ทุกวันนี้คำว่า “New Normal” หรือ “ความปกติใหม่” กำลังถูกพูดถึงเป็นวงกว้าง สืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มาส่งผลให้ชีวิตของผู้คนในบางมิติเปลี่ยนไปอย่างพลิกโฉม ซึ่ง New Normal ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คงหนีไม่พ้นการที่คนเราต้องก้าวเข้าสู่โลกยุคดิจิทัลอย่างเต็มตัวรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาแบ่งเบาภาระหรือแก้ไขปัญหาจากการใช้ชีวิตท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคนั่นเอง
โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ปั้น 3 สาขาวิชา ที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อผู้เรียนที่มี passion หรือความหลงใหลในเทคโนโลยีโดยเฉพาะ และยังนับว่าตอบโจทย์ตลาดงานในยุค New Normal ที่กำลังมาถึง
สาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์และวิทยาการข้อมูล
หลายปีมานี้ AI ได้รับการพัฒนาแบบก้าวกระโดดจนกลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับใช้ในการทำธุรกิจการทำอุตสาหกรรม หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ก็ยิ่งเป็นตัวเร่งให้คนเราหันมาใช้เทคโนโลยีนี้มากขึ้น อย่างเช่น ในด้านการแพทย์ที่มีการนำAI มาใช้คัดกรองว่าใครมีแนวโน้มจะเป็นผู้ติดเชื้อใช้ประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน หรือใช้คัดแยกและวินิจฉัยลักษณะการติดเชื้อระหว่างโรคโควิด-19 กับโรคปอดอื่นๆ ได้อย่างแม่นยำขึ้น ฯลฯ ซึ่ง การจะพัฒนา AI ให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดสุดนั้น ต้องใช้ข้อมูลมหาศาลมาประมวลผล สาขานี้จึงผสมผสานศาสตร์ด้านวิทยาการข้อมูล (Data Science) เข้าไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต่อการทำงานมากที่สุด
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์
เดิมทีหุ่นยนต์ถูกใช้อำนวยความสะดวกด้านต่างๆ เช่น หุ่นยนต์ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม หุ่นยนต์ทำความสะอาด หุ่นยนต์คัดแยกขยะ ฯลฯ แต่พอเกิดเหตุการณ์โควิด-19 ระบาด มนุษย์ก็หันมาพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเพื่อสนองมาตรการ Social Distancing เช่น หุ่นยนต์ส่งสินค้าแทนพนักงาน หุ่นยนต์จ่ายยาไปให้ผู้ป่วยแทนพยาบาล หรือหุ่นยนต์ขนส่งหลอดเก็บตัวอย่างเชื้อไปยังห้องแล็บในโรงพยาบาล เป็นต้น การจะพัฒนาหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานสนองตอบความต้องการได้นั้น วิศวกรต้องใส่เทคโนโลยี AI เข้าไปด้วยเพื่อให้หุ่นยนต์ชาญฉลาดเหมือนมนุษย์ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีสาขาวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ฯ มาช่วยประสานองค์ความรู้ด้าน AI ให้ทำให้สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์มหาวิทยาลัยกรุงเทพกลายเป็นสาขาหุ่นยนต์ที่โดดเด่นมากแห่งหนึ่ง
สาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์
ในยุคที่การเดินทางมีอุปสรรคจากการแพร่ระบาดของโรคและมาตรการล็อกดาวน์ต่างๆ เทคโนโลยี AR และ VR จึงถูกนำมาใช้เพื่อให้สามารถเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ ผ่านเทคโนโลยีการจำลองภาพเสมือนจริงจนราวกับได้เดินทางไปเห็นด้วยตา อย่างเช่น พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ในกรุงปารีสและปีระมิดในอียิปต์ที่เปิด Online Virtual Tour จนเป็นที่ฮือฮา หรือแม้แต่การพัฒนาเทคโนโลยี VR เพื่อให้แพทย์ใช้ฝึกหัดโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสผู้ป่วยจริง รวมทั้ง การสร้างคลาสเรียน หรืออีเวนท์ที่น่าตื่นตาตื่นใจมากกว่าแต่ก่อน องค์ประกอบสื่อดังกล่าวคือตัวอย่างงานที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยวิศวกรมัลติมีเดียผู้ทำหน้าที่ประยุกต์และพัฒนาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้มีประสิทธิภาพ โดยสาขาวิศวกรรมมัลติมีเดียและเอ็นเตอร์เทนเมนต์นี่เองจะบ่มเพาะวิศวกรมัลติมีเดียให้มีความเชี่ยวชาญ ทั้งศาสตร์ทางวิศวกรรมและศิลปะการออกแบบมัลติมีเดีย
ในโลกที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงจนเกิด New Normal การเลือกเรียนให้ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของตลาดงานในอนาคต จึงกลายเป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้ามและ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ก็พร้อมแล้วที่จะทำหน้าที่ปั้นบุคลากรผู้มี passion ในด้านเทคโนโลยีป้อนอนาคตซึ่งกำลังพลิกโฉมไปอย่างสิ้นเชิงนี้