รศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์
หน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ที่โจมตีใส่ร้ายป้ายสีกัญชา บอกว่าให้เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด อ้างว่าเป็นห่วงเยาวชน จะเสพติดกัญชากันทั้งเมือง ถ้าประชาชนหลงเชื่อ คนไทยทั้งประเทศจะเสียโอกาสอันมากมายมหาศาล เพราะการปลดล๊อคกัญชา เกิดผลดีกับเด็กมากมาย เด็กป่วยโรคร้ายเข้าถึงการรักษาที่ได้ผลดีกว่าเดิม เด็กมีพฤติกรรมก่อความรุนแรงลดลง จบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น สูบบุหรี่ลดลง ดื่มสุราลดลง และใช้สารเสพติดอื่นๆลดลง นี่ยังไม่นับผลดีต่อสุขภาพผู้ใหญ่ ผลดีทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆอีกมากมาย
1. คนโจมตีกัญชาไม่ได้ใช้ความจริง
การโจมตีใส่ร้ายป้ายสีกัญชามีมามากกว่า 80 ปี เพื่อขจัดคู่แข่งของสินค้าปิโตรเคมี และที่ทำกันอย่างมากในช่วงเลือกตั้งนี้ คือ รณรงค์ให้เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด อ้างว่าเพราะเป็นห่วงเยาวชน กลัวว่าเยาวชนจะเสพติดกันทั้งบ้านทั้งเมือง กัญชาจะทำลายสมองของอนาคตของชาติ ฯลฯ
น่าวิเคราะห์ว่า ความกลัวเหล่านี้มีหลักฐานข้อเท็จจริงรองรับหรือไม่
แต่จากประสบการณ์ของประเทศที่ปลดล๊อคกัญชาไปแล้ว พบว่า เกิดผลดีต่อสังคมมากมาย ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นกับเด็ก ดังนี้
2. การปลดล็อคกัญชาทำให้เด็กที่ป่วยโรคร้ายเข้าถึงการรักษาที่ดี
ที่มลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา แก้กฎหมายกัญชามาแล้ว 23 ปี ทำให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคร้าย เช่น ลมชัก ออติสซึม สมาธิสั้น มีอาการทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง เป็นต้น ได้รับยาจากกัญชา จากระบบบริการ จำนวนมากถึง 28,799 ราย จากประชากร 5.77 ล้านคน ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา คิดเป็น เฉลี่ยปีละ 5,600 ราย [1] นี้ยังไม่นับที่ใช้แบบนอกระบบ
ถ้าการรักษาแบบเดิมได้ผลดี พ่อแม่คงไม่แสวงหายากัญชามาใช้กับลูกของตน
3. เด็กมีพฤติกรรมก่อความรุนแรงลดลง
ที่ประเทศแคนาดา หลังการปลดล๊อคกัญชาให้ใช้แบบนันทนาการได้ มาแล้ว 6 ปี พบว่า สถิติเด็ก อายุ 12-17 ปี มีพฤติกรรมก่ออาชญากรรมหรือความรุนแรง จนเป็นคดีความถึงโรงพัก “ลดลง” ถึงร้อยละ 55-65 [2]
การโจมตีกัญชาด้วยการสร้างข่าวจัดฉาก ว่าใช้กัญชาแล้วก่อความรุนแรง จึงเป็นเท็จ
4. เด็กจบการศึกษาเพิ่มมากขึ้นและออกจากระบบการศึกษาลดลง
ที่มลรัฐโคโลราโด เด็กนักเรียนจบการศึกษามากขึ้น จากร้อยละ 74 เพิ่มเป็นร้อยละ 79 และต้องออกจากโรงเรียน ลดลง จากร้อยละ 4.5 ลดเหลือเพียงร้อยละ 2.3 [3]
ดังนั้นที่โจมตีกัญชาว่าทำลายสมองเด็ก จึงเป็นเท็จ
5. เด็กสูบบุหรี่ลดลง ดื่มสุราลดลง และใช้สารเสพติดอื่นๆ ลดลง
สถิติของมลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เช่นกัน พบว่า เยาวชนอายุ 12 – 17 ปี มีแนวโน้มจะลองใช้กัญชาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่น จากร้อยละ 7.6 เป็นร้อยละ 9.8
