xs
xsm
sm
md
lg

ยัน “ซิกา” ไม่ติดต่อทางสัมผัส-หายใจ แต่ไร้ข้อมูลติดสู่ลูกผ่าน “นมแม่”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


กรมควบคุมโรค ยัน “ซิกา” ไม่มีติดต่อผ่านการสัมผัสและการหายใจ ขออย่าตื่นตระหนก เผย ยังไร้ข้อมูลเชื้อติดต่อสู่ลูกผ่านน้ำนมแม่ ย้ำป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัดดีที่สุด

วันนี้ (6 ต.ค.) นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์ ไม่ได้ก่อให้เกิดภาวะทารกศีรษะเล็กในทารกในครรภ์ทุกราย แต่ต้องดูแลสุขภาพให้ดีตลอดการตั้งครรภ์ ฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อย หากมีอาการผิดปกติในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น มีไข้ออกผื่น ให้รีบปรึกษาแพทย์ และไปตรวจพัฒนาการของทารกในครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด และมีเพศสัมพันธ์โดยใช้ถุงยางอนามัยตลอดการตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยโรคติดเชื้อไวรัสซิกายังไม่มีรายงานการติดต่อจากการสัมผัส และไม่สามารถติดต่อทางลมหายใจ (ไม่ติดง่ายเหมือนไข้หวัด) ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องกลัว หรือรังเกียจผู้ป่วยโรคนี้ ที่สำคัญขอให้ประชาชนเชื่อมั่นในระบบเฝ้าระวังของประเทศไทย และติดตามข่าวสารจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง

“สำหรับทารกที่สงสัยภาวะศีรษะเล็ก หรือทารกที่เกิดจากมารดาที่สงสัย หรือยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสซิการะหว่างการตั้งครรภ์ ควรได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง โดยกุมารแพทย์หรือแพทย์ทั่วไป เพื่อติดตามการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กอย่างสม่ำเสมอในช่วง 2 ปีแรก ถ้าทารกมีความผิดปกติของการมองเห็น หรือการได้ยินให้รีบส่งต่อไปยังแพทย์เฉพาะทางให้เร็วที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีรายงานการตรวจพบไวรัสซิกาในนมแม่ แต่ไม่เคยมีรายงานการติดเชื้อไวรัสซิกาจากการให้การให้นมลูก จากข้อมูลในปัจจุบันพบว่าการให้นมของแม่มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสซิกา ดังนั้น แม่ทุกรายที่มีการติดเชื้อไวรัสซิกาขณะตั้งครรภ์สามารถให้นมแม่แก่ทารกได้ ซึ่งเป็นไปตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก” อธิบดี คร. กล่าว

ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่


กำลังโหลดความคิดเห็น