เทคโนโลยีดาวเทียมและเรดาร์ในปัจจุบัน สามารถทำนายเส้นทางของพายุเฮอร์ริเคนได้ค่อนข้างแม่นยำ และการชี้ชัดลงไปว่า จะเกิดพายุเมื่อใด และมีความรุนแรงแค่ไหนั้น ยังเป็นเรื่องยากอยู่ แต่ปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่าง "ฟ้าผ่า" อาจช่วยพยากรณ์ได้ว่าพายุช่วงไหนรุนแรงที่สุด
เนชันแนลจีโอกราฟิก ได้อ้างถึงรายงานล่าสุดของนักวิจัยเรื่องฟ้าผ่า จากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) ในอิสราเอล นามว่า "คอลิน ไพรซ์" (Colin Price) ซึ่งเขาอธิบายว่า ความเร็วของสายฟ้าฟาดและความเร็วลมนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยมีช่วงที่ฟ้าผ่าสูงสุดประมาณ 30 นาทีก่อนเกิดลมแรงสูงสุด ซึ่งปรากฏการณ์ฟ้าผ่านี้ ทำให้เราได้ลางบอกเหตุล่วงหน้าก่อนเกิดพายุเฮอร์ริเคน และการใช้ฟ้าผ่าทำนายความรุนแรงของพายุ จะช่วยเหลือพื้นที่ซึ่งขาดเทคโนดลยีในการติดตามพายุเฮอร์ริเคน
สำหรับงานวิจัยเพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างฟ้าผ่า และความรุนแรงของพายุเฮอร์ริเคนนั้น เริ่มมาเกือบ 20 ปีแล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่าพายุที่รุนแรงนั้นมักจะเกิดเหนือพื้นที่ซึ่งมีน้ำร้อนอันเนื่องจากการหมุนเวียนความร้อนของของเหลว โดยไพรซ์กล่าวว่า บางครั้งการหมุนเวียนความร้อนของพายุฝนฟ้าคะนองภายในพายุเฮอร์ริเคนนี้ ดูคล้ายจะจัดเตรียมพายุเฮอร์ริเคนได้ดีขึ้น และยังปรับการหมุนของพายุด้วย
ไพรซ์และคณะ ได้เลือกข้อมูลความเร็วลมในพายุเฮอร์ริเคนใหญ่ๆ 56 ลูก ซึ่งมีระดับความรุนแรงอยู่ที่ระดับ 4 และ 5 ระหว่างปี 2548-2550 จากนั้นเปรียบเทียบกับข้อมูลฟ้าผ่าจากเครือข่ายเซนเซอร์ที่ติดตั้งทั่วโลก และพวกเขาได้พบความสัมพันธ์ว่ายิ่งมีฟ้าผ่ามากขึ้นก็มีความเร็วลมมากขึ้นด้วย ในสัดส่วนกว่า 95% และมากกว่า 70% ปรากฏการณ์ฟ่าผ่าเกิดขึ้นสูงในช่วง 30 ชั่วโมงก่อนเกิดลมที่มีความเร็วสูงสุด ซึ่งพวกเขาหวังว่า การทดสอบเชิงฟิสิกส์ในความเชือ่มโยงของ 2 ปรากฏการณ์นี้จะช่วยปรับปรุงการพยากร์ณการเกิดพายุเฮอร์ริเคนได้
"ไม่ต้องสงสัยเลย คุณต่อกรกับเฮอร์ริเคนไม่ได้ แต่คุณก็อพยพผู้คนได้ก่อนที่พายุอันเลวร้ายจะเข้าถล่ม และคุณจะได้รับข้อมูลที่ดีกว่า หากคุณติดตามการเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า" ไพรซ์ให้ความเห็น.