xs
xsm
sm
md
lg

คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ ม.กรุงเทพ ที่ที่เปลี่ยน passion เป็น success ให้แก่คนรักหนัง

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



แม้จะเพิ่งก่อตั้งเป็นคณะเมื่อราว 5 ปีก่อน แต่อันที่จริงคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เคยเป็นสาขาภาพยนตร์ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มาตั้งแต่ปี 2549  ก่อนจะแยกตัวออกมาจากคณะนิเทศศาสตร์ เพื่อขยับขยายเป็นคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์   เนื่องจากทุกปีมีผู้สนใจสมัครเข้าเรียนเป็นจำนวนมากซึ่งนับเป็น Film School เต็มรูปแบบแห่งแรกๆ ของไทย 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ทำหน้าที่แหล่งรวมเยาวชนผู้มี passion ในการทำหนัง และผลิตบุคลากรป้อนทุกสายงานการผลิตภาพยนตร์ทั้งเบื้องหน้า-เบื้องหลังมาแล้วมากมาย   แต่ละปีมีผู้สมัครเข้าเรียนจำนวนมากกระทั่งที่นั่งเต็มเร็วจนต้องปิดรับสมัครล่วงหน้าเสมอ   จึงอาจกล่าวได้ว่า ที่นี่เป็นหนึ่งใน Film School ของภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด


“คนทั่วๆไปอาจมีจุดมุ่งหมายในชีวิตว่า อยากทำงานดีๆ รายได้สูงๆ  จึงเลือกเรียนตามเพื่อนและคนรอบข้างตามตลาดงาน หรือตามกระแสสังคมจนบางครั้งก็ตัดสินใจผิดเลือกเรียนหรือทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้ชอบจริงๆ” อาจารย์เศรษฐา    วีระธรรมานนท์ คณบดีคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  กล่าว   “ต่างจากคนที่เรียนด้านการทำหนังที่ส่วนใหญ่เลือกเรียนตาม passion หรือความหลงใหลในศาสตร์การทำหนัง  ด้วยความใฝ่ฝันที่อยากจะเป็น ‘คนทำหนัง’  ไม่ว่าจะในส่วนใดของสายงานก็ตาม เพราะสิ่งที่สำคัญกว่าตำแหน่งและรายได้  คือการได้ทำในสิ่งที่เขาอยากจะทำจริงๆ  และนั่นก็ทำให้คนที่เลือกเรียนด้านภาพยนตร์มีบุคลิกเฉพาะตัวที่เต็มไปด้วย passion  หรือไฟในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เหมือนอย่างที่ท่านอาจารย์เพชร   โอสถานุเคราะห์ อธิการบดี ม.กรุงเทพ เคยนิยามคำว่า  passion ไว้ในงานปฐมนิเทศออนไลน์หรือ  Diamond Days Online Orientation ของมหาวิทยาลัยเมื่อไม่นานมานี้”


เหตุผลที่ทำให้คณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ สามารถเปลี่ยน passion ของผู้เรียนให้เป็น
success หรือความสำเร็จได้นั้น  ได้แก่ การเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญจริงจากวงการภาพยนตร์   เช่น  CJ Major Entertainment, Transformation Films, บาแรมยู,  Lighthouse Film Service, Blackmagic Design, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยฯลฯ   อุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย  แล็บ สตูดิโอ และเครื่องไม้เครื่องมือล้วนได้มาตรฐานระดับสากลและใช้ในอุตสาหกรรมจริง   การเรียนการสอนแบบ  Project-based Learning  ที่ผู้เรียนจะได้สร้างหนังหรือฝึกปฏิบัติจากโจทย์จริง   หลายคนมีโอกาสร่วมทำหนังกับนักสร้างหนังมืออาชีพ หรือมีผลงานหนังเป็นของตัวเองตั้งแต่ยังเรียนไม่จบ


การส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานเข้าแข่งขันทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ   เพื่อพัฒนาทักษะการทำหนังให้มีความแข็งกล้าและที่สำคัญอีกประการคือเครือข่ายศิษย์เก่าที่ทำงานอยู่ในวงการภาพยนตร์จำนวนมาก   นับตั้งแต่ยังเป็นเพียงสาขาภาพยนตร์ของคณะนิเทศศาสตร์   รุ่นพี่รุ่นน้องมีความสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น   รุ่นพี่พร้อมสนับสนุนให้รุ่นน้องไปฝึกงานและร่วมงานด้ว  ยซึ่งคอนเนกชั่นเหล่านี้ต่อให้มีเงินก็หาซื้อไม่ได้


จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ที่ผ่านมา ทั้ง 2  สาขาของคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์ คือ สาขาภาพยนตร์ และ สาขาสื่อดิจิทัล  มีจำนวนผู้สมัครเรียนเกินอัตราที่จะรับได้ตลอดมา ดังนั้นตั้งแต่ปีการศึกษา 2564  เป็นต้นไป ทางคณะจึงมีนโยบายสอบสัมภาษณ์ ร่วมกับการพิจารณา portfolio ของผู้สมัคร เพื่อคัดเลือกให้ได้ผู้เรียนที่มี passion จะสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ ให้วงการภาพยนตร์จริงๆ เท่านั้น นอกจากนี้ยังเป็นการยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอุปกรณ์การเรียนให้มากขึ้นด้วย โดยถ้ามีจำนวนผู้สอบผ่านการคัดเลือกครบก็จะปิดรับสมัครทันที (รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://www.bu.ac.th/th/bu-magazine/view/528)

อาจารย์เศรษฐา    วีระธรรมานนท์  กล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า  การสอบคัดเลือกนี้ก็เพื่อคั้นเอาหัวกะทิป้อนให้แก่วงการภาพยนตร์โดยคณะดิจิทัลมีเดียและศิลปะภาพยนตร์  มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จะทำหน้าที่เปลี่ยน passion ให้กลายเป็น success ให้แก่คนรักการทำหนัง  ไม่ว่านิยาม  “ความสำเร็จ” ของผู้นั้นจะหมายถึงชื่อเสียง รายได้ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ หรือแม้เพียงแค่ได้ทำในสิ่งที่ตนหลงใหลก็ตาม


กำลังโหลดความคิดเห็น