ไม่เคยหยุดพัฒนาหลักสูตร สำหรับ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ หนึ่งในคณะที่ได้รับการยอมรับถึงคุณภาพการเรียนการสอนมายาวนานเกือบ 5 ทศวรรษ อย่างเช่นเมื่อ 3 ปีก่อนที่เปิดสาขาการผลิตอีเวนต์และการจัดการนิทรรศการและการประชุมแห่งแรกของประเทศไทยที่เน้นสอนด้านการทำโปรดักชันงานอีเวนต์และไมซ์ จนกลายเป็นสาขาฮอตฮิตในหมู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ และปีนี้ที่พัฒนาสาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็น สาขาวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และการผลิตสื่อสตรีมมิ่ง เพื่อให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์สื่อยุคปัจจุบัน รวมทั้งเปิดสาขาใหม่ การผลิตเนื้อหาสร้างสรรค์และประสบการณ์ดิจิทัลที่ตอบโจทย์เทคโนโลยีและการสื่อสารยุคดิจิทัลเป็นอย่างมาก
ล่าสุด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพยังบูรณาการศาสตร์ทั้ง 4 ด้านที่คณะเปิดสอนแต่เดิมเข้าด้วยกัน ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ดิจิทัล การโฆษณาดิจิทัล วารสารศาสตร์ดิจิทัลและการสื่อสารแบรนด์สร้างสรรค์ พร้อมทั้งเพิ่ม การสร้างแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์เข้าไป กลายเป็นหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกศาสตร์มุ่งเน้นได้ 5 ด้านตาม 5 ศาสตร์ข้างต้น หรือจะเลือกเรียนมุ่งเน้นศาสตร์ใดศาสตร์หนึ่ง แล้วติดอาวุธเพิ่มเติมด้วยการเรียนแบบผสมผสานกับศาสตร์อื่นๆ ด้วยก็ได้
“เราออกแบบหลักสูตรสำหรับนักนิเทศศาสตร์ยุคใหม่ โดยพิจารณาจาก job domain 5 ด้านสำคัญในตลาดงานปัจจุบัน ซึ่งต้องการบัณฑิตที่ไม่ได้มีความรู้แค่ด้านใดด้านหนึ่ง แต่มีทักษะพื้นฐานใกล้เคียงกันอันสามารถปรับใช้กับงานที่แตกต่างกันได้” ดร.พีรชัย เกิดสินธุ์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ กล่าว “ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณอยากเป็นอินฟลูเอนเซอร์ นอกจากศาสตร์การโน้มน้าวใจและสร้างอิทธิพลต่อผู้ชมผ่านสื่อยุคดิจิทัลแล้ว คุณก็ควรมีความสามารถในการสร้าง community ทั้งแบบออนไลน์-ออฟไลน์ มีไอเดียสดใหม่และเข้าถึงหัวใจกลุ่มเป้าหมายแบบนักโฆษณา เขียนเล่าเรื่องได้น่าติดตามแบบนักวารสารศาสตร์ รู้จักพัฒนาสไตล์การแต่งตัวและบุคลิกภาพไปสู่การเป็นแบรนด์บุคคลที่น่าจดจำ และรู้วิธีประชาสัมพันธ์ให้เกิดการพูดถึงและบอกต่อ ผู้เรียนสาขานี้จึงจะมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางตามที่ตนเลือก และยังมีความรู้จำเป็นด้านอื่นเสริมเข้าไปด้วย ทำให้มีทักษะตรงตามความต้องการของตลาดงาน นั่นคือ มีความเป็นมืออาชีพเฉพาะทางตามสายงาน ขณะเดียวกัน ก็มีความเข้าใจในงานด้านอื่นๆ ด้วย เพราะการเรียนแบบรวมศาสตร์จะทำให้มีความรู้รอบด้านแบบ multi-tasking”
สาขานี้ยังเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติจากการเรียนการสอนในรูปแบบ Project-based Learning ลงมือทำด้วยการใช้โจทย์จริงจากพันธมิตรของคณะทั้งภาคธุรกิจและภาครัฐ โดยใช้ทักษะการเล่าเรื่องและทักษะการออกแบบผลิตสื่อเบื้องต้นที่เป็นหัวใจหลักของนิเทศศาสตร์ ประกอบกับความเข้าใจด้านจิตวิทยามนุษย์เพื่อโน้มน้าวใจผู้บริโภค สามารถใช้ Design Thinking ร่วมกับทักษะด้าน Data Analytics และ Marketing Technology เพื่อสร้างการสื่อสารที่ทรงพลัง เมื่อเรียนจบ ผู้เรียนจึงสามารถเป็นนักนิเทศศาสตร์ที่สามารถทำงานตอบสนองความต้องการทุกรูปแบบของผู้บริโภค
นอกจากนี้ ทางสาขายังยกระดับความรู้ให้ทันสมัยขานรับเทรนด์โลก ด้วยการมุ่งสร้างนักโฆษณา-ประชาสัมพันธ์ที่เข้าใจแพลตฟอร์มและพฤติกรรมผู้คนในยุคดิจิทัล สร้างนักวารสารศาสตร์ที่ไม่ได้เป็นแค่นักข่าว-นักเขียน แต่เป็นนักสร้างสรรค์เนื้อหาทั้งสื่อออนไลน์-ออฟไลน์ และสร้างอินฟลูเอนเซอร์ผู้ทรงอิทธิพลในยุคที่ใครๆ ก็เป็นอินฟลูเอนเซอร์หรือทำตัวเองให้เป็นแบรนด์ได้
เรียกได้ว่า สาขานี้ออกแบบขึ้นมาจากความเข้าใจว่า ผู้เรียนยุคใหม่ต้องการอะไร และตลาดงานมองหาคนแบบไหน จึงสามารถปั้นนักนิเทศศาสตร์แห่งยุคผู้มีความสามารถรอบด้านจนใครๆ ก็ต้องการตัว
*สาขานิเทศศาสตร์แบ่งเป็นศาสตร์มุ่งเน้นต่างๆ ได้แก่ นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ดิจิทัล) นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นการโฆษณาดิจิทัล) นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นการสร้างแบรนด์อินฟลูเอนเซอร์) นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นการสื่อสารแบรนด์สร้างสรรค์) และ นิเทศศาสตร์ (มุ่งเน้นวารสารศาสตร์ดิจิทัล) หลังจากสำเร็จการศึกษาจะได้รับวุฒินิเทศศาสตรบัณฑิต (การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา วารสารศาสตร์ และการสร้างตราสร้างสรรค์) โดยเปิดรับสมัครนักศึกษารุ่นแรกสำหรับปีการศึกษา 2564 แล้วตั้งแต่วันนี้รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก https://www.bu.ac.th/th/comarts