“เดินหน้าการศึกษาไทยอย่างไรให้ตอบโจทย์ Thailand Economy 4.0”
คือ หัวข้อที่ดิฉันไปร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการในงานแถลงข่าวและเสวนา เมื่อวาน (12 ก.ค. 59) ที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และธนาคารโลก ร่วมกันจัด
แม้เดี๋ยวนี้หันไปทางไหนก็มีแต่ Thailand 4.0 จนดูเหมือนถ้าไม่พูดจะไม่ทันสมัย
แต่งานนี้ไม่ใช่งานตามกระแส
เพราะเป็นการเปิดตัวเลขงานวิจัยที่น่าสนใจมากจากมุมมองของ 3 นักเศรษฐศาสตร์การศึกษา ที่สะท้อนปัญหาให้เห็นว่าการศึกษาในบ้านเราไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ในขณะที่การศึกษาในบ้านเรายังย่ำอยู่ที่ 2.0 และมีประเด็นที่น่าสนใจที่คนในยุคนี้ต้องตระหนักแล้วว่าเราจะสามารถสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพ เพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงานได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
คนแรกคือ ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก กล่าวว่า ค่าจ้างแรงงานไทยทั้งไร้ฝีมือและมีฝีมือแทบไม่เพิ่มขึ้นมา 5 ปีแล้ว ผลสำรวจพบนักลงทุนต่างชาติเมินลงทุนประเทศไทยเหตุ เพราะคุณภาพแรงงานไม่พัฒนา จึงเบนเข็มไปลงทุนและย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังแรงงานในช่วงอายุ 15 - 60 ปี ราว 38 ล้านคน แต่มีแรงงานกว่า 1 ล้านคนว่างงานเป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือนทุกปี เพราะขาดทักษะที่นายจ้างต้องการ ส่วนแรงงานรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีประสบปัญหาการว่างงาน เพราะมีปริมาณบัณฑิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก แต่ขาดทักษะที่นายจ้างต้องการทำให้เสี่ยงต้องยอมทำงานรับค่าจ้างต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี
“ระบบการศึกษาไทยต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ รวมทั้งตอบสนองนโยบายรัฐบาล เรื่อง Thailand Economy 4.0 และความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ โดยเริ่มต้นจากการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้เท่าเทียมกันแก่เด็กเยาวชนทุกคนในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันช่องว่างทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่านของเด็กไทยต่างกันมากถึง 3 ปี ระหว่างเด็กในชนบทและเด็กในเมือง นอกจากนั้น สถาบันอุดมศึกษาควรเน้นยกระดับคุณภาพบัณฑิตมากกว่าการเพิ่มปริมาณ และฝึกฝนทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการในอนาคต มากกว่าทักษะการทำงานซ้ำ ๆ (Routine Skills) ที่ไม่มีใครต้องการแล้ว ส่วนแรงงานที่ต้องการยกระดับศักยภาพการทำงานของตนควรมุ่งพัฒนาทักษะที่เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ไม่สามารถแทนที่ได้ เช่น Non-Routine Skills”
คนที่สอง คือ ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงยุค Thailand Economy 4.0 ว่า เป็นยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เน้นการใช้ไอทีเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ถือเป็นยุคแห่งการสร้างและทำลายความรู้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ถือเป็นยุคแห่งการเรียนรู้และบูรณาการความรู้โลกไซเบอร์กับโลกจริงให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งการศึกษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพแรงงานคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย พบว่า ความสามารถในการแข่งขันและทุนมนุษย์ในประเทศไทยยังไม่สามารถแข่งขันได้ดีเท่ากับประเทศมาเลเซีย จีน และ สิงคโปร์ และยังได้คะแนนคุณภาพการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าประเทศที่มีระดับทุนมนุษย์ใกล้เคียงกัน
ระบบการศึกษาที่จะตอบโจทย์ของการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Economy 4.0 ได้จริงนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนวิธีการสอน ลดการเรียนรู้เชิงเทคนิคและการท่องจำ แล้วหันไปให้น้ำหนักกับการสร้างทักษะในการเรียนรู้และปรับตัวของผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต นั่นหมายถึงวิธีการประเมินผลการเรียนที่แตกต่างออกไปจากปัจจุบันที่เน้นการสอบเพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกัน ในระดับพื้นที่จะต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ และกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษาเพื่อให้ผู้ที่เข้าสู่โลกของงานสามารถหางานทำได้
