xs
xsm
sm
md
lg

เริ่มแล้ว! ตรวจคัดกรองแรงงานในโรงงานพื้นที่ควบคุมสูงสุด หวั่นโควิด-19 ระบาด และ ช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง ตามนโยบายรัฐบาล

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผย 9 ม.ค.64 เริ่มดำเนินมาตรการตรวจคัดกรองแรงงานในสถานประกอบการในพื้นที่ควบคุมสูงสุด ภายหลังจากที่คณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคม มีมติเห็นชอบ แนวทางการคัดกรองการติดเชื้อโควิด -19 ให้แก่แรงงานทั้งคนไทยและต่างด้าว

เมื่อวันที่ 9 ม.ค. นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีการระบาดใหม่ ในขณะนี้ รัฐบาล ภายใต้การนำของ ท่าน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว กลาโหม ซึ่งกระทรวงแรงงานอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ท่าน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ได้มีความห่วงใยพี่น้องแรงงานและประชาชนทุกกลุ่ม ได้มีการสั่งการ และให้ดำเนินการตามมาตรการ ของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19 (ศบค.) และในวันนี้จึงได้มอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน บูรณาการกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อทำงานเชิงรุกในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว ให้มีการจำกัดอยู่ในพื้นที่ไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศทั้งทางตรงและทางอ้อม ตลอดจนสุขภาวะของประชาชนทั่วประเทศ คณะกรรมการการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมจึงได้มีการประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีคัดกรองการติดเชื้อโควิด – 19 ให้ผู้ประกันตนได้รับบริการทางการแพทย์เชิงรุก เพื่อการค้นหาผู้ประกันตนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในสถานประกอบการ และ เป็นการช่วยเหลือ ผู้ประกอบการ ให้ดำเนินธุรกิจไปต่อโดยไม่ต้องหยุดการผลิต ค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรอง กระทรวงแรงงาน โดย สำนักงานประกันสังคม ออกให้ทั้งหมด ในสำหรับจังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดตามระดับความรุนแรงที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) มีคำสั่ง 

นายสุชาติ ยังกล่าวต่อว่า ในวันที่ 9 ม.ค.64 เป็นวันแรกในการดำเนินการเชิงรุก เพื่อบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปยังสถานประกอบการตรวจคัดกรองแบบ PCR ให้ลูกจ้างที่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงต่อการสัมผัสเชื้อได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ให้แก่แรงงานในสถานประกอบการพื้นที่ควบคุมสูงสุด ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการโรคติดต่อแต่ละจังหวัดที่มีพื้นที่ควบคุมสูงสุด และคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร โดยลูกจ้างที่เข้ารับการตรวจจะทราบผลภายใน 6-8 ชั่วโมง ซึ่งพบเชื้อจะต้องเข้าสู่กระบวนการดูแลรักษาตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดต่อไป


กำลังโหลดความคิดเห็น