สวทช. - คุณหญิงกัลยาชี้ผลสำรวจของ สวทช.ร่วมกับ ม.กรุงเทพฯ พบคนไทยสนใจวิทยาศาสตร์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นแก้ปัญหาปากท้อง และพัฒนาคุณภาพชีวิตดีขึ้น
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดให้มีการสำรวจความคิดเห็นและจัดอันดับ 10 ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นที่สนใจของประชาชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในรอบปี 2551 โดยผลสรุปการวิจัยชี้ให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อปัญหาปากท้องและการดำรงชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เช่น เรื่องของสารมหันตภัยเมลามีน หรือสารก่อมะเร็งที่ได้จากการสูดดมควันธูป เป็นต้น รวมทั้งภาพพระจันทร์ยิ้ม ในค่ำคืนของวันที่ 1 ธ.ค. 2551 ที่ทำให้คนไทยยิ้มได้ทุกมุมเมืองสวนกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ตามที่สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ซึ่งมีภารกิจหลักอย่างหนึ่งคือ การสร้างความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสาธารณชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ มีความตระหนักและมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดแรงสนับสนุนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตลอดจนนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ วางรากฐานโครงสร้างการพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปปรับใช้กับภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวัน และเป็นเรื่องใกล้ตัว ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพ เสริมรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต
สำหรับผลการสำรวจและจัดอันดับความสนใจของประชาชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อข่าวสารสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรอบปี 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบระดับการรับทราบหรือความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา จำนวน 10 ข่าว จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3000 ตัวอย่าง โดยสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สรุปได้ดังนี้
อันดับที่ 1 ข่าวเรื่อง สารเมลามีน มหันตภัยใกล้ตัว
อันดับที่ 2 ข่าวเรื่อง ภาพปรากฎการณ์ “พระจันทร์ยิ้ม
อันดับที่ 3 ข่าวเรื่อง 12 ธ.ค.”นาซา” ชวนชม “จันทร์เต็มดวง” โตที่สุดในรอบปี
อันดับที่ 4 ข่าวเรื่อง ตะลึง ผลวิจัยชี้ควันธูปมีสารก่อมะเร็งเพียบ
อันดับที่ 5 ข่าวเรื่อง เตือน! สตอร์ม เซิร์จ คลื่นพายุหมุนแรงเท่านาร์กีส
อันดับที่ 6 ข่าวเรื่อง 12 ปี รัตนราชสุดาสารสนเทศ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงแนะใช้ไอทีช่วยผู้ทุกข์ยาก”
อันดับที่ 7 ข่าวเรื่อง ชวนโต้ลมหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” ค่ำคืน 13-14 ธ.ค.นี้
อันดับที่ 8 ข่าวเรื่อง ปรับเวลาไทยตรงมาตรฐานโลก
อันดับที่ 9 ข่าวเรื่อง สวทช.จับมือ อสมท.เปิดตัวเรียลลิตี้วิทยาศาสตร์ครั้งแรกของเมืองไทย “ศึกอัจฉริยะนักวิทยาศาสตร์”Clever Camp” ทางโมเดิร์นไนท์ทีวี
อันดับที่ 10 ข่าวเรื่อง วิตกไทยแห่ใช้ฟลูออเรสเซนต์ หวั่นไอปรอทสร้างปัญหายามทิ้ง ได้
จากผลการสำรวจดังกล่าว ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจส่วนใหญ่เป็นข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถสัมผัสจับต้องได้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยได้เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคมไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยการผลักดันความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้าถึงประชาชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้และความคิดเห็นสร้างสรรค์ของเยาวชนและประชาชน ตลอดจนเป็นส่วนร่วมในการสร้างภูมิความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับลึกและกว้างต่อไป
