xs
xsm
sm
md
lg

ศูนย์ฯ ซินโครตรอนยกสถานะเป็น "องค์การมหาชน"

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ศซ. - ศูนย์กำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ ได้รับการยกสถานะเป็น "องค์กรมหาชน" ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ย.51

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนแห่งชาติ (ศซ.) เป็นโครงการที่ได้รับอนุมัติจัดตั้งจากคณะรัฐมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2539 ภายใต้สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เพื่อดำเนินการพัฒนาและติดตั้งเครื่องกำเนิดแสงสยาม (Siam Photon Source) ซึ่งเป็นเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนขนาด 1 พันล้านอิเล็กตรอนโวลท์ (1 GeV) ที่ได้รับการบริจาคจากกลุ่มบริษัท ซอร์เทค (SORTEC Corporation) ประเทศญี่ปุ่น ด้วยความร่วมมือระหว่างนักวิชาการชั้นนำของทั้งสองประเทศทำให้การติดตั้งเครื่องกำเนิดแสงสยามเป็นผลสำเร็จ และสามารถเพิ่มค่าพลังงานให้สูงขึ้นเป็น 1.2 พันล้านอิเล็กตรอนโวลท์ แสดงถึงศักยภาพของคณะนักวิจัยไทย

สำหรับในด้าน บริหาร ศูนย์ฯ ได้วางระบบบริหารองค์รที่มีประสิทธิภาพ รองรับการเป็นหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีขั้นสูงของประเทศ

ปัจจุบันห้องปฏิบัติการแสงสยาม เปิดให้บริการแสงซินโครตรอนต่อนักวิจัยไทยผ่านระบบลำเลียงแสงและสถานีทดลอง 3 สถานี และอยู่ระหว่างวางแผนพัฒนาก่อสร้างอีก 4 สถานี เพื่อการพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ในหลายแขนง เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีซินโครตรอนแก่ภาคอุตสาหกรรม การพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ

การผลิตแสงซินโครตรอนและแสงซินโครตรอนเป็นประโยชน์ยิ่งต่องานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อยกระดับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยให้ทัดเทียมอารยประเทศ และสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อรองรับการวิจัยที่มีผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมได้อย่างกว้างขวาง

ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวเป็นไปอย่างอิสระ คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันจัดตั้งสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2551” เรียกโดยย่อว่า สซ. และชื่อหน่วยภาษาอังกฤษ “Synchrotron Light Research Institute (PublicOrganization)” เรียกโดยย่อว่า “SLRI” โดยประกาศ ในราชกิจจานุ เบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 100 ก วันที่ 19 กันยายน 2551 และมีผลประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2551 เป็นต้นไป
กำลังโหลดความคิดเห็น