ตอนนี้คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า โครงสร้างประชากรในบ้านเรากำลังจะเปลี่ยนไปเป็นสังคม ส.ว. ที่แปลว่า สังคมผู้สูงอายุ หรือ Aging Society ตามประเทศที่พัฒนาแล้วอื่น ๆ ในโลกที่กำลังเผชิญอยู่
จากการเปลี่ยนแปลงพบว่า ในช่วง 20 - 30 ปีที่ผ่านมา ประชากรไทยในวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) ลดลง ในขณะที่จำนวนประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากที่เพิ่มประมาณ 5 ล้านคนในปัจจุบันเป็นประมาณ 10 ล้านคน ในอีก 20 ปีข้างหน้า
ในกลุ่มประชากรสูงอายุจะมีผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุมาก ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเช่นในปี พ.ศ. 2533 มีผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป เพียงประมาณ 700,000 คน คาดว่า จะเพิ่มเป็น 1,400,000 คน ในราวปี พ.ศ. 2553 และคาดว่า จะเพิ่มเป็นกว่า 2 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2563
การก้าวขึ้นสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาหนักที่เผชิญควบคู่ไปเป็นอันดับแรก ก็คือ ประชากรในชาติไม่ต้องการมีลูก รัฐบาลนั้น ๆ จึงมีนโยบายกระตุ้นให้คนในชาติมีลูก เป็นการส่งเสริมคนในชาติ เพื่อให้เกิดสังคมที่สมดุลในชาติของตน มิเช่นนั้น ก็ต้องเผชิญการขาดแคลนผู้คนในวัยแรงงาน วัยหนุ่มสาวที่ต้องเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ
ส่วนในประเทศที่เตรียมตัวเรื่องนี้มาพอสมควร เช่น ญี่ปุ่น ก็พยายามทดแทนด้วยการให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำงานได้ และพยายามสร้างคุณภาพของประชากรเด็กให้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่คุณภาพด้วย
ในขณะที่ประเทศไทยก็ไม่ได้น้อยหน้า กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นกัน เพียงแต่สภาพปัญหาของเรา แตกต่างจากชาติที่เขาเตรียมความพร้อมกับเรื่องเหล่านี้มาก่อน
นั่นคือ ในขณะที่ประชากรผู้สูงอายุเราเพิ่มมากขึ้น เด็กเกิดน้อยลง แต่ประเด็นเพิ่มเติมของบ้านเรา ก็คือ เด็กที่เกิดน้อยนั้น ยังด้อยคุณภาพเสียอีก
โครงสร้างและรูปแบบเปลี่ยนไป ยังพอจะหาแนวทางอื่น ๆ ทดแทนในเชิงโครงสร้างได้ แต่ถ้าเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพด้วย นั่นแหละคือปัญหาใหญ่ที่บ้านเรากำลังเผชิญ
ปัญหาเด็กด้อยคุณภาพที่ทำให้บ้านเรากำลังเผชิญปัญหาหนักมากเรื่องสภาพสังคมและโครงสร้างของประชากรที่กำลังเข้าสู่วิกฤตสังคมครั้งใหญ่ พอจะประมวลมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
กลุ่มแรก - ท้องไม่พร้อม
ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มวัยรุ่นไทยที่มีอายุระหว่าง 10 - 19 ปี มีอัตราการคลอดบุตรหรือท้องไม่พร้อม มากถึงปีละประมาณ 130,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ติดอันดับ 1 ของเอเชีย และติดอันดับ 2 ของโลก
ประมาณว่า คนที่พร้อมก็ไม่ท้อง ส่วนคนไม่พร้อมกลับท้องนั่นแหละ และแน่นอนเมื่อท้องไม่พร้อม ปัญหาที่ตามมาก็มีมากมาย แม่ของเด็กไม่มีความรู้ในการเลี้ยงเด็ก ต้องปล่อยให้อยู่กับคนอื่น และเด็ก ๆ ที่เกิดมาท่ามกลางความไม่พร้อม ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา พฤติกรรม และสังคม มากกว่าเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่พร้อม
กลุ่มสอง - ครอบครัวหย่าร้าง
จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ล่าสุด ในปี 2557 มีรายงานข้อมูล คู่จดทะเบียนสมรสใหม่ทั่วประเทศ 296,258 คู่ และมีคู่สมรสเก่าจดทะเบียนหย่า 111,810 คู่ การจดทะเบียนหย่าเพิ่มสูงกว่าปี 2547 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา ถึงร้อยละ 23
สาเหตุการหย่าร้างพื้นฐานมาจากทั้ง 2 ฝ่าย ถูกกดดันทั้งจากความเครียดจากงานและค่านิยมใหม่การพึ่งลำแข้งตัวเอง ความอดทนจึงน้อยลง จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งชีวิตคู่ ฯลฯ