แต่เด็กสูบบุรี่ “ลดลง” อย่างมาก จากร้อยละ 14.2 เหลือเพียงร้อยละ 4.1 เท่านั้น
อีกทั้งดื่มสุรา “ลดลง” จากร้อยละ 18.2 เป็นร้อยละ 10.7; และใช้สารเสพติดอื่นๆ “ลดลง” จากร้อยละ 5.1 เป็นร้อยละ 3.0 [3]
น่าสังเกตว่า คนที่มุ่งโจมตีกัญชา ไม่เคยรณรงค์ให้เด็กและเยาวชน กลัวเรื่อง บุหรี่ สุรา ยาเสพติดอื่นๆ เลย ทั้งๆที่ขายกันเกลื่อนเมือง เสพติดจริง และมีอันตรายอย่างชัดเจน
สถิติประเทศไทยพบว่า ช่วงหลังการแก้กฎหมายกัญชา มีจำนวนคนติดยาบ้าจนต้องเข้ารับการบำบัด ลดลงไปถึงครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นจำนวนมากถึง 105,990 คน [4]
เป็นความสำเร็จที่โลกควรมาเรียนรู้
6. การจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติด คือการทำร้ายเด็ก
การรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีกัญชา เพื่อจะเอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติดนั่นแหละ คือ การทำร้ายเด็ก
เด็กป่วยด้วยโรคร้ายจะเข้าไม่ถึงกัญชา เพราะแพทย์ไทยไม่จ่ายยากัญชา
เมื่อพ่อแม่ถูกตำรวจจับขังคุก เพราะครอบครองกัญชาเอาไว้รักษาตนเอง นี่คือการทำลายความมั่นคงของครอบครัวอย่างรุนแรง ยากจนลง ถูกตีตรา หางานทำยาก ไม่มีคนหาเลี้ยงครอบครัว เด็กไร้ที่พึ่ง คบเพื่อนเลว ติดยา มีเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อ ท้องก่อนวัย [5]
นี่คือการทำร้ายเด็กอย่างชัดเจน
7. คนไทยและประเทศไทยจะเสียโอกาสอันมหาศาล ถ้าจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติด
ผู้ใหญ่ไทยที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 14.9 ล้านคน จะเข้าถึงยากัญชา ด้วยความยากลำบาก เพราะแพทย์ไทยไม่จ่ายยากัญชา [6]
อีกทั้งยังสร้างภาระทางงบประมาณในกระบวนการยุติธรรมเมื่อตำรวจจับกุมคนครอบครองกัญชาและคดีขึ้นสู่ศาล นี่ยังไม่นับค่าเสียโอกาสของผู้ถูกจับกุมและของญาติ [7]
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท จะสูญเสียไป [8]
การวิจัยและพัฒนากัญชาให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น ทั้งทางการแพทย์และเศรษฐกิจจะหยุดชะงัก
จริงๆแล้วประเทศไทยมาไกลมากแล้ว ควรพัฒนาต่อยอดจนเป็นศูนย์กลางการรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ของโลกได้ [9]
ข้อคิดปิดท้าย:
กัญชามีประโยชน์มากมายมหาศาล ทั้งทางการแพทย์ เศรษฐกิจ และสังคม เป็นจุดแข็งของไทย ที่คนทั่วโลกยอมรับอยู่แล้ว ว่า “กัญชาไทยดีที่สุดในโลก” ไม่ต้องโฆษณามาก
ดังนั้นคนไทยอย่ายอมให้ใครลากถู เอากลับไปเป็นยาเสพติดอีก จะเสียของ
เอกสารอ้างอิง:
1] Colorado Department of Public Health and Environment. Medical marijuana statistics and data. https://cdphe.colorado.gov/medical-marijuana-registry-data
[2] PMID: 34085338.
[3] Reed JK. Impacts of Marijuana Legalization in Colorado: A Report Pursuant to Senate Bill 13‐283. Denver: Colorado Department of Public Safety. 2021.
