สดร. - สดร. ร่วมงานปรากฏการณ์มหัศจรรย์ “ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องประตู” ที่ปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ พร้อมหารือจังหวัด ร่วมกับกรมศิลปากร และ ททท. เตรียมวางหมุดหลักจุดสำคัญทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกำหนดจะเข้าร่วมในการเปิดงานปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม “ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องประตู” ณ ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2552 ในระหว่างวันที่ 6-8 มีนาคม 2552 นี้ โดยในงานนี้ รศ. บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ สดร. และ ดร. ศิรามาศ โกมลจินดา อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับปรากฏการณ์มหัศจรรย์ดังกล่าวในแง่มุมทางด้านดาราศาสตร์กับ Mr. Asger Mollerrup (คุณทอง) ชาวเดนมาร์ค ซึ่งเป็นผู้ที่คำนวณช่วงเวลาของการเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม “ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องประตู” และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาพิเศษประจำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์” สาขาผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณ ดาราศาสตร์
รศ. บุญรักษา เปิดเผยว่า ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อร่วมฉลองปีดาราศาสตร์สากล 2009 ซึ่งตามโครงการสถาปนาจุดสำคัญทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย ถือว่าปราสาทหินพนมรุ้งเป็นจุดสำคัญทางดาราศาสตร์จุดหนึ่งในประเทศไทยที่คนในอดีตนำภูมิปัญญาทางดาราศาสตร์มาใช้กับวิถีชีวิตชุมชน โดยการสร้างปราสาทหินที่มีการวางโครงสร้างสอดคล้องกับตำแหน่งการขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นหมายบอกเวลา – ฤดูกาล ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนในสมัยโบราณ
นอกจากนั้นในการร่วมงานครั้งนี้ สดร. จะหารือกับจังหวัดบุรีรัมย์, กรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ในการวางหมุดหลักจุดสำคัญทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย และป้ายนิทรรศการความรู้ทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่มาท่องเที่ยว ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง ได้เห็นว่าสถานที่นี้มิได้มีเพียงแต่ความงามทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญาทางวิทยาศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
สดร. ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลและเป็นองค์กรที่รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการที่จะนำความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านดาราศาสตร์ เผยแพร่ไปยังครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนคนไทย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริม กระตุ้นและพัฒนาบุคลากรของประเทศให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการพัฒนา
ทางด้านดาราศาสตร์ ในระดับสากล จึงถือว่าการร่วมให้ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในงานปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม “ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องประตู” ณ ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2552 เป็นกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งในหลายๆ กิจกรรมที่ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้วางแผนไว้เพื่อร่วมในการเฉลิมฉลองปีดาราศาสตร์สากล ซึ่งจะทำให้นานาประเทศได้รับทราบถึงการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกำหนดจะเข้าร่วมในการเปิดงานปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม “ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องประตู” ณ ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2552 ในระหว่างวันที่ 6-8 มีนาคม 2552 นี้ โดยในงานนี้ รศ. บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการ สดร. และ ดร. ศิรามาศ โกมลจินดา อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับปรากฏการณ์มหัศจรรย์ดังกล่าวในแง่มุมทางด้านดาราศาสตร์กับ Mr. Asger Mollerrup (คุณทอง) ชาวเดนมาร์ค ซึ่งเป็นผู้ที่คำนวณช่วงเวลาของการเกิดปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม “ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องประตู” และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาพิเศษประจำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับกลุ่มจังหวัด “นครชัยบุรินทร์” สาขาผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณ ดาราศาสตร์
รศ. บุญรักษา เปิดเผยว่า ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อร่วมฉลองปีดาราศาสตร์สากล 2009 ซึ่งตามโครงการสถาปนาจุดสำคัญทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย ถือว่าปราสาทหินพนมรุ้งเป็นจุดสำคัญทางดาราศาสตร์จุดหนึ่งในประเทศไทยที่คนในอดีตนำภูมิปัญญาทางดาราศาสตร์มาใช้กับวิถีชีวิตชุมชน โดยการสร้างปราสาทหินที่มีการวางโครงสร้างสอดคล้องกับตำแหน่งการขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นหมายบอกเวลา – ฤดูกาล ที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของชุมชนในสมัยโบราณ
นอกจากนั้นในการร่วมงานครั้งนี้ สดร. จะหารือกับจังหวัดบุรีรัมย์, กรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำจังหวัดบุรีรัมย์ ในการวางหมุดหลักจุดสำคัญทางดาราศาสตร์ของประเทศไทย และป้ายนิทรรศการความรู้ทางดาราศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ดังกล่าวเพื่อให้ผู้ที่มาท่องเที่ยว ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง ได้เห็นว่าสถานที่นี้มิได้มีเพียงแต่ความงามทางสถาปัตยกรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ที่เต็มไปด้วยภูมิปัญญาทางวิทยาศาสตร์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง
สดร. ในฐานะที่เป็นสมาชิกของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลและเป็นองค์กรที่รับผิดชอบการดำเนินกิจกรรมทางด้านดาราศาสตร์ของประเทศ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของการที่จะนำความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านดาราศาสตร์ เผยแพร่ไปยังครู อาจารย์ นักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงประชาชนคนไทย ทั้งนี้เพื่อส่งเสริม กระตุ้นและพัฒนาบุคลากรของประเทศให้ได้มีความรู้ ความเข้าใจ และได้รับการพัฒนา
ทางด้านดาราศาสตร์ ในระดับสากล จึงถือว่าการร่วมให้ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ในงานปรากฏการณ์มหัศจรรย์ทางสถาปัตยกรรม “ดวงอาทิตย์ ขึ้น – ตก ตรง 15 ช่องประตู” ณ ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ประจำปี 2552 เป็นกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์และมีความสำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งในหลายๆ กิจกรรมที่ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้วางแผนไว้เพื่อร่วมในการเฉลิมฉลองปีดาราศาสตร์สากล ซึ่งจะทำให้นานาประเทศได้รับทราบถึงการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ของประเทศไทยได้ดียิ่งขึ้น