สิ่งที่ตามมาก็คือ สังคมเรามีพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวเพิ่มขึ้น และในกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยว ก็ต้องใช้ความพยายามและความหนักแน่นในการเลี้ยงดูลูกอย่างมาก เพราะบางคนต้องทำมาหากินด้วย บางคนสามารถจัดการปัญหา และรับมือได้ดีก็เป็นเรื่องดี แต่บางคนก็ไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ก็มีไม่น้อย เพราะฉะนั้น เด็กก็มีความเสี่ยงที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ หรืออาจไม่ได้ใกล้ชิดกับพ่อหรือแม่ ยิ่งถ้าพ่อแม่แยกทางกันแบบมีปัญหา และลูกอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ โอกาสที่ลูกจะประชด หรือเลือกหนทางชีวิตที่ไม่เหมาะสมก็เป็นไปได้
กลุ่มสาม - พ่อแม่เลี้ยงดูไม่ถูกวิธี
กลุ่มนี้พ่อแม่มีความพร้อมทางด้านฐานะการเงิน มักเกิดกับพ่อแม่ชนชั้นกลางขึ้นไปที่เลี้ยงลูกแบบตอบสนองทุกอย่าง ตามใจลูก เพราะอาจชดเชยเรื่องที่ไม่มีเวลาให้ลูก หรือเลี้ยงลูกด้วยเงิน หรือเป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี อาจตามใจสุดฤทธิ์ หรือบังคับเกินไป ขีดเส้นให้ลูกเดิน ฯลฯ
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็ทำให้เด็ก ๆ เกิดปัญหาไม่น้อย แล้วถ้าเด็กขาดภูมิต้านทานที่แข็งแรง หรือไปเจอคนที่ไม่หวังดี ก็อาจทำให้เตลิดและเกิดปัญหาได้เช่นกัน
ลองคิดดูว่าในเมื่อโครงสร้างประชากรกำลังเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่สังคมโลกพยายามหาทางรับมือและแก้ไขปัญหา แต่ถ้าบ้านเราต้องเผชิญปัญหาเด็กเกิดน้อย แต่ยังด้อยคุณภาพอีก แล้วสถานการณ์บ้านเราจะเป็นอย่างไร
ถึงเวลาต้องให้ความสำคัญกับรากฐานของประเทศได้แล้วหรือยัง ต่อให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยน แม้เด็กเกิดน้อย แต่มีคุณภาพ ก็ยังสามารถหาทางขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้....
แต่ถ้าเจอ 2 เด้ง ทั้งเกิดน้อยทั้งด้อยคุณภาพ จะหนักหนาสาหัสปานใด ?
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
จากการเปลี่ยนแปลงพบว่า ในช่วง 20 - 30 ปีที่ผ่านมา ประชากรไทยในวัยเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี) ลดลง ในขณะที่จำนวนประชากรสูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้น จากที่เพิ่มประมาณ 5 ล้านคนในปัจจุบันเป็นประมาณ 10 ล้านคน ในอีก 20 ปีข้างหน้า
ในกลุ่มประชากรสูงอายุจะมีผู้ที่อยู่ในกลุ่มอายุมาก ๆ เพิ่มขึ้นเป็นลำดับเช่นในปี พ.ศ. 2533 มีผู้ที่มีอายุ ตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป เพียงประมาณ 700,000 คน คาดว่า จะเพิ่มเป็น 1,400,000 คน ในราวปี พ.ศ. 2553 และคาดว่า จะเพิ่มเป็นกว่า 2 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2563
การก้าวขึ้นสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาหนักที่เผชิญควบคู่ไปเป็นอันดับแรก ก็คือ ประชากรในชาติไม่ต้องการมีลูก รัฐบาลนั้น ๆ จึงมีนโยบายกระตุ้นให้คนในชาติมีลูก เป็นการส่งเสริมคนในชาติ เพื่อให้เกิดสังคมที่สมดุลในชาติของตน มิเช่นนั้น ก็ต้องเผชิญการขาดแคลนผู้คนในวัยแรงงาน วัยหนุ่มสาวที่ต้องเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนประเทศ
ส่วนในประเทศที่เตรียมตัวเรื่องนี้มาพอสมควร เช่น ญี่ปุ่น ก็พยายามทดแทนด้วยการให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำงานได้ และพยายามสร้างคุณภาพของประชากรเด็กให้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่คุณภาพด้วย
ในขณะที่ประเทศไทยก็ไม่ได้น้อยหน้า กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเช่นกัน เพียงแต่สภาพปัญหาของเรา แตกต่างจากชาติที่เขาเตรียมความพร้อมกับเรื่องเหล่านี้มาก่อน
นั่นคือ ในขณะที่ประชากรผู้สูงอายุเราเพิ่มมากขึ้น เด็กเกิดน้อยลง แต่ประเด็นเพิ่มเติมของบ้านเรา ก็คือ เด็กที่เกิดน้อยนั้น ยังด้อยคุณภาพเสียอีก