[4] ปานเทพ พังพงษ์พันธ์. ส่อเค้ากำลังจะเป็นจริง “กัญชามา ยาบ้าหมด! ประเทศไทยจะหายจน ประชาชนจะหายป่วย”. ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 ม.ค. 2566.
https://mgronline.com/goodhealth/detail/9660000001303
[5] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. “หมอปัตพงษ์” ชี้ เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด คือ “การทำร้ายเด็ก”. ผู้จัดการออนไลน์. เผยแพร่: 13 มีนาคม พ.ศ.2566.
https://mgronline.com/qol/detail/9660000023705
[6] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. “ข้อเสนอต่อรัฐสภา เพื่อทำให้กัญชามีประโยชน์สูงสุดต่อคนไทย”. เอกสารวิชาการนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการแก้ปัญหา กัญชา กัญชง กระท่อมฯ สภาผู้แทนราษฎร์. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563. https://www.facebook.com/100271791433257/posts/204445791015856/?d=n
[7] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. ผลกระทบของนโยบายกัญชาเสรีต่อเด็กและเยาวชน:บทเรียนจากนานาชาติ. เอกสารวิชาการหลักในงานสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. ประจำปี 2565. วันที่ 14 กันยายน 2565. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
https://www.dcy.go.th/content/1636517892439/1663055417715
[8] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. การให้คนไทยได้ปลูกกัญชา คือ การใส่เงินในประเป๋าประชาชน อย่างน้อย 40,000 ล้านบาทต่อปี.
ผู้จัดการออนไลน์. เผยแพร่: 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566.
https://mgronline.com/qol/detail/9660000015845
[9] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. “กัญชา” กับความมั่นคงทางยา: บทเรียนจากนานาชาติ.
ผู้จัดการออนไลน์. เผยแพร่: 9 มกราคม พ.ศ.2566.
https://mgronline.com/daily/detail/9660000002288
หน่วยเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผู้ที่โจมตีใส่ร้ายป้ายสีกัญชา บอกว่าให้เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด อ้างว่าเป็นห่วงเยาวชน จะเสพติดกัญชากันทั้งเมือง ถ้าประชาชนหลงเชื่อ คนไทยทั้งประเทศจะเสียโอกาสอันมากมายมหาศาล เพราะการปลดล๊อคกัญชา เกิดผลดีกับเด็กมากมาย เด็กป่วยโรคร้ายเข้าถึงการรักษาที่ได้ผลดีกว่าเดิม เด็กมีพฤติกรรมก่อความรุนแรงลดลง จบการศึกษาเพิ่มมากขึ้น สูบบุหรี่ลดลง ดื่มสุราลดลง และใช้สารเสพติดอื่นๆลดลง นี่ยังไม่นับผลดีต่อสุขภาพผู้ใหญ่ ผลดีทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆอีกมากมาย
1. คนโจมตีกัญชาไม่ได้ใช้ความจริง
การโจมตีใส่ร้ายป้ายสีกัญชามีมามากกว่า 80 ปี เพื่อขจัดคู่แข่งของสินค้าปิโตรเคมี และที่ทำกันอย่างมากในช่วงเลือกตั้งนี้ คือ รณรงค์ให้เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด อ้างว่าเพราะเป็นห่วงเยาวชน กลัวว่าเยาวชนจะเสพติดกันทั้งบ้านทั้งเมือง กัญชาจะทำลายสมองของอนาคตของชาติ ฯลฯ
น่าวิเคราะห์ว่า ความกลัวเหล่านี้มีหลักฐานข้อเท็จจริงรองรับหรือไม่
แต่จากประสบการณ์ของประเทศที่ปลดล๊อคกัญชาไปแล้ว พบว่า เกิดผลดีต่อสังคมมากมาย ทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลที่เกิดขึ้นกับเด็ก ดังนี้