คนสุดท้ายคือ ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละครั้ง ทำให้ต้องปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เพื่อให้สอดรับกับความต้องการทักษะใหม่เพื่อให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปฏิวัติในครั้งที่ 4 ที่กำลังจะเกิดใน 5 ปีถัดจากนี้ จะเน้นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะแรงงานที่ใช้ “ทักษะการทำซ้ำเป็นประจำ” (Routine Skill) จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เช่น หุ่นยนต์ การพิมพ์ 3 มิติ และ สายพานอัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงกว่ามนุษย์และมีต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกกว่า
สอดคล้องกับผลสำรวจความต้องการแรงงานของนายจ้างและองค์กรเกิดใหม่ในปี 2557 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) พบว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 คาดหวังให้พนักงานในองค์กรมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มากที่สุด
“เราต้องคำนึงถึงการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน อย่ามองเพียงแค่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เราควรจะมองถึงการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมีความพอเพียงด้วย”
โดยสรุปก็คือทั้ง 3 คน ต้องการสะท้อนให้เห็นข้อมูลว่า ถึงเวลาแล้วที่บ้านเราต้องตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะประเทศเราหยุดนิ่งมายาวนาน การหยุดนิ่งก็เหมือนกับการถอยหลัง เพราะประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านก็ต่อคิวแซงเราไปเรื่อย ๆ
ที่ผ่านมา เรามุ่งเน้นประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ก็ยกให้เป็นเรื่องของนักการศึกษา แต่เรื่องการปฏิรูปการศึกษาควรจะต้องมีการเชื่อมโยงจากหน่วยงานหรือองค์กรที่หลากหลายให้สอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศ และมุ่งสร้างคนให้มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ทิศทางการเติบโตและเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย
ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
คือ หัวข้อที่ดิฉันไปร่วมเป็นผู้ดำเนินรายการในงานแถลงข่าวและเสวนา เมื่อวาน (12 ก.ค. 59) ที่สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และธนาคารโลก ร่วมกันจัด
แม้เดี๋ยวนี้หันไปทางไหนก็มีแต่ Thailand 4.0 จนดูเหมือนถ้าไม่พูดจะไม่ทันสมัย
แต่งานนี้ไม่ใช่งานตามกระแส
เพราะเป็นการเปิดตัวเลขงานวิจัยที่น่าสนใจมากจากมุมมองของ 3 นักเศรษฐศาสตร์การศึกษา ที่สะท้อนปัญหาให้เห็นว่าการศึกษาในบ้านเราไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานที่กำลังก้าวเข้าสู่ยุค 4.0 ในขณะที่การศึกษาในบ้านเรายังย่ำอยู่ที่ 2.0 และมีประเด็นที่น่าสนใจที่คนในยุคนี้ต้องตระหนักแล้วว่าเราจะสามารถสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีศักยภาพ เพื่อป้อนสู่ตลาดแรงงานได้อย่างเหมาะสมและมีคุณภาพได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงหรือไม่
คนแรกคือ ดร.ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ นักเศรษฐศาสตร์ด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก กล่าวว่า ค่าจ้างแรงงานไทยทั้งไร้ฝีมือและมีฝีมือแทบไม่เพิ่มขึ้นมา 5 ปีแล้ว ผลสำรวจพบนักลงทุนต่างชาติเมินลงทุนประเทศไทยเหตุ เพราะคุณภาพแรงงานไม่พัฒนา จึงเบนเข็มไปลงทุนและย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังแรงงานในช่วงอายุ 15 - 60 ปี ราว 38 ล้านคน แต่มีแรงงานกว่า 1 ล้านคนว่างงานเป็นประจำอย่างน้อย 6 เดือนทุกปี เพราะขาดทักษะที่นายจ้างต้องการ ส่วนแรงงานรุ่นใหม่ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีประสบปัญหาการว่างงาน เพราะมีปริมาณบัณฑิตเข้าสู่ตลาดจำนวนมาก แต่ขาดทักษะที่นายจ้างต้องการทำให้เสี่ยงต้องยอมทำงานรับค่าจ้างต่ำกว่าวุฒิปริญญาตรี
“ระบบการศึกษาไทยต้องเร่งปรับตัวเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนทั้งจากในและต่างประเทศ รวมทั้งตอบสนองนโยบายรัฐบาล เรื่อง Thailand Economy 4.0 และความต้องการของตลาดแรงงานในประเทศ โดยเริ่มต้นจากการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพให้เท่าเทียมกันแก่เด็กเยาวชนทุกคนในประเทศ เนื่องจากปัจจุบันช่องว่างทักษะขั้นพื้นฐาน เช่น การอ่านของเด็กไทยต่างกันมากถึง 3 ปี ระหว่างเด็กในชนบทและเด็กในเมือง นอกจากนั้น สถาบันอุดมศึกษาควรเน้นยกระดับคุณภาพบัณฑิตมากกว่าการเพิ่มปริมาณ และฝึกฝนทักษะที่ตลาดแรงงานต้องการในอนาคต มากกว่าทักษะการทำงานซ้ำ ๆ (Routine Skills) ที่ไม่มีใครต้องการแล้ว ส่วนแรงงานที่ต้องการยกระดับศักยภาพการทำงานของตนควรมุ่งพัฒนาทักษะที่เทคโนโลยีและหุ่นยนต์ไม่สามารถแทนที่ได้ เช่น Non-Routine Skills”