โครงสร้างและรูปแบบเปลี่ยนไป ยังพอจะหาแนวทางอื่น ๆ ทดแทนในเชิงโครงสร้างได้ แต่ถ้าเกิดปัญหาเรื่องคุณภาพด้วย นั่นแหละคือปัญหาใหญ่ที่บ้านเรากำลังเผชิญ
ปัญหาเด็กด้อยคุณภาพที่ทำให้บ้านเรากำลังเผชิญปัญหาหนักมากเรื่องสภาพสังคมและโครงสร้างของประชากรที่กำลังเข้าสู่วิกฤตสังคมครั้งใหญ่ พอจะประมวลมาจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
กลุ่มแรก - ท้องไม่พร้อม
ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแห่งชาติและสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ พบว่า ตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงปัจจุบัน กลุ่มวัยรุ่นไทยที่มีอายุระหว่าง 10 - 19 ปี มีอัตราการคลอดบุตรหรือท้องไม่พร้อม มากถึงปีละประมาณ 130,000 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมาก ติดอันดับ 1 ของเอเชีย และติดอันดับ 2 ของโลก
ประมาณว่า คนที่พร้อมก็ไม่ท้อง ส่วนคนไม่พร้อมกลับท้องนั่นแหละ และแน่นอนเมื่อท้องไม่พร้อม ปัญหาที่ตามมาก็มีมากมาย แม่ของเด็กไม่มีความรู้ในการเลี้ยงเด็ก ต้องปล่อยให้อยู่กับคนอื่น และเด็ก ๆ ที่เกิดมาท่ามกลางความไม่พร้อม ก็มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบทั้งทางด้านอารมณ์ สติปัญญา พฤติกรรม และสังคม มากกว่าเด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่พร้อม
กลุ่มสอง - ครอบครัวหย่าร้าง
จากข้อมูลกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ล่าสุด ในปี 2557 มีรายงานข้อมูล คู่จดทะเบียนสมรสใหม่ทั่วประเทศ 296,258 คู่ และมีคู่สมรสเก่าจดทะเบียนหย่า 111,810 คู่ การจดทะเบียนหย่าเพิ่มสูงกว่าปี 2547 หรือ 10 ปีที่ผ่านมา ถึงร้อยละ 23
สาเหตุการหย่าร้างพื้นฐานมาจากทั้ง 2 ฝ่าย ถูกกดดันทั้งจากความเครียดจากงานและค่านิยมใหม่การพึ่งลำแข้งตัวเอง ความอดทนจึงน้อยลง จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องพึ่งชีวิตคู่ ฯลฯ
สิ่งที่ตามมาก็คือ สังคมเรามีพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวเพิ่มขึ้น และในกลุ่มแม่เลี้ยงเดี่ยว หรือพ่อเลี้ยงเดี่ยว ก็ต้องใช้ความพยายามและความหนักแน่นในการเลี้ยงดูลูกอย่างมาก เพราะบางคนต้องทำมาหากินด้วย บางคนสามารถจัดการปัญหา และรับมือได้ดีก็เป็นเรื่องดี แต่บางคนก็ไม่สามารถรับมือกับปัญหาได้ก็มีไม่น้อย เพราะฉะนั้น เด็กก็มีความเสี่ยงที่มีปัญหาทางด้านจิตใจ หรืออาจไม่ได้ใกล้ชิดกับพ่อหรือแม่ ยิ่งถ้าพ่อแม่แยกทางกันแบบมีปัญหา และลูกอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ โอกาสที่ลูกจะประชด หรือเลือกหนทางชีวิตที่ไม่เหมาะสมก็เป็นไปได้
กลุ่มสาม - พ่อแม่เลี้ยงดูไม่ถูกวิธี
กลุ่มนี้พ่อแม่มีความพร้อมทางด้านฐานะการเงิน มักเกิดกับพ่อแม่ชนชั้นกลางขึ้นไปที่เลี้ยงลูกแบบตอบสนองทุกอย่าง ตามใจลูก เพราะอาจชดเชยเรื่องที่ไม่มีเวลาให้ลูก หรือเลี้ยงลูกด้วยเงิน หรือเป็นพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี อาจตามใจสุดฤทธิ์ หรือบังคับเกินไป ขีดเส้นให้ลูกเดิน ฯลฯ
สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็ทำให้เด็ก ๆ เกิดปัญหาไม่น้อย แล้วถ้าเด็กขาดภูมิต้านทานที่แข็งแรง หรือไปเจอคนที่ไม่หวังดี ก็อาจทำให้เตลิดและเกิดปัญหาได้เช่นกัน
ลองคิดดูว่าในเมื่อโครงสร้างประชากรกำลังเปลี่ยนไป เป็นเรื่องที่สังคมโลกพยายามหาทางรับมือและแก้ไขปัญหา แต่ถ้าบ้านเราต้องเผชิญปัญหาเด็กเกิดน้อย แต่ยังด้อยคุณภาพอีก แล้วสถานการณ์บ้านเราจะเป็นอย่างไร
ถึงเวลาต้องให้ความสำคัญกับรากฐานของประเทศได้แล้วหรือยัง ต่อให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยน แม้เด็กเกิดน้อย แต่มีคุณภาพ ก็ยังสามารถหาทางขับเคลื่อนประเทศให้เดินหน้าต่อไปได้....
แต่ถ้าเจอ 2 เด้ง ทั้งเกิดน้อยทั้งด้อยคุณภาพ จะหนักหนาสาหัสปานใด ?
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่