xs
xsm
sm
md
lg

ตรวจไขมันตับด้วย "ไฟโบรสแกน"

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โดย...นพ.สุขประเสริฐ จุฑากอเกียรติ อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวชธานี

อาการปวดท้อง โรคทั่วไปที่หลาย ๆ คนเป็นกัน ซึ่งโดยปกติอาจเกิดจากอาหารไม่ย่อย ท้องอืด ฯลฯ แต่ในทางตรงกันข้าม อาจมีสาเหตุมาจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ ได้ เช่น นิ่วในถุงน้ำดี หรือแม้กระทั่งมะเร็งตับ โดยปัจจุบันสามารถป้องกันการเกิดโรคร้ายแรงด้วยการตรวจสุขภาพตับเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง

โรคมะเร็งตับถือเป็นโรคใกล้ตัวและพบได้บ่อยมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย เป็นมะเร็งที่มีการเจริญเติบโตของโรคอย่างรวดเร็ว และมักเสียชีวิตภายในระยะเวลาไม่เกิน 3 - 6 เดือน หากตรวจพบในระยะสุดท้าย

โรคมะเร็งตับ เกิดจากตับอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานาน จนกลายเป็นตับแข็งและมะเร็งตับตามลำดับ โดยปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งตับ ที่พบบ่อยในประเทศไทย คือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี การดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง และไขมันสะสมในตับร่วมกับตับอักเสบ

โดยทั่วไปแล้วโรคมะเร็งตับจะไม่มีอาการเตือนใด ๆ ที่จะบอกผู้ป่วยว่ากำลังจะเป็นมะเร็งตับ แต่โรคนี้สามารถป้องกันได้หากมีการตรวจกับแพทย์อย่างสม่ำเสมอปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น มีรูปร่างอ้วนลงพุง, เป็นเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดสูง, มีประวัติการดื่มสุราเรื้อรัง, มีประวัติว่าคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งตับ, และมีอาการตาเหลืองและตัวซีดเหลืองผิดปกติ

ปัจจุบันเราสามารถตรวจปริมาณพังผืดในเนื้อตับ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรคตับแข็ง และวัดปริมาณไขมันในตับได้ด้วยการตรวจไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ข้อดี ของการตรวจไฟโบรสแกน (Fibroscan)

ไม่เกิดความเจ็บปวด และไม่เป็นอันตรายใดๆ กับร่างกาย

ตรวจง่าย รวดเร็ว ใช้เวลาไม่เกิน 5 - 10 นาที

ทราบผลทันที

อาจรู้สึกสั่นสะเทือนบริเวณผิวหนังที่ปลายหัวตรวจเล็กน้อย

ในกรณีที่ต้องติดตามผลอย่างใกล้ชิด สามารถตรวจซ้ำได้หลายครั้งและปลอดภัย

แนะนำว่าในกลุ่มคนไข้ที่มีความเสี่ยง ควรติดตามพบแพทย์เฉพาะทางโรคตับ และควรมีการคัดกรองมะเร็งตับด้วยการตรวจอัลตราซาวด์ ตรวจเลือด ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ


กำลังโหลดความคิดเห็น