รศ.ดร.ภญ.นุศราพร เกษสมบูรณ์
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มีการศึกษามากมายที่ชี้ให้เห็นว่าถ้าเด็กทารกได้ดื่มนมมารดาจะทำให้สุขภาพดีกว่า แต่ผลการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กลับพบว่า ปัจจุบัน อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนในประเทศไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก อยู่ที่เพียงร้อยละ 27 ห่างไกลจากเป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างมาก ว่าจะต้องให้ได้ร้อยละ 60 และที่ผ่านมา มีการละเมิดหลักเกณฑ์สากลว่าด้วยการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ จากการส่งเสริมการตลาดนมผงที่กำลังรุกหนัก การออกพระราชบัญญัติเพื่อให้ฝ่ายต่างๆ ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์สากลจะช่วยทำให้เด็กไทยรอดพ้นจากการละเมิดดังกล่าว
นมแมคือ อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารกและเด็กเล็ก โดยองคการอนามัยโลกและองคการยูนิเซฟ ไดแนะนำ ใหเลี้ยงลูกดวยนมแมอยางเดียวอยางนอย 6 เดือนหลังคลอด หลังจากนั้น ควรเลี้ยงลูกดวยนมแมรวมกับอาหารอื่นตามวัยเปนระยะเวลา 2 ปหรือมากกวา หลักเกณฑสากลฯ เรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดย
•ห้ามการส่งเสริมการตลาดที่ไม่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ทดแทนนมแม่ ซึ่งรวมถึงนมผงสำหรับทารกและเด็กเล็ก ขวดนม และจุกนม
•ห้ามการส่งเสริมการขายทุกรูปแบบ เช่น การโฆษณา การให้ของขวัญแก่บุคลากรสาธารณสุข และการแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฟรี
•ห้ามผลิตภัณฑ์นมผงใช้ภาพ หรือฉลากที่อ้างสรรพคุณด้านสุขภาพและโภชนาการของนมผง และให้ผลิตภัณฑ์ระบุวิธีใช้นมผงอย่างชัดเจน โดยมีข้อความที่ระบุว่านมแม่ดีกว่านมผง และระบุถึงความเสี่ยงของการไม่ได้รับนมแม่
ประเทศไทย ไดนำ หลักเกณฑสากลฯ มาใชฉบับแรก พ.ศ. 2524 เปนขอตกลงรวมกันระหวางกระทรวงสาธารณสุขและสมาคมอุตสาหกรรมอาหาร ทารกและเด็กเล็ก โดยฉบับปจจุบันคือ พ.ศ. 2551 อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของกรมอนามัย เรื่องการละเมิดหลักเกณฑวาดวยการตลาดอาหารทารก และเด็กเล็กและผลิตภัณฑที่เกี่ยวของ พ.ศ. 2551 สำรวจในโรงพยาบาลรัฐ 74 แหง พบวา มีการละเมิดหลักเกณฑฯ จำนวน 23 แหง (คิดเป็นรอยละ 31) โดยละเมิดในประเด็นตางๆ เช่น
•โฆษณาประชาสัมพันธทุกรูปแบบแกสาธารณชน
•แจกตัวอยางอาหารทารกและเด็กเล็ก ของขวัญแกแม
•มีพนักงานการตลาด ติดตอ หญิงมีครรภ แม และครอบครัวโดยตรง
•มีการใชสถานบริการสาธารณสุขเปนที่โฆษณาประชาสัมพันธอาหารทารก และเด็กเล็ก
•มีการบริจาคอาหารทารกและเด็กเล็กแกสถานบริการสาธารณสุข
มติในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกครั้งที่ 63 ในป พ.ศ. 2553 ระบุใหแตละประเทศปรับปรุงหลักเกณฑสากลฯ ใหเปนกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2559 มีเพียง 39 ประเทศจาก 194 ประเทศ ที่มีมาตรการทางกฎหมายที่ได้รวมข้อกำหนดของหลักเกณฑ์สากลฯ ไว้ทุกข้อ
สำหรับประเทศไทย ขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง กำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญ คือ การกำหนดห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือผู้จำหน่ายซึ่งนมดัดแปลง นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง และนมสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกหรือเด็ก ทำการโฆษณา จำหน่าย แจกตัวอย่าง บริจาคให้ ฯลฯ และต้องให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ตามความเป็นจริง ห้ามให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ ปิดบัง อำพราง รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาตผลิตหรือนำเข้าอาหารเพื่อจำหน่าย และกำหนดให้หน่วยบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข บุคลากรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด
ขอสนับสนุนกฎหมายดีดี เพื่อให้เด็กไทยเกิดใหม่ 800,000 คนต่อปี ได้รับประโยชน์จากนมแม่อย่างเต็มที่ และ คุณแม่ไม่เข้าใจผิดว่า “นมผงดีกว่านมแม่” หรือ “นมผงใช้แทนนมแม่ได้”