ฉะเชิงเทรา - นักดาราศาสตร์ชวนดูปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่อเนื่องอีกคืนพรุ่งนี้ แนะชมดาวหางลู่หลิน ที่เพิ่งถูกค้นพบใหม่เมื่อ 2 ปีก่อน พร้อมโชว์ผลงานการบันทึกภาพที่สวยงามของนักดาราศาสตร์เมืองไทยให้ชื่นชม
นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า ในคืนวันพรุ่งนี้ (24 ก.พ.) จะเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอีกปรากฏการณ์หนึ่ง ที่อยากให้ผู้สนใจได้ติดตามเฝ้าสังเกตการณ์เนื่องในปีดาราศาสตร์สากลปีนี้ คือ ปรากฏการณ์ ดาวหางลู่หลินโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด ที่ระยะ 0.411 AU (AU คือ หน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ เทียบจากระยะทางระหว่างโลก และดวงอาทิตย์) หรือ ประมาณ 61,484,778 กิโลเมตร
โดยมีความสว่างที่ 6.0 แมกนิจูด ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องขนาดสองตาขึ้นไป ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งในการสังเกตนั้นให้หันหน้าไปทางด้านทิศใต้ แล้วแหงนมองขึ้นบนท้องฟ้าที่มุมเกือบจะกึ่งกลางศีรษะ ในเวลาประมาณ 01.00 น. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในกลุ่มของดาวหญิงสาว (Virgo) และถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอีกปรากฏการณ์หนึ่งในปีดาราศาสตร์สากลปีนี้ ที่นักถ่ายภาพดาวหางให้ความสนใจติดตามถ่ายภาพกันอยู่ในขณะนี้
แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญที่จะทำให้การเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ และถ่ายบันทึกภาพเป็นไปด้วยความยากลำบากมากยิ่งขึ้น คือ บนท้องฟ้ามีฟ้าหลัวจากเมฆหมอกที่ลงหนาจัดในช่วงปลายเดือน ก.พ. ของทุกปี
สำหรับดาวหาง ลู่หลิน หรือ C/2007N3 ดวงนี้ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวจีน คือ นายเย่ เฉวียน จื้อ (QUANZHI YE) วัย19 ปี ซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยซุนยัดเซน เมืองกวางชู เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ปี ค.ศ.2007 ที่หอดูดาวลู่หลิน เมืองหนันโทว ประเทศไต้หวัน หลังจากเคยได้ติดตามชื่นชมดาวหาง เฮลพ์ บอบฟ์ ที่โคจรผ่านเข้าใกล้โลกไปก่อนหน้านี้จนเกิดความติดใจ
ล่าสุด ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดย ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รอง ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ของไทยได้ติดตามถ่ายภาพที่ค่อนข้างชัดเจน และสวยงามได้ที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีระดับความสูงเหนือกลุ่มเมฆหมอกที่ลงหนาจัดปกคลุม โดยนำภาพมาเรียงซ้อนกันจำนวน 20 ภาพ จนเห็นเป็นดาวหางหัวสีเขียวที่มีหางยาวที่ชัดเจนขึ้น
นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต นักดาราศาสตร์ไทย กล่าวว่า ในคืนวันพรุ่งนี้ (24 ก.พ.) จะเกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอีกปรากฏการณ์หนึ่ง ที่อยากให้ผู้สนใจได้ติดตามเฝ้าสังเกตการณ์เนื่องในปีดาราศาสตร์สากลปีนี้ คือ ปรากฏการณ์ ดาวหางลู่หลินโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุด ที่ระยะ 0.411 AU (AU คือ หน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ เทียบจากระยะทางระหว่างโลก และดวงอาทิตย์) หรือ ประมาณ 61,484,778 กิโลเมตร
โดยมีความสว่างที่ 6.0 แมกนิจูด ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องขนาดสองตาขึ้นไป ในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ซึ่งในการสังเกตนั้นให้หันหน้าไปทางด้านทิศใต้ แล้วแหงนมองขึ้นบนท้องฟ้าที่มุมเกือบจะกึ่งกลางศีรษะ ในเวลาประมาณ 01.00 น. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในกลุ่มของดาวหญิงสาว (Virgo) และถือเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่น่าสนใจอีกปรากฏการณ์หนึ่งในปีดาราศาสตร์สากลปีนี้ ที่นักถ่ายภาพดาวหางให้ความสนใจติดตามถ่ายภาพกันอยู่ในขณะนี้
แต่ยังมีอุปสรรคที่สำคัญที่จะทำให้การเฝ้าติดตามสังเกตการณ์ และถ่ายบันทึกภาพเป็นไปด้วยความยากลำบากมากยิ่งขึ้น คือ บนท้องฟ้ามีฟ้าหลัวจากเมฆหมอกที่ลงหนาจัดในช่วงปลายเดือน ก.พ. ของทุกปี
สำหรับดาวหาง ลู่หลิน หรือ C/2007N3 ดวงนี้ถูกค้นพบโดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นชาวจีน คือ นายเย่ เฉวียน จื้อ (QUANZHI YE) วัย19 ปี ซึ่งเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยซุนยัดเซน เมืองกวางชู เมื่อวันที่ 11 ก.ค. ปี ค.ศ.2007 ที่หอดูดาวลู่หลิน เมืองหนันโทว ประเทศไต้หวัน หลังจากเคยได้ติดตามชื่นชมดาวหาง เฮลพ์ บอบฟ์ ที่โคจรผ่านเข้าใกล้โลกไปก่อนหน้านี้จนเกิดความติดใจ
ล่าสุด ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โดย ดร.ศรันย์ โปษยะจินดา รอง ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ ของไทยได้ติดตามถ่ายภาพที่ค่อนข้างชัดเจน และสวยงามได้ที่ดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีระดับความสูงเหนือกลุ่มเมฆหมอกที่ลงหนาจัดปกคลุม โดยนำภาพมาเรียงซ้อนกันจำนวน 20 ภาพ จนเห็นเป็นดาวหางหัวสีเขียวที่มีหางยาวที่ชัดเจนขึ้น