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้จัดให้มีการสำรวจความคิดเห็นและจัดอันดับ 10 ข่าวดังด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่เป็นที่สนใจของประชาชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในรอบปี 2551 โดยผลสรุปการวิจัยชี้ให้เห็นว่าประชาชนให้ความสนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อปัญหาปากท้องและการดำรงชีวิตประจำวันได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ เช่น เรื่องของสารมหันตภัยเมลามีน หรือสารก่อมะเร็งที่ได้จากการสูดดมควันธูป เป็นต้น รวมทั้งภาพพระจันทร์ยิ้ม ในค่ำคืนของวันที่ 1 ธ.ค. 2551 ที่ทำให้คนไทยยิ้มได้ทุกมุมเมืองสวนกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ตามที่สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ซึ่งมีภารกิจหลักอย่างหนึ่งคือ การสร้างความตระหนักทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต่อสาธารณชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่ มีความตระหนักและมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดแรงสนับสนุนในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ตลอดจนนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ วางรากฐานโครงสร้างการพัฒนาได้อย่างมีคุณภาพ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าไปปรับใช้กับภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีอยู่ ทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตประจำวัน และเป็นเรื่องใกล้ตัว ตลอดจนสามารถนำข้อมูล ความรู้ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในเรื่องต่างๆ เช่น การประกอบอาชีพ เสริมรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิต
สำหรับผลการสำรวจและจัดอันดับความสนใจของประชาชนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีต่อข่าวสารสำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรอบปี 2551 มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบระดับการรับทราบหรือความสนใจของสาธารณชนที่มีต่อข่าวสารทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรอบปี 2551 ที่ผ่านมา จำนวน 10 ข่าว จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 3000 ตัวอย่าง โดยสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สรุปได้ดังนี้
อันดับที่ 1 ข่าวเรื่อง สารเมลามีน มหันตภัยใกล้ตัว
อันดับที่ 2 ข่าวเรื่อง ภาพปรากฎการณ์ “พระจันทร์ยิ้ม
อันดับที่ 3 ข่าวเรื่อง 12 ธ.ค.”นาซา” ชวนชม “จันทร์เต็มดวง” โตที่สุดในรอบปี
อันดับที่ 4 ข่าวเรื่อง ตะลึง ผลวิจัยชี้ควันธูปมีสารก่อมะเร็งเพียบ
อันดับที่ 5 ข่าวเรื่อง เตือน! สตอร์ม เซิร์จ คลื่นพายุหมุนแรงเท่านาร์กีส
อันดับที่ 6 ข่าวเรื่อง 12 ปี รัตนราชสุดาสารสนเทศ “สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงแนะใช้ไอทีช่วยผู้ทุกข์ยาก”
อันดับที่ 7 ข่าวเรื่อง ชวนโต้ลมหนาวดู “ฝนดาวตกเจมินิดส์” ค่ำคืน 13-14 ธ.ค.นี้
อันดับที่ 8 ข่าวเรื่อง ปรับเวลาไทยตรงมาตรฐานโลก
อันดับที่ 9 ข่าวเรื่อง สวทช.จับมือ อสมท.เปิดตัวเรียลลิตี้วิทยาศาสตร์ครั้งแรกของเมืองไทย “ศึกอัจฉริยะนักวิทยาศาสตร์”Clever Camp” ทางโมเดิร์นไนท์ทีวี
อันดับที่ 10 ข่าวเรื่อง วิตกไทยแห่ใช้ฟลูออเรสเซนต์ หวั่นไอปรอทสร้างปัญหายามทิ้ง ได้
จากผลการสำรวจดังกล่าว ดร.คุณหญิงกัลยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลสำรวจชี้ให้เห็นว่าข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจส่วนใหญ่เป็นข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นเรื่องใกล้ตัว และสามารถสัมผัสจับต้องได้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าสังคมไทยได้เริ่มให้ความสนใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีแนวคิดที่จะส่งเสริมและสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่สังคมไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยการผลักดันความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เข้าถึงประชาชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้และความคิดเห็นสร้างสรรค์ของเยาวชนและประชาชน ตลอดจนเป็นส่วนร่วมในการสร้างภูมิความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ในระดับลึกและกว้างต่อไป