xs
xsm
sm
md
lg

ห่วงแต่ "คาร์บอน" มากเกิน ทำไมไม่กังวล "ไนโตรเจน" เยอะไปบ้าง?

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

การเกษตรตกเป็นจำเลยของการปล่อยไนโตรเจน โดยบีบีซีนิวส์ระบุว่าปุ๋ยไนโตรเจนนั้นขับเคลื่อนการปฏิวัติเขียวในเอเชียและละตินอเมริกา  (ภาพจากเอเอฟพี/บีบีซีนิวส์)
ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเป็นกังวลกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัญหาในการปลดปล่อย "คาร์บอน" อันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนนั้น นักเขียนจากบีบีซีนิวส์ กลับมีแนวที่คิดที่ต่างออกไปว่า "ไนโตรเจน" ต่างหากที่เป็นปัญหาใหญ่กว่า และเป็นสิ่งที่ปลดปล่อยมากจากการเพาะปลูกเพื่อผลิตอาหารให้คนทั่วโลก

มาร์ก ซุตตัน (Mark Suttun) จากสถานีวิจัยเอดินบะระ (Edinburgh Research Station) แห่งศูนย์นิเวศวิทยาและอุทกวิทยา (Centre for Ecology and Hydrology) สหราชอาณาจักร ได้เขียนบทความแสดงทัศนะลงในคอลัมน์ "วิวพอยต์" (View Point) ของบีบีซีนิวส์ว่า การเกษตรและอุตสาหกรรมกำลังผลิตไนโตรเจนออกมาโดยที่เราไม่ได้สนใจ ซึ่งเขาอยากทราบแนวคิดจากคนทั่วไปว่าเราจะทำอย่างไร?

ซุตตันได้ชี้ว่าทศวรรษที่ผ่านมานั้น เราได้รับฟังความเห็นมากมายว่า เหตุใดเราจึงต้องวิตกต่อการปลดลปล่อยคาร์บอน และปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่ไม่มีการพูดถึง "ไนโตรเจน" ทั้งที่มีการปลดปล่อยไนโตรเจนออกมาทั่วโลก แต่ก็ดูเหมือนว่าทั้งโลกก็ไม่สนใจ อีกทั้งยังมีบทความนำเสนอเรื่องในประเด็นเดียวกันนี้ลงในวารสารไซน์ (Science) ถึง 2 บทความ

"ในหลายๆ พื้นที่ของโลก มนุษย์ได้ผลิตไนโตรเจนออกมาจำนวนมาก และสร้างการคุกคามสิ่งแวดล้อม ที่ต่างออกไป โดยไนโตรเจนเหล่านี้ ผลิตออกมาสำหรับเหตุผลที่เราจำเป็นต้องเพาะปลูก เพื่อเลี้ยงชีวิตเรา และประเมินว่าถ้าปราศจากไนโตรเจนเพื่อการเกษตรแล้วประชาชนกว่าครึ่งของโลกจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้" ซุตตันระบุ

ซุตตันเรียกปัญหาของการปล่อยไนโตรเจนว่า "ไนโตรเน็ต" (NitroNet) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ซับซ้อนของอันตรกริยาไนโตรเจนที่ยากจะอธิบาย และเป็นการยากแก่รัฐบาลในการจัดการ อีกทั้งความซับซ้อนของปัญหายังเป็นเหตุผลว่าทำไมคนทั่วไปถึงไม่ได้พูดถึงปัญหาเกี่ยวกับไนโตรเจน

"มีไนโตรเจนอยู่ในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ในชั้นบรรยากาศที่อยู่ในรูปแอมโมเนีย ไนโตรเจนออกไซด์และสสารในรูปอนุภาค ไปจนถึงก๊าซไนตรัสออไซด์ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกชนิดหนึ่งและไนเตรทซึ่งอยู่ในระบบน้ำ โดยแต่ละรูปแบบนั้นให้ผลกระทบที่ต่างกันไป ทั้งเพิ่มมลพิษทางอากาศและคุกคามสุขภาพของมนุษย์และความหลากหลายทางชีวภาพ รบกวนสมดุลของก๊าซเรือนกระจก และลดคุณภาพของน้ำดื่มและน้ำสำหรับอุปโภค"

ความซับซ้อนนี่เอง ที่ซัตตันระบุว่าไม่ง่ายนัก ที่เราจะนำไปคุยกันระหว่างการโดยสารรถประจำทาง และสิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็เป็นทวีความท้าทายให้กับสังคมวิทยาศาสตร์ที่จะเข้าใจและรับมือกับระบบที่ซับซ้อนอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันก็ต้องกลั่นกรองข้อมูลให้อยู่ในข้อความที่เข้าใจได้ง่าย จึงเป็นจุดที่วารสารไซน์เริ่มต้นที่จะช่วยเหลือ

