xs
xsm
sm
md
lg

ชมภาพดาวหาง "ลู่หลิน" ฝีมือ "วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต" ปราชญ์ชาวบ้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ดาวหางลู่หลินเห็นปรากฏเป็นสีเขียวจางๆ บันทึกภาพโดย วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ชาวบ้านจาก จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อคืนวันที่ 21 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยเขาจะติดตามบันทึกภาพดาวหางดวงนี้ต่อไปจนถึงวันที่เข้าใกล้โลกมากที่สุด 23-24 ก.พ.นี้
ชมภาพถ่ายดาวหาง "ลู่หลิน" ฝีมือบันทึกจาก "" ปราชญ์ชาวบ้านผู้คลั่งไคล้ดาวหาง ก่อนเห็นได้ชัดเจนที่สุด 23 - 24 ก.พ.นี้

ดาวหางลู่หลิน (Lulin) ที่มีสีเขียวจางๆ และไม่เคยโคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก่อน จะโคจรเข้าใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23-24 ก.พ.52 ด้วยระยะทางห่างจากโลก 61 ล้านกิโลเมตร แต่ระหว่างนี้ วรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต ปราชญ์ชาวบ้านผู้ติดตามความเคลื่อนไหวของปรากฏการณ์บนฟากฟ้าอย่างต่อเนื่อง ได้แจ้งมายังทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV- ผู้จัดการออนไลน์ว่า ระหว่างนี้เริ่มมองเห็นดาวหางดวงนี้ด้วยตาเปล่าได้แล้ว

ปราชญ์ชาวบ้านลูกแม่น้ำบางปะกงยังได้ทดลองใช้กล้องสองตาในระดับคุณภาพที่ประชาชนทั่วไปจะหาใช้ได้ ซึ่งได้ภาพปรากฏที่พอมองเห็นได้ แต่ภาพดังกล่าวจะยิ่งชัดขึ้นเมื่อดาวหางใกล้โลกมากที่สุด ซึ่งในวันดังกล่าวให้สังเกตดาวหางซึ่งจะอยู่กลางศีรษะในช่วงเวลาประมาณ 01.00 น.ของวันที่ 24 ก.พ.นี้ พร้อมกันนี้เขายังได้บันทึกภาพของดาวหางลู่หลินเมื่อวันที่ 21 ก.พ.นี้ ในช่วงเวลา 02.03 น.จากหอดูดาวบัณฑิต จ.ฉะเชิงเทรา และส่งมาถึงทีมข่าววิทยาศาสตร์ ซึ่งเจ้าตัวเผยว่าจะตามติดตามดาวหางดวงนี้ และบันทึกภาพเรื่อยๆ จนถึงวันที่ดาวหางเข้าใกล้โลกมากที่สุด

สำหรับดาวหางลู่หลินนี้ได้รับการค้นพบโดยนักศึกษาชาวจีนเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และทางองค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ระบุว่า ดาวหางดวงนี้เดินทางมาจากขอบระบบสุริยะที่ไกลกว่า 28 ล้านล้านกิโลเมตร และเป็นดาวหางที่ไม่เคยเข้าใกล้ดวงอาทิตย์มาก่อน มีก๊าซคาร์บอนและก๊าซไซยานอเจน (cyanogen) ซึ่งเป็นก๊าซพิษเป็นองค์ประกอบ และมีการโคจรที่ต่างไปจากดาวเคราะห์และวัตถุอื่นๆ ในระบบสุริยะซึ่งโคจรรอบดวงทิศในทิศทางทวนเข็มนาฬิกา แต่ลู่หลินโคจรรอบดวงอาทิตย์แบบตามเข็มนาฬิกา

รายละเอียดของการบันทึกภาพดาวหาง
ดาวหางC/2007 N3 Lulin
วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา 2.03 น.
กล้องสะท้อนแสงขนาดหน้ากล้อง 11 นิ้ว
กล้องSLR Canon 400 D
ISO 1600 เปิดหน้ากล้องนาน 60 วินาที
สถานที่ หอดูดาวบัณฑิต จ.ฉะเชิงเทรา
กำลังโหลดความคิดเห็น