2. การปลดล็อคกัญชาทำให้เด็กที่ป่วยโรคร้ายเข้าถึงการรักษาที่ดี
ที่มลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา แก้กฎหมายกัญชามาแล้ว 23 ปี ทำให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคร้าย เช่น ลมชัก ออติสซึม สมาธิสั้น มีอาการทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็ง เป็นต้น ได้รับยาจากกัญชา จากระบบบริการ จำนวนมากถึง 28,799 ราย จากประชากร 5.77 ล้านคน ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา คิดเป็น เฉลี่ยปีละ 5,600 ราย [1] นี้ยังไม่นับที่ใช้แบบนอกระบบ
ถ้าการรักษาแบบเดิมได้ผลดี พ่อแม่คงไม่แสวงหายากัญชามาใช้กับลูกของตน
3. เด็กมีพฤติกรรมก่อความรุนแรงลดลง
ที่ประเทศแคนาดา หลังการปลดล๊อคกัญชาให้ใช้แบบนันทนาการได้ มาแล้ว 6 ปี พบว่า สถิติเด็ก อายุ 12-17 ปี มีพฤติกรรมก่ออาชญากรรมหรือความรุนแรง จนเป็นคดีความถึงโรงพัก “ลดลง” ถึงร้อยละ 55-65 [2]
การโจมตีกัญชาด้วยการสร้างข่าวจัดฉาก ว่าใช้กัญชาแล้วก่อความรุนแรง จึงเป็นเท็จ
4. เด็กจบการศึกษาเพิ่มมากขึ้นและออกจากระบบการศึกษาลดลง
ที่มลรัฐโคโลราโด เด็กนักเรียนจบการศึกษามากขึ้น จากร้อยละ 74 เพิ่มเป็นร้อยละ 79 และต้องออกจากโรงเรียน ลดลง จากร้อยละ 4.5 ลดเหลือเพียงร้อยละ 2.3 [3]
ดังนั้นที่โจมตีกัญชาว่าทำลายสมองเด็ก จึงเป็นเท็จ
5. เด็กสูบบุหรี่ลดลง ดื่มสุราลดลง และใช้สารเสพติดอื่นๆ ลดลง
สถิติของมลรัฐโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เช่นกัน พบว่า เยาวชนอายุ 12 – 17 ปี มีแนวโน้มจะลองใช้กัญชาเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งเป็นธรรมชาติของวัยรุ่น จากร้อยละ 7.6 เป็นร้อยละ 9.8
แต่เด็กสูบบุรี่ “ลดลง” อย่างมาก จากร้อยละ 14.2 เหลือเพียงร้อยละ 4.1 เท่านั้น
อีกทั้งดื่มสุรา “ลดลง” จากร้อยละ 18.2 เป็นร้อยละ 10.7; และใช้สารเสพติดอื่นๆ “ลดลง” จากร้อยละ 5.1 เป็นร้อยละ 3.0 [3]
น่าสังเกตว่า คนที่มุ่งโจมตีกัญชา ไม่เคยรณรงค์ให้เด็กและเยาวชน กลัวเรื่อง บุหรี่ สุรา ยาเสพติดอื่นๆ เลย ทั้งๆที่ขายกันเกลื่อนเมือง เสพติดจริง และมีอันตรายอย่างชัดเจน
สถิติประเทศไทยพบว่า ช่วงหลังการแก้กฎหมายกัญชา มีจำนวนคนติดยาบ้าจนต้องเข้ารับการบำบัด ลดลงไปถึงครึ่งหนึ่ง หรือคิดเป็นจำนวนมากถึง 105,990 คน [4]
เป็นความสำเร็จที่โลกควรมาเรียนรู้
6. การจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติด คือการทำร้ายเด็ก
การรณรงค์ใส่ร้ายป้ายสีกัญชา เพื่อจะเอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติดนั่นแหละ คือ การทำร้ายเด็ก
เด็กป่วยด้วยโรคร้ายจะเข้าไม่ถึงกัญชา เพราะแพทย์ไทยไม่จ่ายยากัญชา
เมื่อพ่อแม่ถูกตำรวจจับขังคุก เพราะครอบครองกัญชาเอาไว้รักษาตนเอง นี่คือการทำลายความมั่นคงของครอบครัวอย่างรุนแรง ยากจนลง ถูกตีตรา หางานทำยาก ไม่มีคนหาเลี้ยงครอบครัว เด็กไร้ที่พึ่ง คบเพื่อนเลว ติดยา มีเพศสัมพันธ์ ติดเชื้อ ท้องก่อนวัย [5]
นี่คือการทำร้ายเด็กอย่างชัดเจน
7. คนไทยและประเทศไทยจะเสียโอกาสอันมหาศาล ถ้าจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติด
ผู้ใหญ่ไทยที่เจ็บป่วยด้วยโรคร้ายต่างๆ จำนวนไม่น้อยกว่า 14.9 ล้านคน จะเข้าถึงยากัญชา ด้วยความยากลำบาก เพราะแพทย์ไทยไม่จ่ายยากัญชา [6]
