xs
xsm
sm
md
lg

ชมภาพ "ลู่หลิน" ดาวหางสีเขียว จากทั่วโลก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพจาก Jack Newton มลรัฐแอริโซนา สหรัฐฯ บันทึกไว้เมื่อวันที่ 20 ก.พ. โดยเขาบอกว่า วันนั้นเห็นดาวหางสว่างมาก จนสามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่า ส่วนภาพนี้เขาบันทึกผ่านกล้องโทรทัศน์ ขนาด 14 นิ้ว (Meade 14 HyperStar)
นักดาราศาสตร์ทั้งสมัครเล่นและอาชีพ ทยอยอวดภาพดาวหาง "ลู่หลิน" ที่บันทึกได้จากมุมต่างๆ ทั่วโลก ก่อนที่ดาวหางจะเข้าใกล้โลกที่สุดในคืนวันที่ 24 ก.พ.

เวลาดีที่จะได้มอง "ลู่หลิน" (Lulin) ดาวหางสีเขียวด้วยตาเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคืนวันที่ 24 ก.พ.52 เวลา 01.00 น. ชาวโลกจะได้เห็นดาวหางดวงนี้ได้ชัดเจนที่สุด เพราะเป็นช่วงเวลาที่ดาวหางเข้าใกล้โลกที่สุด ในตำแหน่งเหนือศรีษะ (ประเทศไทย) โดยในช่วงเช้ามืดดาวหางอยู่ห่างไปทางทิศใต้ของดาวเสาร์ประมาณ 2 องศา

ระหว่างรอเวลาให้ดาวหางเข้าใกล้มากกว่านี้ ทางเว็บไซต์ spaceweather ซึ่งเป็นแหล่งโพสต์ภาพ แลกเปลี่ยนสำหรับนักดาราศาสตร์ตัวจริง และมือสมัครเล่นทั่วโลก ก็มีการเผยแพร่ภาพลู่หลินที่บันทึกได้จากทั่วโลก

ทีมข่าว "วิทยาศาสตร์ ASTVผู้จัดการออนไลน์" จึงเลือกมานำเสนอบางภาพ เพื่อเรียกน้ำย่อย สำหรับผู้ที่สนใจสามารถชมเพิ่มเติมได้ที่ spaceweather.com หรือจะบันทึกภาพเหนือท้องฟ้าหน้าบ้าน โพสต์ในเว็บไซต์ดังกล่าวเพื่อรายงานการสังเกตจากประเทศไทย

หรือจะส่งอีเมลมาให้ทางทีมงานเพื่อเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ที่ mgrscience@gmail.com พร้อมรายละเอียดการบันทึกภาพ ทางทีมงานจะยินดีไม่น้อย เพื่อจะให้ผู้อ่านท่านอื่นๆ ได้เห็นภาพดาวหางสีเขียวจากที่ต่างๆ มาเผยแพร่.
ภาพจาก  Karzaman Ahmad หอดูดาวแห่งลังกาวี มาเลเซีย บันทึกเมื่อวันที่ 22 ก.พ. ผ่านกล้องโทรทัศน์ขนาดกลาง (RCOS 20+STL1001E)
ภาพโดย  Paolo Candy จากหอดูดาวซิมินี (Cimini Astronomical Observatory) อิตาลี บันทึกไว้เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ซึ่งเห็นว่าที่หางของลู่หลิน กำลังปลดปล่อยไอออน ทำให้บริเวณหางเหมือนควันพุ่งออกมา
ภาพโดย Rolando Ligustri จากมลรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐฯ บันทึกด้วยระบบ G14 ของกล้องโทรทัศน์ GRAS เมื่อวันที่ 22 ก.พ.
ภาพโดย Saied Bahrami Nezhad จากอิหร่าน ด้วยกล้อง Canon 400D (ISO-1600, 250sec exposure) เมื่อวันที่ 23 ก.พ. ซึ่งเขาสามารถจับตาดาวหางสีเขียวนี้ได้ด้วยตาเปล่าอย่างง่ายดาย  บนยอดเขาแห่งหนึ่ง
ภาพโดย Francisco A. Rodriguez จากหอดูดาวแห่งหนึ่งในแกรนคานาเรีย หมู่เกาะคานารี สเปน เมื่อวันที่ 22 ก.พ.โดยด้านบนสุดคือภาพสีจริงที่บันทึกได้ ส่วน 4 ภาพด้านล่างเป็นการนำมาปรับในรูปแบบสีต่างๆ เพื่อดูองค์ประกอบของดาวหาง
ภาพโดย James Champagne จากหลุยเซียนา สหรัฐฯ บันทึกเมื่อวันที่ 19 ก.พ. โดยได้ใส่รายละเอียดกราฟิกบรรยายลักษณะของดาวหาง และตำแหน่งวัตถุบนท้องฟ้าขณะบันทึกภาพ
กำลังโหลดความคิดเห็น