นักวิจัยฝรั่งเศสเผย ได้ค้นพบตุ๊กแกสปีชีส์ใหม่ หลังนำไข่ออกจากรัง ในเกาะทางแปซิฟิกตอนใต้ มาฟักเป็นตัวในกรุงปารีส ที่อยู่ไกลเกือบ 2 หมื่นกิโล
พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งฝรั่งเศส (National Museum of Natural History) ออกมาเปิดเผยว่า ตุ๊กแกสปีชีส์ใหม่ได้ฟักออกจากไข่ ซึ่งตามรายงานของเอพีระบุว่า ตุ๊กแกพันธุ์ใหม่นี้ได้รับการตั้งชื่อเป็นภาษาละตินว่า "เลพิโดแดคไทลัส บูเลลิ" (Lepidodactylus buleli)
ตุ๊กแกพันธุ์นี้ สร้างรังอยู่บนยอดต้นไม้ ในชายฝั่งทาตอนใต้ของเกาะเอสปิริตู ซานโต (Espiritu Santo) ซึ่งเป็นหนึ่งในเกาะขนาดใหญ่ของประเทศหมู่เกาะวานูอาตู (Vanuatu) ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของออสเตรเลีย
ทั้งนี้เมื่อปี 2549 มีคณะสำรวจระบบนิเวศน์ในป่าฝนคาโนปี (canopy) ซึ่งอยู่ในประเทศเอสปิริตู ซานโต ซึ่งนำไปสู่การค้นพบตุ๊กแกที่มีความยาว 3 นิ้ว โดยในทีมสำรวจมีนักปีนป่ายที่รับหน้าที่เก็บตัวอย่างพืชและสัตว์
อีวาน อินีช (Ivan Ineich) ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเรื่องสัตว์เลื้อยคลานประจำพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาแห่งฝรั่งเศส เผยกับเอพีว่า เขาสังเกตเห็นตุ๊กแกตัวเล็กๆ เมื่อพบร่างที่ชุ่มเลือดขาดเป็น 2 ท่อน ซึ่งถูกสับโดยนักปีนป่ายเก็บตัวอย่างในการสำรวจครั้งนั้น
"ผมบอกกับตัวเองว่า "เจ้านั่นช่างดูแปลกประหลาดจริงๆ" แต่ผมก็ไม่อาจบอกได้ทันทีว่า นั่นคือสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์ใหม่ เพราะมันถูกฆ่าเป็นจำนวนมาก" อินีชกล่าว
นักปีนป่ายในทีมสำรวจได้เก็บเอาต้นไม้ที่ตุ๊กแกเพศเมียซ่อนไข่ขนาดเล็กไว้ 9 ฟอง จากนั้นอินีชได้ห่อไข่เหล่านั้น ไว้ด้วยกระดาษทิชชู่เปียกๆ แล้วเก็บลงกล่องยา ก่อนที่จะขนกลับไปยังฝรั่งเศสซึ่งอยู่ไกลจากถิ่นที่อยุ่อาศัยของตุ๊กแกชนิดนี้เกือบ 20,000 กิโลเมตร
อินีชมอบไข่ตุ๊กแกทั้ง 9 ฟองให้เพื่อนผู้ทำการฟักไข่สัตว์เลื้อยคลานเป็นงานอดิเรก แต่ 8 ฟองที่ฟักออกมาตัวตายลงหลังจากอุณหภูมิในตู้ฟักไข่ลดลงอย่างฮวบฮาบ เนื่องจากไฟฟ้าดับ แต่ลูกตุ๊กแกตัวที่ 9 ยังคงรอดชีวิต
คลิกที่ไอคอน Manager Multimedia เพื่อรับชมภาพ ตุ๊แกพันธุ์ใหม่เพิ่มเติม
