นตัวรับรู้ข้อมูลมากขึ้น เป็นการผลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้นักนิวเคลียร์ได้เผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน” กิตติศักดิ์กล่าว

ทั้งนี้ เป็นการเปิดเผยภายในการสัมมนา “วิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่น มุมมองนักวิจัย” ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เมื่อวันที่ 29 เม.ย.54 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
นายกิตติศักดิ์ ชินอุดมทรัพย์
ดร.สมพร จองคำ (ภาพจาก วช.)
กำลังโหลดความคิดเห็น