ได้รู้จักและประจักษ์ถึงโทษของ "นิวเคลียร์" กันมาก็มาก แต่ในความน่าสะพรึงกลัว ยังมีประโยชน์ที่หลายคนอาจจะไม่ทราบมาก่อนซ่อนอยู่ ซึ่ง 4 คนวงในที่ส่วนทำงานใกล้ชิดกับสารรังสีได้ชี้ให้เห็น
ทีมขาววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์เก็บตกความเห็นจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ก.ค.52 ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า ซึ่งมีการเสวนา "สังคมไทยได้อะไรจากเทคโนโลยีนิวเคลียร์" ในวันสุดท้าย โดยผู้คร่ำหวอดในวงการรังสีทั้ง 4 ท่านได้ชี้ถึงข้อดีของ "นิวเคลียร์" ไว้ดังนี้
พญ.ภาวนา ภูสุวรรณ ภาควิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
"การใช้รังสีทางการแพทย์นั้น หลักๆ ใช้ด้านการรักษาและการวินิจฉัย ซึ่งมีการใช้สารรังสีกับผู้ป่วยทั้งฉายรังสีด้านนอกรางกายของผู้ป่วย และสอดใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เพื่อรักษาและติดตามระดับความรุนแรงของโรค รวมทั้งการถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยด้วยเครื่อง PET scan หรือ CT scan และเครื่องที่รวมสมบัติของเครื่องทั้งสอง PET/CT ซึ่งในไทยมี 5 เครื่อง และส่วนใหญ่ใช้เพื่อรังษาโรคมะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด"
น.ส.รัชฎา อินทรกำแหง นักวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
"การใช้รังสีด้านการเกษตรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและลดศัตรูพืช โดยใช้รังสีฉายเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เกิดการกลายพันธุ์แล้วได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นและฉายรังสีเพื่อให้ศัตรูพืชเป็นหมันแล้วปล่อยสู่ธรรมชาติเพือ่ลดการจับคู่ผสมพันธุ์ แต่ยังมีการฉายรังสีเพื่อสุขอนามัยพืชเพื่อการส่งออก โดยฉายรังสีให้กับพืชผักผลไม้เพื่อจำกัดศัตรูพืชและป้องกันการปพน่กระจายของศัตรูพืชควบคุมตามกฎหมายด้านสุขอนามัยพืช ซึ่งเดิมสหรัฐฯ ยอมให้ไทยส่งออกผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดเข้าประเทศ แต่ตั้งแต่ 2549 สหรัฐฯ ยอมรับผลไม้ไทยที่ผ่านการฉายรังสีมากขึ้น"
ดร.กมล ตรรกบุตร ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
"เนื่องจากไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 70% ซึ่งก๊าซธรรมชาติจะหมดลงในอีกไม่กี่ปี และเมื่อเดือน เม.ย.ปีที่ผ่านมา เรามีปัญหาเรื่องไฟฟ้าเนื่องจากก๊าซธรรมชาติจากพม่าส่งมาไม่ได้ เราจึงต้องหาทางออกด้วยการผลิตไฟฟ้าต้นทุน 5 บาท ขาย 3 บาท ดังนั้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นทางออก ซึ่งถ้าเทียบสัดส่วนเชื้อเพลิง ถ่านหิน 1 กิโลกรัมให้ไฟฟ้า 3 หน่วย แต่ยูเรเนียมในปริมาณเท่ากันให้เชื้อเพลิง 300,000 หน่วย ตกแล้วเราจะใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าใช้ปีละ 25 ตัน ซึ่งการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้จะได้ข้อสรุปในปลายปี 2553 จากนั้นจะใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อออกแบบ แล้วใช้เวลาอีก 5-6 ปีเพื่อก่อสร้าง"
นายถาวร เกตุสุวรรณ จาก บริษัท ปตท.อะโรมาติกส์และการกลั่น จำกัด
"การใช้นิวเคลียร์ในโรงงานอะโรมาติกส์และโรงกลั่นของ ปตท. ใช้เยอะในด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งเครื่องจักรในโรงงานจะเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง การหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมหรือตรวจสอบนั้นจะทำให้สูญเสียรายได้วันละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นนาทีละ 40,000 บาท ดังนั้นการหยุดเดินเครื่อง 1-2 วัน เงินที่เสียไปซื้อเบนซ์คันใหญ่ๆ ได้หลายคัน อีกทั้งผิดปกติภายในหอกลั่น หากไม่มีการวางแผนในการแก้ไขจะทำให้สูญเสียทั้งเงินและเวลา ทั้งนี้เราจะใช้รังสีแกมมาในการสแกนหาความผิดปกติของหอกลั่น"
ทีมขาววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์เก็บตกความเห็นจากการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ครั้งที่ 11 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 ก.ค.52 ณ หอประชุมมหิศร ไทยพาณิชย์ปาร์คพลาซ่า ซึ่งมีการเสวนา "สังคมไทยได้อะไรจากเทคโนโลยีนิวเคลียร์" ในวันสุดท้าย โดยผู้คร่ำหวอดในวงการรังสีทั้ง 4 ท่านได้ชี้ถึงข้อดีของ "นิวเคลียร์" ไว้ดังนี้
พญ.ภาวนา ภูสุวรรณ ภาควิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
"การใช้รังสีทางการแพทย์นั้น หลักๆ ใช้ด้านการรักษาและการวินิจฉัย ซึ่งมีการใช้สารรังสีกับผู้ป่วยทั้งฉายรังสีด้านนอกรางกายของผู้ป่วย และสอดใส่เข้าไปในร่างกายผู้ป่วย เพื่อรักษาและติดตามระดับความรุนแรงของโรค รวมทั้งการถ่ายภาพเพื่อการวินิจฉัยด้วยเครื่อง PET scan หรือ CT scan และเครื่องที่รวมสมบัติของเครื่องทั้งสอง PET/CT ซึ่งในไทยมี 5 เครื่อง และส่วนใหญ่ใช้เพื่อรังษาโรคมะเร็งลำไส้ และมะเร็งปอด"
น.ส.รัชฎา อินทรกำแหง นักวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร
"การใช้รังสีด้านการเกษตรนั้น ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชและลดศัตรูพืช โดยใช้รังสีฉายเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เกิดการกลายพันธุ์แล้วได้สายพันธุ์ที่ดีขึ้นและฉายรังสีเพื่อให้ศัตรูพืชเป็นหมันแล้วปล่อยสู่ธรรมชาติเพือ่ลดการจับคู่ผสมพันธุ์ แต่ยังมีการฉายรังสีเพื่อสุขอนามัยพืชเพื่อการส่งออก โดยฉายรังสีให้กับพืชผักผลไม้เพื่อจำกัดศัตรูพืชและป้องกันการปพน่กระจายของศัตรูพืชควบคุมตามกฎหมายด้านสุขอนามัยพืช ซึ่งเดิมสหรัฐฯ ยอมให้ไทยส่งออกผลไม้เพียงไม่กี่ชนิดเข้าประเทศ แต่ตั้งแต่ 2549 สหรัฐฯ ยอมรับผลไม้ไทยที่ผ่านการฉายรังสีมากขึ้น"
ดร.กมล ตรรกบุตร ผู้ช่วยผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
"เนื่องจากไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าถึง 70% ซึ่งก๊าซธรรมชาติจะหมดลงในอีกไม่กี่ปี และเมื่อเดือน เม.ย.ปีที่ผ่านมา เรามีปัญหาเรื่องไฟฟ้าเนื่องจากก๊าซธรรมชาติจากพม่าส่งมาไม่ได้ เราจึงต้องหาทางออกด้วยการผลิตไฟฟ้าต้นทุน 5 บาท ขาย 3 บาท ดังนั้นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จึงเป็นทางออก ซึ่งถ้าเทียบสัดส่วนเชื้อเพลิง ถ่านหิน 1 กิโลกรัมให้ไฟฟ้า 3 หน่วย แต่ยูเรเนียมในปริมาณเท่ากันให้เชื้อเพลิง 300,000 หน่วย ตกแล้วเราจะใช้เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าใช้ปีละ 25 ตัน ซึ่งการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นี้จะได้ข้อสรุปในปลายปี 2553 จากนั้นจะใช้เวลาอีก 3 ปีเพื่อออกแบบ แล้วใช้เวลาอีก 5-6 ปีเพื่อก่อสร้าง"
นายถาวร เกตุสุวรรณ จาก บริษัท ปตท.อะโรมาติกส์และการกลั่น จำกัด
"การใช้นิวเคลียร์ในโรงงานอะโรมาติกส์และโรงกลั่นของ ปตท. ใช้เยอะในด้านการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย ซึ่งเครื่องจักรในโรงงานจะเดินเครื่องตลอด 24 ชั่วโมง การหยุดเดินเครื่องเพื่อซ่อมหรือตรวจสอบนั้นจะทำให้สูญเสียรายได้วันละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นนาทีละ 40,000 บาท ดังนั้นการหยุดเดินเครื่อง 1-2 วัน เงินที่เสียไปซื้อเบนซ์คันใหญ่ๆ ได้หลายคัน อีกทั้งผิดปกติภายในหอกลั่น หากไม่มีการวางแผนในการแก้ไขจะทำให้สูญเสียทั้งเงินและเวลา ทั้งนี้เราจะใช้รังสีแกมมาในการสแกนหาความผิดปกติของหอกลั่น"