คนที่สอง คือ ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงยุค Thailand Economy 4.0 ว่า เป็นยุคหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่เน้นการใช้ไอทีเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ ถือเป็นยุคแห่งการสร้างและทำลายความรู้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ถือเป็นยุคแห่งการเรียนรู้และบูรณาการความรู้โลกไซเบอร์กับโลกจริงให้เป็นหนึ่งเดียว ซึ่งการศึกษาจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับคุณภาพแรงงานคนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย พบว่า ความสามารถในการแข่งขันและทุนมนุษย์ในประเทศไทยยังไม่สามารถแข่งขันได้ดีเท่ากับประเทศมาเลเซีย จีน และ สิงคโปร์ และยังได้คะแนนคุณภาพการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าประเทศที่มีระดับทุนมนุษย์ใกล้เคียงกัน
ระบบการศึกษาที่จะตอบโจทย์ของการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Economy 4.0 ได้จริงนั้น ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนวิธีการสอน ลดการเรียนรู้เชิงเทคนิคและการท่องจำ แล้วหันไปให้น้ำหนักกับการสร้างทักษะในการเรียนรู้และปรับตัวของผู้เรียนให้สามารถพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต นั่นหมายถึงวิธีการประเมินผลการเรียนที่แตกต่างออกไปจากปัจจุบันที่เน้นการสอบเพียงอย่างเดียว ขณะเดียวกัน ในระดับพื้นที่จะต้องมีการจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ และกลุ่มจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับอาชีวศึกษาเพื่อให้ผู้ที่เข้าสู่โลกของงานสามารถหางานทำได้
คนสุดท้ายคือ ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา สสค. กล่าวว่า ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในแต่ละครั้ง ทำให้ต้องปฏิรูปการศึกษาครั้งใหญ่เพื่อให้สอดรับกับความต้องการทักษะใหม่เพื่อให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะการปฏิวัติในครั้งที่ 4 ที่กำลังจะเกิดใน 5 ปีถัดจากนี้ จะเน้นการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเข้ามาแทนที่แรงงานมนุษย์ โดยเฉพาะแรงงานที่ใช้ “ทักษะการทำซ้ำเป็นประจำ” (Routine Skill) จะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เช่น หุ่นยนต์ การพิมพ์ 3 มิติ และ สายพานอัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งมีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงกว่ามนุษย์และมีต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกกว่า
สอดคล้องกับผลสำรวจความต้องการแรงงานของนายจ้างและองค์กรเกิดใหม่ในปี 2557 ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการประเมินผลนักเรียนร่วมกับนานาชาติ (Programme for International Student Assessment: PISA) พบว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 คาดหวังให้พนักงานในองค์กรมีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) และความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) มากที่สุด
“เราต้องคำนึงถึงการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน อย่ามองเพียงแค่ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เราควรจะมองถึงการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและมีความพอเพียงด้วย”
โดยสรุปก็คือทั้ง 3 คน ต้องการสะท้อนให้เห็นข้อมูลว่า ถึงเวลาแล้วที่บ้านเราต้องตระหนักถึงเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพราะประเทศเราหยุดนิ่งมายาวนาน การหยุดนิ่งก็เหมือนกับการถอยหลัง เพราะประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะเพื่อนบ้านก็ต่อคิวแซงเราไปเรื่อย ๆ
ที่ผ่านมา เรามุ่งเน้นประเด็นเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ก็ยกให้เป็นเรื่องของนักการศึกษา แต่เรื่องการปฏิรูปการศึกษาควรจะต้องมีการเชื่อมโยงจากหน่วยงานหรือองค์กรที่หลากหลายให้สอดคล้องต่อการพัฒนาประเทศ และมุ่งสร้างคนให้มีคุณภาพเพื่อตอบโจทย์ทิศทางการเติบโตและเปลี่ยนแปลงของโลกด้วย
ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ !
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่