อีกทั้งยังสร้างภาระทางงบประมาณในกระบวนการยุติธรรมเมื่อตำรวจจับกุมคนครอบครองกัญชาและคดีขึ้นสู่ศาล นี่ยังไม่นับค่าเสียโอกาสของผู้ถูกจับกุมและของญาติ [7]
ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 40,000 ล้านบาท จะสูญเสียไป [8]
การวิจัยและพัฒนากัญชาให้มีประโยชน์เพิ่มขึ้น ทั้งทางการแพทย์และเศรษฐกิจจะหยุดชะงัก
จริงๆแล้วประเทศไทยมาไกลมากแล้ว ควรพัฒนาต่อยอดจนเป็นศูนย์กลางการรักษาโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ ของโลกได้ [9]
ข้อคิดปิดท้าย:
กัญชามีประโยชน์มากมายมหาศาล ทั้งทางการแพทย์ เศรษฐกิจ และสังคม เป็นจุดแข็งของไทย ที่คนทั่วโลกยอมรับอยู่แล้ว ว่า “กัญชาไทยดีที่สุดในโลก” ไม่ต้องโฆษณามาก
ดังนั้นคนไทยอย่ายอมให้ใครลากถู เอากลับไปเป็นยาเสพติดอีก จะเสียของ
เอกสารอ้างอิง:
1] Colorado Department of Public Health and Environment. Medical marijuana statistics and data. https://cdphe.colorado.gov/medical-marijuana-registry-data
[2] PMID: 34085338.
[3] Reed JK. Impacts of Marijuana Legalization in Colorado: A Report Pursuant to Senate Bill 13‐283. Denver: Colorado Department of Public Safety. 2021.
[4] ปานเทพ พังพงษ์พันธ์. ส่อเค้ากำลังจะเป็นจริง “กัญชามา ยาบ้าหมด! ประเทศไทยจะหายจน ประชาชนจะหายป่วย”. ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 5 ม.ค. 2566.
https://mgronline.com/goodhealth/detail/9660000001303
[5] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. “หมอปัตพงษ์” ชี้ เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติด คือ “การทำร้ายเด็ก”. ผู้จัดการออนไลน์. เผยแพร่: 13 มีนาคม พ.ศ.2566.
https://mgronline.com/qol/detail/9660000023705
[6] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. “ข้อเสนอต่อรัฐสภา เพื่อทำให้กัญชามีประโยชน์สูงสุดต่อคนไทย”. เอกสารวิชาการนำเสนอต่อคณะกรรมาธิการแก้ปัญหา กัญชา กัญชง กระท่อมฯ สภาผู้แทนราษฎร์. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563. https://www.facebook.com/100271791433257/posts/204445791015856/?d=n
[7] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. ผลกระทบของนโยบายกัญชาเสรีต่อเด็กและเยาวชน:บทเรียนจากนานาชาติ. เอกสารวิชาการหลักในงานสมัชชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. ประจำปี 2565. วันที่ 14 กันยายน 2565. กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
https://www.dcy.go.th/content/1636517892439/1663055417715
[8] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. การให้คนไทยได้ปลูกกัญชา คือ การใส่เงินในประเป๋าประชาชน อย่างน้อย 40,000 ล้านบาทต่อปี.
ผู้จัดการออนไลน์. เผยแพร่: 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566.
https://mgronline.com/qol/detail/9660000015845
[9] ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. “กัญชา” กับความมั่นคงทางยา: บทเรียนจากนานาชาติ.
ผู้จัดการออนไลน์. เผยแพร่: 9 มกราคม พ.ศ.2566.
https://mgronline.com/daily/detail/9660000002288