"หนึ่งในความเห็นที่พวกเขามีคือ เราสามารถจำแนกไนโตรเจนได้ออกเป็น 2 แบบคือ รูปแบบที่ทำปฏิกิริยาอย่างว่องไว และรูปแบบที่เฉื่อยชาต่อการทำปฏิกริยา ทั้งนี้มีไนโตรเจนที่เฉื่อยชาปริมาณมากในโลกนี้ อยู่ในรูปก๊าซไนโตรเจนที่เป็นสัดส่วนของชั้นบรรยากาศโลกถึง 78% แต่พืชและสัตว์ไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง ส่วนไนโตรเจนที่ว่องไวในการทำปฏิกริยาจะอยู่ในรูปอื่นที่เราสามารถใช้ประโยชน์ได้"

ซัตตันระบุต่อว่า ในธรรมชาติการตอบสนองความต้องการไนโตรเจนที่ว่องไวในการทำปฏิกริยานั้นมีน้อยมาก ในทางชีวะไนโตรเจนรูปแบบนี้ สร้างได้จากแบคทีเรียจำเพาะ ที่ตรึงไนโตรเจนได้ และเมื่อศตวรรษที่ผ่านมา การขาดแคลนไนโตรเจนที่ใช้ประโยชน์ได้ในทางการเกษตรนั้นจำกัดการผลิตอาหารในยุโรป และกระตุ้นให้มีการใช้ปุ๋ยธรรมชาติอย่างระมัดระวัง แต่นับจากนั้นก็เกิดแหล่งไนโตรเจนที่ใช้ประโยชน์ได้ขึ้นมา 2 แหล่ง

แหล่งแรกคือการเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจน ในโรงงานให้กลายเป็นไนโตรเจนที่มีความว่องไว ในการทำปฏิกริยา แต่ก็ทำให้เกิดปัญหาฝนกรด หมอกควันทางเคมีและปัญหามลพิษทางอากาศ อีกแหล่งคือการพัฒนาอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ยไนโตรเจน โดยกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตอาหารของโลกอย่างมโหฬาร

"ไนโตรเจนเท่าไหร่กันที่เราต้องการเพื่อการผลิตอาหาร? และเราจะชั่งน้ำหนักต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม กับผลกำไรอย่างไร?" ซัตตันตั้งคำถาม

พร้อมกันนี้เขายกตัวอย่างคำพูดของพอล ครุทเซน (Paul Crutzen) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลได้โต้แย้งว่าการปลดปล่อยไนตรัสออกไซด์ จากการให้ปุ๋ยพืชพลังงานชีวมวล มีความสำคัญมากกว่าประโยชน์ในการลดคาร์บอน จากการเลี่ยงใช้พลังงานฟอสซิล ขณะที่บางคนก็ชี้ถึงประโยชน์ของไนโตรเจน ที่ช่วยให้ไม้ในป่าโตเร็วและดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากชั้นบรรยากาศได้มากกว่า

"หากแต่การตัดสินใจทั้งหลาย ก็ยากยิ่งที่จะรับมือกับการคุกคามที่หลากหลายของไนโตรเจน ตัวอย่างเช่นนโยบายลดไนเตรทในน้ำได้ห้ามการขยายพื้นที่ฟาร์มทั่วยุโรปในช่วงฤดูหนาว ผลจากการใช้ปุ๋ยอย่างกว้างขวางในฤดูใบไม้ผลิ ทำให้การปลดปล่อยแอมโมเนียมีความเข้มข้นสูงและก่อให้เกิดการคุกคามความหลากหลายทางชีวภาพและคุณภาพของอากาศ"

ซัตตันหวังว่าจะมีการจัดการไนโตรเจนทางการเกษตรที่ดีกว่านี้ รวมถึงการตกลงของรัฐบาลในระดับนานาชาติจะมีทางเลือกที่ดี พร้อมชี้ว่าการเปลี่ยนผ่านของไนโตรเจนจากถุงปุ๋ยลงจานข้าวอาหารของเรานั้นแสดงให้เห็นถึงการขาดทุนทางสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกระยะ

"กินเนื้อและผลิตภัณฑ์นม ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารอย่างใหญ่หลวง และเป็นการเพิ่มไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก การสังเกตลักษณะนี้ช่วยให้เราค้นหาข้อความที่ชัดเจนได้ คำกล่าวง่ายที่สุดสำหรับเรื่องคาร์บอนคือ "ใช้พลังงานให้น้อย" และสำหรับไนโตรเจนคือ "กินเนื้อให้น้อย" แน่นอนว่าเราทราบว่าทั้งสองเรื่องนั้นค่อนข้างซับซ้อน แต่สำหรับไนโตรเจนแล้วจำเป็นต้องส่งสาล์นออกไปดังๆ"
กินเนื้อ-นมให้น้อยลง ทางแนะในการลดปล่อยไนโตรเจน
การเกษตรตกเป็นจำเลยของการปล่อยกีซไนโตรเจนเต็มๆ
กำลังโหลดความคิดเห็น